เครื่องช่วยฟัง และประสาทหูเทียม ถือเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ซึ่งความชื้นอาจเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้อุปกรณ์ของท่านชำรุดเสียหายได้ ดังนั้นท่านควรดูแลรักษาเครื่องให้ปลอดภัยจากความชื้น ซึ่งผลิตภัณฑ์สำหรับบำรุงรักษาเครื่องช่วยฟังให้ปราศจากความชื้น มีดังต่อไปนี้ 1. สารดูดความชื้นแบบก้อนกลม (Drying kit tablet) ราคากล่องละ 200 บาท (1 กล่อง มี 4 ชิ้น) […]
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังประสบปัญหาการได้ยินจนมีผลกระทบกับการสื่อสารในชีวิตประจำวัน สิ่งที่จำเป็นสำหรับคุณคือเครื่องช่วยฟังที่จะช่วยให้สามารถได้ยินเสียงได้อย่างชัดเจนมากขึ้น อย่างแรกที่ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ที่ผู้ใช้ต้องการ การเลือกเครื่องช่วยฟังที่สามารถตอบสนองได้ในทุกความต้องการของผู้ใช้งานได้รับความสะดวกสบายและสามารถปรับตัวต่อการใช้เครื่องช่วยฟังได้ดีขึ้น คุณสมบัติทางเทคนิค ระบบการทำงานแบบดิจิตอลโดยที่ใช้คอมพิวเตอร์ปรับตั้งค่า จะทำให้คุณภาพเสียงคมชัด ระบบการขยายเสียงที่ทันสมัย และเหมาะสมกับระดับการสูญเสียการได้ยิน ระบบ 2 ไมโครโฟน และการรับเสียงแบบอัตโนมัติ ที่เหมาะสมกับเสียงคำพูดที่เข้ามาในแต่ละทิศทาง ระบบการคำนวณ เพื่อลดเสียงหวีดหอนลงอย่างรวดเร็ว ความสามารถในการจับคำพูด และ โฟกัส ที่ระดับเสียงของแต่ละคนที่พูดในแต่ละทิศทางได้ วิเคราะห์เสียงที่ผ่านไมโครโฟนเพื่อลดระดับของเสียงรบกวน มีการจดจำการใช้งานของผู้ใช้ […]
เมื่อคุณเป็นบุคคลหนึ่งที่มีการสูญเสียการได้ยิน และได้รับการแนะนำให้ใส่เครื่องช่วยฟัง คุณจะมีคำถามหรือประเด็นข้อสงสัยต่าง ๆ เนื่องจากอุปกรณ์ดังกล่าวคุณไม่เคยรู้จักมาก่อน บทความนี้เป็นการรวบรวมคำถามถูกถามอยู่บ่อยครั้ง เพื่อตอบปัญหาหรือไขข้อข้องใจที่อาจพบได้ในผู้ที่ต้องการลองเครื่องช่วยฟัง คำถามที่ 1 เครื่องช่วยฟังคืออะไร? และเหมาะสมกับใคร? คำตอบ เครื่องช่วยฟังเป็นเครื่องขยายเสียงขนาดเล็กชนิดหนึ่ง โดยประกอบด้วย ไมโครโฟนรับเสียงโดยรอบ โดยเฉพาะเสียงคำพูด ภาคขยายเสียงทำให้หน้าขยายเสียงสัญญาณให้ดังขึ้นและทำให้เสียงคำพูดชัดเจนมากยิ่งขึ้นโดยการตัดเสียงรบกวนอื่น ๆ ให้ลดลง […]
นักแก้ไขการได้ยิน , พยาบาล , เทคนิเชียน , เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลที่ได้รับการฝึกอบรมมาจะเป็นผู้ดำเนินการตรวจการได้ยินและรายงานผลตรวจการได้ยินให้ผู้ปกครองทราบก่อนส่งพบแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาหรือฟื้นฟูเป็นลำดับต่อไป ซึ่งโรงพยาบาลที่มีบริการด้านตรวจการได้ยินตามภูมิภาคต่างๆ มีรายชื่อดังต่อไปนี้ ภาคกลาง – รัฐบาล รพ.สระบุรี จ.สระบุรี รพ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี รพ.อ่างทอง […]
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังประสบปัญหาการได้ยินจนมีผลกระทบกับการสื่อสารในชีวิตประจำวัน สิ่งที่จำเป็นสำหรับคุณคือเครื่องช่วยฟังที่จะช่วยให้สามารถได้ยินเสียงได้อย่างชัดเจนมากขึ้น อย่างแรกที่ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ที่ผู้ใช้ต้องการ การเลือกเครื่องช่วยฟังที่สามารถตอบสนองได้ในทุกความต้องการของผู้ใช้งานได้รับความสะดวกสบายและสามารถปรับตัวต่อการใช้เครื่องช่วยฟังได้ดีขึ้น คุณสมบัติทางเทคนิค ระบบการทำงานแบบดิจิตอลโดยที่ใช้คอมพิวเตอร์ปรับตั้งค่า จะทำให้คุณภาพเสียงคมชัด ระบบการขยายเสียงที่ทันสมัยและเหมาะสมกับระดับการสูญเสียการได้ยิน ระบบ 2 ไมโครโฟน และการรับเสียงแบบอัตโนมัติที่เหมาะสมกับเสียงคำพูดที่เข้ามาในแต่ละทิศทาง ระบบการคำนวณเพื่อลดเสียงหวีดหอนลงอย่างรวดเร็ว ความสามารถในการจับคำพูดและFocusที่ระดับเสียงของแต่ละคนที่พูดในแต่ละทิศทางได้ วิเคราะห์เสียงที่ผ่านไมโครโฟนเพื่อลดระดับของเสียงรบกวน มีการจดจำการใช้งานของผู้ใช้ เพื่อให้สามารถประเมินการใช้งานและปรับตั้งค่าให้เหมาะสมมากขึ้น มีสัญญาณเสียงเตือนเมื่อถ่านหมดหรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโปรแกรม ความสามารถในการปรับแต่งคุณภาพเสียงได้ด้วยตนเอง เมื่ออยู่ในแต่ละสภาพแวดล้อม […]
คุณเคยเป็นไหมที่บางครั้งรู้สึกว่าไม่เข้าใจเสียงคำพูดขณะสนทนา ต้องให้ผู้พูดพูดซ้ำเนื่องจากการฟังที่ไม่ชัดเจน เปิดเสียงโทรทัศน์หรือวิทยุดังขึ้นกว่าที่เคย เสียงที่ได้ยินเป็นเสียงอู้อี้ ก้องๆ หรือในขณะที่กำลังสนทนากับกลุ่มเพื่อนเยอะๆไม่สามารถฟังจับใจความได้ และมีเสียงวิ้งๆในหู เมื่อคุณตรวจสอบพบว่าตนเองมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น อาจจะเริ่มต้นสังเกตเรื่องการได้ยินผ่านการตอบแบบสอบถามดังนี้ มีลักษณะหูที่ผิดปกติ หรือได้รับการผ่าตัดมาหรือไม่ มีเสียงดังในหูหรือไม่ เคยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือพบแพทย์เพื่อนำขี้หูออก (เนื่องจากมีการอุดตันของขี้หู)หรือไม่ มีอาการเจ็บหูหรือไม่ เคยหูดับหรือได้ยินไม่ชัดเจนหรือไม่ มีการสูญเสียการได้ยินในหูข้างใดข้างหนึ่งหรือไม่ มีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนหรือไม่ ผลการตอบแบบสอบถามจะเป็นข้อบ่งชี้ว่าคุณเข้าข่ายอาจจะเป็นผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยินได้ คุณอาจเริ่มทำแบบสอบถามเชิงลึกในขั้นตอนต่อไป การได้ยินของคุณเมื่อเปรียบเทียบกับ […]
การสูญเสียการได้ยินมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน และสามารถที่จะได้รับการแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญทางการได้ยิน หรือถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “นักโสตสัมผัสวิทยา” ซึ่งจะเป็นผู้ช่วยเหลือทั้งด้านการค้นหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นและตั้งโปรแกรมให้กับเครื่องช่วยฟังหรือประสาทหูเทียมได้อย่างเหมาะสม โสตวิทยาและการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยินมีการให้บริการหลากหลายด้าน ดังต่อไปนี้ การทดสอบและตรวจวินิจฉัยเกี่ยวกับการได้ยิน การตรวจประเมินการได้ยิน (Audiometry) เพื่อให้ทราบถึงลักษณะของการได้ยินและพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในหู การตรวจประเมินการได้ยินระดับก้านสมอง (Auditory brain stem testing) เพื่อดูการทำงานของระบบการได้ยินตั้งแต่การรับเสียงผ่านหูจนถึงระดับก้านสมอง การตรวจเสียงสะท้อนของหูชั้นใน (Otoacoustic emission […]
สัญญาณของร่างกายที่แสดงถึงการมีปัญหาเรื่องการได้ยินมักจะปรากฎขึ้นเพื่อเตือนภัยถึงสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ภายในร่างกาย คุณก็สามารถสังเกตสัญญาณที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง ซึ่งสัญญาณของหูตึงมีดังนี้ ไม่เข้าใจเสียงคำพูดขณะสนทนา ต้องถามให้ผู้พูดพูดซ้ำเนื่องจากการฟังที่ไม่ชัดเจน เปิดเสียงโทรทัศน์หรือวิทยุดังขึ้น ได้ยินเสียงผู้อื่นพูดเป็นลักษณะก้องอู้อี้ไม่ชัดเจน ฟังจับใจความได้ยากเมื่อมีการสนทนาเป็นกลุ่มโดยเฉพาะในสถานที่ที่มีเสียงรบกวน มีเสียงดังหรือเสียงรบกวนในหู เมื่อคุณตรวจสอบพบว่าตนเองมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น อาจจะเริ่มต้นสังเกตเรื่องการได้ยินผ่านการตอบแบบสอบถาม โดยท่านสามารถทำแบบสอบถามการได้ยินได้ด้วยตัวเองที่นี้ https://hearingaidsbestprice.com/online-hearing-test/
ในหลายๆครั้งที่ผู้ใช้งานเครื่องช่วยฟังประสบปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องช่วยฟัง แต่ไม่ทราบว่าจะปรึกษาใคร ทั้งนี้ด้วยประสบการณ์ของผู้เขียนที่พบเจอผู้ใช้งานเครื่องช่วยฟังมาหลายๆท่าน ผู้เขียนจึงได้รวบรวมปัญหาที่พบบ่อยๆมาให้ทุกท่านได้ทราบกัน เพื่อเป็นอีกหนึ่งหนทางเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับทุกท่าน หวังว่าคำถามและคำตอบที่ผู้เขียนรวบรวมมาจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย 1. รู้สึกไม่คุ้นเคยกับการใส่เครื่องช่วยฟัง การใส่เครื่องช่วยฟังซึ่งเป็นอุปกรณ์ใหม่ อาจทำให้รู้สึกไม่สะดวก และไม่เคยชินได้ ในระยะแรกของการใส่เครื่องช่วยฟังจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความคุ้นเคยกับอุปกรณ์และการใส่เครื่องช่วยฟังก่อน ข้อควรปฏิบัติง่ายๆ เพื่อให้ช่วยในการปรับตัวเกิดความเคยชินได้แก่ เริ่มใช้เครื่องช่วยฟังในสถานที่เงียบ หรือเมื่ออยู่เพียงลำพังก่อน เมื่อเกิดความคุ้นเคยจึงเริ่มใส่เมื่อมีผู้สนทนาด้วยเพียงหนึ่งคน […]
จากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ประชาชนทุกคนต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยในที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส บทความนี้จึงเขียนขึ้นเพื่อให้คำแนะนำผู้ที่ใส่เครื่องช่วยฟังในขณะที่ใส่หน้าหากอนามัยซึ่งอาจทำให้เครื่องช่วยฟังโดยสายคาดหูเกี่ยวและอยู่ในตำแหน่งที่ผิดไปจากปกติได้ 9 คำแนะนำในการช่วยรักษาเครื่องช่วยฟังให้ปลอดภัยขณะสวมใส่หน้ากากอนามัย หากผู้ใช้เครื่องไว้ผมยาวควรจะรวบผมมัดไว้ด้านหลัง เพื่อเป็นการเปิดตำแหน่งหูของคุณให้ชัดเจน และสวมใส่เครื่องช่วยฟังแล้วจึงใส่หน้ากากอนามัย ควรนำแว่นตาออกก่อนการใส่หน้ากากอนามัย ควรใช้หน้ากากอนามัยแบบเป็นผ้าหรือเส้นเชือก 4 เส้น ในการผูกไว้ด้านหลังศีรษะแทนการใช้แบบหูห่วง ระมัดระวังเครื่องช่วยฟังก่อนเสมอ ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าสายคล้องหูอยู่ด้านนอกของตัวเครื่องช่วยฟัง ไม่เกี่ยวกับตัวเครื่องช่วยฟังเพื่อป้องกันการตกหล่นระหว่างการถอดเข้าออกของหน้ากากอนามัย ใช้อุปกรณ์เสริมอื่นๆที่ใช้รั้งสายหน้ากากอนามัยไม่ให้อยู่บริเวณตำแหน่งเครื่องช่วยฟังที่วางหลังใบหู หรือใช้สายคลิปคล้องเครื่องช่วยฟังเพื่อป้องกันเวลาตกหล่นได้ ควรตรวจสอบเครื่องช่วยฟังอย่างสม่ำเสมอว่ายังวางอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องในขณะสวมใส่หรือถอดหน้ากากอนามัย และควรตรวจสอบว่าเครื่องช่วยฟังยังอยู่บนหูของคุณหรือไม่ […]
การปล่อยเสียงรบกวน Tinnitus Masker จากเครื่อง Vista D การปล่อยเสียงรบกวนนี้จะใช้แถบคลื่นเสียงรบกวนที่เป็นลักษณะกว้าง (Broadband noise) โดยจะปล่อยเสียงนี้เพื่อการบรรเทาเสียงรบกวนภายในหูหรือกลบเสียงรบกวนในหูแบบชั่วคราว สัญญาณเตือนเกี่ยวกับ Tinnitus Masker Tinnitus Masker คือการสร้างแถบคลื่นเสียงรบกวน การให้เสียงนี้เป็นการบำบัดในกรณีที่ผู้ใช้เรียกใช้โปรแกรมเสียงรบกวน ซึ่งจะถูกตั้งเสียงรบกวนเฉพาะบุคคล จุดประสงค์การปรับแต่งเสียงรบกวนเพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้งานไม่สนใจเสียงดังภายในหูของตัวเอง เสียงที่ถูกตกแต่งนั้นจะมาจากการให้คำปรึกษาของผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินเพื่อให้ได้ลักษณะเสียงที่เหมาะสมกับลักษณะของเสียงดังในหูของผู้ใช้ […]
ผู้ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมจะปฏิบัติงานกับเครื่องจักรทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งเครื่องจักรกลเหล่านี้มักจะส่งเสียงดังในขณะกำลังทำงาน ซึ่งดังมากดังน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องจักรและลักษณะการทำงาน ทั้งนี้จึงมีกฎหมายเรื่องการควบคุมเสียงภายในโรงงาน หากมีการตรวจพบว่าโรงงานไหนมีเสียงดังมากเกินมาตรฐาน จะถือว่าผิดกฎหมายมลพิษทางเสียงและความสั่นสะเทือนเนื่องจากเสียงดังกล่าวส่งผลต่อสุขภาพของพนักงาน แหล่งกำเนิดเสียง 1.เสียงจากเครื่องจักรขนาดใหญ่ 2.เสียงจากการเคลื่อนย้ายและการขนส่งสิ่งของ 3.เสียงจากการปฏิบัติงานของพนักงานโดยใช้เครื่องมือต่างๆ จากสาเหตุข้างต้นทำให้มีการกำหนดระยะเวลาในการสัมผัสเสียงโดยคำนวณจากระดับความดังและชั่วโมงการสัมผัสเสียงดังหากมีระดับความดังมากก็จะอนุญาตให้สัมผัสเสียงในเวลาทำงานได้ลดลงแสดงดังตาราง ตารางแสดงมาตรฐานระยะเวลาการทำงานกับระดับเสียงเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงาน เวลาการทำงานที่ได้รับเสียง (ชั่วโมง) ระดับเสียงเฉลี่ยตลอดเวลา การทำงานไม่เกิน เดซิเบลเอ 12 87 8 […]