หลังจากทราบพัฒนาการทางภาษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและเด็กปกติในช่วงอายุ 2 ปีแรกจนถึง 4 ปี ไปแล้ว วันนี้จะขออธิบายต่อถึงช่วงอายุ 4-8 ปี โดยช่วงวัย 4-8 ปีถือเป็นช่วงที่สามารถเห็นได้ถึงความแตกต่างพัฒนาการทางภาษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและเด็กปกติได้ค่อนข้างชัดเจน รายละเอียดมีดังนี้ อายุ 4-6 ปี เด็กปกติ อายุประมาณ 5 […]
การขึ้นบินนั้นอาจก่อให้เกิดความตึงเครียดและอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่บริเวณปลายประสาทได้สำหรับผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยิน ข้อแนะนำต่อไปนี้คือเคล็ดลับบางประการเกี่ยวกับวิธีที่ผู้ใช้เครื่องช่วยฟังสามารถดูแลรักษาตัวเองและเครื่องช่วยฟังให้ปลอดภัยจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เกือบทุกคนจะต้องขึ้นเครื่องบินอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต การสูญเสียการได้ยินสามารถทำให้เกิดความยุ่งยากได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณใส่เครื่องช่วยฟัง อย่างไรก็ตามมีผู้ใช้เครื่องช่วยฟังจำนวนมากที่มีประสบการณ์ในการเดินทางด้วยเครื่องบิน บทความนี้จึงทำการรวบรวมสถานการณ์และแบ่งปันประสบการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้เริ่มต้นใช้เครื่องช่วยฟังผ่านกระบวนการขึ้นเครื่องและสามารถอยู่บนเครื่องบินได้อย่างง่ายดายที่สุด ก่อนออกเดินทาง การเตรียมตัวก่อนออกเดินทางเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สิ่งจำเป็นต่างๆจะเป็นถูกจัดเตรียมไว้อย่างพิถีพิถัน ในขณะที่สิ่งเล็กน้อยจะถูกมองข้ามไปได้ เช่น ยาแก้ปวด ที่ชาร์จโทรศัพท์ เป็นต้น ผู้ใช้เครื่องช่วยฟังจึงต้องจัดลำดับให้เครื่องช่วยฟังและอุปกรณ์เสริมต่างๆเป็นสิ่งจำเป็นลำดับต้นๆ จึงควรจะเป็นสิ่งแรกที่จัดเตรียมเพื่อการเดินทางและเป็นสิ่งสุดท้ายที่ควรตรวจสอบก่อนออกจากบ้าน […]
เครื่องช่วยฟังชนิดที่มีการต่อลำโพงเข้าไปบริเวณช่องหู (RIC: Receiver In Canal) มีใช้กันมานานมากกว่า 3-4 ปีมาแล้ว ซึ่งเป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมมากเนื่องจากมีขนาดเล็กและตัวเครื่องซ่อนตัวอยู่หลังใบหูจนแทบมองไม่เห็น อีกทั้งประสิทธิภาพเครื่องยังสามารถทำได้หลากหลาย บทความนี้จะช่วยตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับเครื่องช่วยฟังประเภท RIC เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น เครื่องช่วยฟังแบบ RIC คืออะไร…ลักษณะเครื่องมีความแตกต่างกับ BTE และ ITE […]
พัฒนาการทางภาษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน “ภาษา” ถือเป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารเราทุกคนต่างคุ้นเคยกับการสื่อสารตั้งแต่เด็ก ไม่ว่าจะเป็นอวัจนภาษา(ท่าทาง) หรือ วัจนภาษา (ภาษาพูด) แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินจะมีความแตกต่างจากเด็กปกติ เนื่องจากพัฒนาการทางภาษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและเด็กปกติในระยะแรกๆจะมีความคล้ายกันในการร้องไห้เพราะต้องการสื่อให้ผู้ใหญ่รับรู้ถึงความต้องการ ต่อมาจะมีการเล่นเสียงกับตนเอง เมื่อมีการพัฒนาเพิ่มเด็กที่ไม่มีความบกพร่องทางการได้ยินจะเริ่มพูดอ้อแอ้ (Babbering) ตอบโต้กับพ่อแม่มากขึ้น ส่วนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินจะเริ่มหยุดชะงักการเล่นเสียง เนื่องจากไม่ได้ยินเสียงสะท้อนกลับ แต่รับรู้จากการเห็นคนทำรูปปากขยับขึ้นลง แต่ไม่ได้ยินเสียง ดังนั้นเด็กเหล่านี้จะเริ่มใช้สายตาแทน ภาษาของเด็กจึงไม่สามารถพัฒนาให้เทียบเท่าเด็กปกติได้ เนื่องจากเด็กไม่ได้มีโอกาสในการฝึกฝนการใช้อวัยวะในการเปล่งเสียงพัฒนาการจึงลดลงไปจนถึงขั้นพูดไม่ได้ […]
คุยแบบเจาะลึกกับคุณ Karl Scheibuer ผู้ผ่าตัดประสาทหูเทียมทั้งสองข้าง ในออสเตรียคุณจะได้รับสิทธิรักษาพยาบาลที่ค่อนข้างดี ซึ่งผมเป็นหนึ่งในผู้ได้รับสิทธินั้น ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีผมมีอาการเสียงดังในหูข้างขวามาตลอด ยิ่งไปกว่านั้นในขณะเดียวกันผมค้นพบว่าผมค่อยๆสูญเสียการได้ยินไปอย่างช้าๆด้วย Q : ช่วยเล่าถึงความเป็นมาในการสูญเสียการได้ยินของคุณหน่อยได้ไหมคะ ? อยากจะบอกว่าคุณต้องตั้งใจฟังนะเพราะเรื่องมันค่อนข้างซับซ้อน (หัวเราะ) ผมมีอาการเสียงดังในหูตั้งแต่ปี 2004 (พ.ศ.2547) แล้ว […]
ผู้ที่มีอาการเสียงดังในหูนั้นจะรู้สึกว่าได้ยินเสียงอะไรซักอย่างดังอยู่ในหูตลอดเวลา ซึ่งเสียงที่ได้ยินนั้นจะแตกต่างออกไปในแต่ล่ะบุคคล เช่น เสียงลม เสียงคลื่น เสียงซ่า เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดความรำคาญและทำให้ความสามารถในการฟังจับใจความลดลง เพราะ มีเสียงดังรบกวนในหูตลอดเวลา ส่งผลให้ความสามารถในการฟังเสียงที่เข้ามาจากภายนอกนั้นลดน้อยลง สาเหตุ และ การรักษาอาการการเกิดเสียงดังในหู สาเหตุของการเกิดเสียงดังในหูนั้นมีหลายสาเหตุมาก เช่น มีขี้หูไปอุดตัน แก้วหูทะลุ หรือ เกิดจากประสาทหูเสื่อม […]
“คัมภีร์(ลับ) ฉบับย่อ RONDO 2” เอาใจผู้ใช้งาน RONDO 2 มือใหม่ สำหรับ “คัมภีร์(ลับ) ฉบับย่อ RONDO 2” ที่เปรียบเสมือนไกด์ไซส์มินิที่ติดตัวคุณไปได้ทุกที่ภายในคัมภีร์นี้มีตั้งแต่การพาไปรู้จัก “เครื่องประมวลเสียงรุ่น RONDO 2” จนถึงวิธีการใช้งานต่าง ๆเลย อย่ารอช้าตามไปดูกันเลย […]
ปัจจุบันนี้หลายๆโรงพยาบาลชั้นนำทั่วประเทศไทยมีการเพิ่มการตรวจการได้ยินเข้าไปในแพคเกจโปรแกรมคลอดบุตรสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ซื้อแพ็คเกจคลอดบุตรไว้ ซึ่งในกรณีทารกแรกเกิดนี้ การตรวจการได้ยินจะเป็นชนิดการตรวจเพื่อคัดกรองการได้ยิน ซึ่งจะตรวจเมื่อทารกมีอายุครบ 24 ชม. หรือตรวจก่อนกลับบ้าน ซึ่งจะตรวจโดยใช้วิธีตรวจวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน (Otoacoustic emission : OAEs) ผลการตรวจจะแสดงออกมาเป็น 2 รูปแบบคือ “ผ่าน” หรือ “ไม่ผ่าน” กรณีผลการตรวจคัดกรอง “ผ่าน” […]
ในยุคปัจจุบันนี้ท่านสามารถเข้ารับบริการตรวจเช็คระดับการได้ยินของหูได้โดยสะดวก ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล, คลินิกหู คอ จมูก, ศูนย์การได้ยิน, บริษัทหรือร้านที่จำหน่ายเครื่องช่วยฟังที่มีเจ้าหน้าที่เฉพาะทางด้านการได้ยินให้บริการอยู่ โดยผลตรวจการได้ยินจะแสดงผลออกมาเป็นตัวเลขในหน่วย เดซิเบล ซึ่งการได้ยินปกติ หมายถึงมีระดับการได้ยินไม่เกิน 25 เดซิเบล ในทุกความถี่ที่ทำการตรวจวัด ซึ่งหากตรวจพบว่าระดับการได้ยินไม่อยู่ในเกณฑ์ปกติ (คือมีจุดที่การได้ยินเกิน 25 เดซิเบล) แนะนำให้ตรวจการได้ยินแบบละเอียดเพิ่มเติม […]