การพูดออกเสียงอย่างชัดเจนนั้นมีปัจจัยหลายอย่าง แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการฟังเสียงของคนอื่น ๆ เด็กที่ได้รับการผ่าตัดประสาทหูจำเป็นต้องฝึกฟังอย่างสม่ำเสมอเพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงทักษะในการพูดของตัวเอง เพื่อให้ลูกน้อยมีพัฒนาทักษะทางภาษาในชีวิตประจำวัน คุณสามารถช่วยเหลือได้โดยการสร้างสถานการณ์ที่เด็กสามารถฟังและใช้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติได้ในทุก ๆ วัน 

1. ช่วยให้ลูกสวมใส่อุปกรณ์ช่วยฟัง

เคล็ดลับในการพูดให้ชัดเจน คือ การที่เราสามารถได้ยินเสียงได้ดีด้วยอุปกรณ์ช่วยฟังตลอดทั้งวัน เด็กเรียนรู้ที่จะพูดโดยการฟังและเลียนแบบคำพูดของคนรอบข้าง หากลูกของคุณไม่ได้รับการทดสอบการได้ยินตั้งแต่การตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กแรกเกิด และกังวลว่าลูกของคุณจะไม่พูดหรือเข้าใจยากเมื่อเปรียบเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน คุณสามารถขอให้ส่งต่อไปยังนักโสตสัมผัสวิทยา (นักแก้ไขการได้ยิน) เพื่อทำการทดสอบการได้ยินสำหรับบุตรหลานของคุณ

2. เรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาภาษาที่ใช้ทั่วไป

ลองนึกถึงเสียงที่ลูกของคุณสามารถออกเสียงได้เป็นคำสั้น ๆ เสียงที่พวกเขาออกเสียงยาก และเสียงที่เขาไม่พูดเลย ซึ่งเนื้อหาด้านล่างนี้แสดงให้เห็นว่า เสียงคำพูดใดที่เด็กควรใช้ในแต่ละช่วงวัย ซึ่งข้อมูลอ้างอิงจากเด็กที่พูดภาษาอังกฤษ ตัวอย่างเช่น เด็กที่มีอายุ 4 ขวบมักจะสามารถพูดเสียงสีแดงและสีเขียวอ่อนทั้งหมดได้ด้วยคำเดียว และยังไม่อาจจะไม่สามารถใช้เสียงในช่องสีชมพูเข้มหรือสีเขียวเข้มได้ ดังนี้

3. ให้เขาได้ฟังก่อน

พูดคุยกับเด็กก่อนแสดงท่าทางหรือทำอะไรบางอย่างให้เขาดู สิ่งนี้จะช่วยให้ลูกของคุณพัฒนาทักษะการฟังจากคำพูดของคุณ อาจจะเพิ่มภาพเพื่อช่วยให้ลูกน้อยเข้าใจมากขึ้น ก็จะช่วยให้พวกเขาพัฒนาพื้นที่การได้ยินของสมอง ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาจะได้ใช้ในการสังเกตการณ์ในการคำพูดของตัวเอง

4. พูดคุยกับลูกน้อย

ปฏิบัติตามคำแนะนำของลูกน้อย หรือ บุตรหลานของคุณ และมีส่วนร่วมในการสนทนาตอบโต้ไปมา ๆ เพื่อช่วยสนับสนุนการพัฒนาคำพูดและภาษาของพวกเขา สิ่งนี้ทำให้พวกเขาได้ฝึกฟัง การออกเสียง และคำพูดที่ถูกต้องจากผู้ใหญ่ หรือ เลียนแบบคำเหล่านั้นอีกด้วย นอกจากนี้ แนะนำว่าอย่าถามคำถามมากจนเกินไป โดยเปลี่ยนมาลองแสดงความเห็นแทนก็จะดีกว่า

5. ขยับเข้าไปใกล้ลูก

ระยะทางยิ่งพูดไกลระดับเสียงและความชัดเจนของคำพูดก็จะยิ่งลดลง ดังนั้นเวลาพูดกับลูกน้อยให้คุณขยับเข้าไปใกล้มากขึ้น เพื่อที่จะให้พวกเขาได้รับฟังเสียงและคำพูดที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และสามารถเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น

6. ลดเสียงรบกวน

เสียงทีวี หรือ เสียงการจราจร บางครั้งอาจจะทำให้การฟัง เรียนรู้ และเลียนคำพูดที่ถูกต้องจากเราอาจเป็นไปได้ยากมากขึ้น จึงแนะนำให้ลดเสียงรบกวนรอบข้างลดเมื่อพูดคุยกับลูกเพื่อให้พวกเขาได้ยินคุณได้ง่ายขึ้น เพราะการได้ยินเสียงที่ดีสามารถส่งผลต่อการพูดที่ดีได้

7. พูดเน้นเสียง

การเน้นเสียงก็เพื่อให้เน้นคำให้โดดเด่น หากมีคำหรือเสียงที่ลูกของคุณกำลังฝึกพูดอยู่ คุณสามารถเน้นได้โดยพูดให้ดังขึ้นเล็กน้อย พูดให้ช้ากว่าคำอื่น ๆ เล็กน้อย หรือใช้เสียง “ร้องเพลง” เมื่อพูด สิ่งนี้จะช่วยให้ลูกของคุณจดจ่อความสนใจไปที่คำเฉพาะหรือเสียงเฉพาะในคำนั้น ๆ 

8. ถามคำถามโดยมีตัวเลือก

ถามคำถามที่มีหลายตัวเลือกให้กับลูกน้อย เช่น หากคุณกำลังมุ่งเน้นที่การพัฒนาเสียงใดเสียงหนึ่ง เช่น คำว่า “เอา” ลูกจะเอาขนม หรือ เอานม? วิธีนี้จะทำให้คุณมีโอกาสพูดซ้ำคำบางคำโดยเน้นเสียงนั้น ๆ เพื่อให้ลูกของคุณมีโอกาสสองครั้งที่จะได้ยินและมีโอกาสฝึกพูด

ขอบคุณข้อมูลจาก MED-EL

 

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *