Earplug Earplug คืออะไร? Earplug หรือ ที่อุดหู เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดระดับเสียง ใช้สำหรับกันน้ำและอากาศ เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันอันตรายที่อาจจะส่งผลต่อหู เช่น คนทำงานก่อสร้างที่ต้องอยู่ในที่เสียงดัง, เสียงดนตรีในสถานบันเทิง, นักร้อง นักดนตรีที่ต้องอยู่ในสถานที่ที่เสียงดังมากๆเป็นเวลานาน Earplug สามารถช่วยถนอมการได้ยินให้ยังคงอยู่เป็นปกติได้ นอกจากนี้ Earplug ยังช่วยในเรื่องของการนอนหลับให้สนิท […]
เครื่องช่วยฟัง และประสาทหูเทียม ถือเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ซึ่งความชื้นอาจเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้อุปกรณ์ของท่านชำรุดเสียหายได้ ดังนั้นท่านควรดูแลรักษาเครื่องให้ปลอดภัยจากความชื้น ซึ่งผลิตภัณฑ์สำหรับบำรุงรักษาเครื่องช่วยฟังให้ปราศจากความชื้น มีดังต่อไปนี้ 1. สารดูดความชื้นแบบก้อนกลม (Drying kit tablet) ราคากล่องละ 200 บาท (1 กล่อง มี 4 ชิ้น) […]
การสนับสนุนตนเอง คือการตระหนักรู้ถึงความต้องการ ความปรารถนา และความรู้สึกของตัวคุณเอง รวมถึงสามารถสื่อสารสิ่งเหล่านี้ให้ผู้อื่นทราบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถในการพูดเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจในสิ่งที่คุณต้องการ ซึ่งเป็นทักษะที่อาจช่วยให้คุณรู้สึกมั่นใจ เมื่อได้สื่อสารกับผู้อื่น และเป็นอิสระมากขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวัน คุณทราบดีกว่าใครว่า การสูญเสียการได้ยิน ส่งผลกระทบต่อการสื่อสารระหว่างคุณกับผู้อื่นอย่างไร ดังนั้นคุณจึงเป็นคนที่สามารถอธิบายเพื่อสื่อสารถึงความต้องการของคุณได้ดีที่สุด สำหรับผู้ใหญ่และวัยรุ่นที่เป็นผู้ใช้งานเครื่องประสาทหูเทียม ทักษะในการสนับสนุนตนเองมีความสำคัญต่อการจัดการสถานการณ์การฟังและการสื่อสารที่ท้าทายเป็นอย่างมาก ต่อไปนี้จะเป็นการยกตัวอย่างถึงสถานการณ์บางส่วนที่สามารถพบได้ในแต่ละวัน ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถฝึกฝนเพื่อพัฒนาทักษะการสนับสนุนตนเองได้: 1. อธิบายเกี่ยวกับสถานการณ์ของคุณ แจ้งให้คนรอบข้างรู้ว่า […]
การนั่งเครื่องบินอาจะสร้างความตื่นเต้นและถือเป็นการเปิดประสบการณ์ให้แก่เด็กๆตั้งแต่วัยเยาว์ แต่อย่างไรก็ตามการเดินทางในระยะเวลาติดต่อกันนานๆ อาจส่งผลให้เด็กๆเกิดความเบื่อหน่ายไปจนถึงการแสดงออกด้วยการร้องไห้ได้ วันนี้ผู้เขียนมีกิจกรรมเสริมทักษะระหว่างการเดินทาง 3 กิจกรรมที่เหมาะสำหรับเด็กๆ ที่นอกจากจะไ้ด้ฝึกทักษะการสื่อสารแล้วยังสนุกและไม่น่าเบื่ออีกด้วย 1. บัตรคำศัพท์ บัตรคำศัพท์มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ หรือ หลากสไตล์ แนะนำให้ผู้ปกครองเลือกการ์ดคำศัพท์ที่เน้นรูปภาพประกอบ โดยเลือกเป็นหมวดๆไป เช่น หมวดยานพาหนะ หมวดสัตว์ใต้น้ำ หมวดชนิดของไดโนเสาร์ เป็นต้น การใช้การ์ดคำศัพท์เหล่านี้จะเป็นการทบทวนคำศัพท์และเพิ่มพูนคำศัพท์ให้แก่เด็กๆ […]
เคล็ดลับสำหรับครอบครัวของเด็กทารกที่รอการใส่เครื่องประสาทหูเทียม Tips for Families of Babies Waiting for a Hearing Implant | The MED-EL Blog (medel.com) เรื่องโดย Natalie Teakle ลูกของคุณเพิ่งจะได้รับการวินิจฉัยว่าสูญเสียการได้ยินใช่ไหม? […]
ในการปรับตั้งเครื่องประสาทหูเทียมนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้งานจะต้องแยกแยะเสียงและบอกผู้ปรับตั้งเครื่องว่าระดับเสียงสัญญาณที่ทำการกระตุ้นให้ฟังนั้นมีลักษณะเสียงเป็นอย่างไร เช่น เสียงเบาไป เสียงดังพอดีแล้ว หรือเสียงดังเกินไป ทั้งนี้เพื่อหาตำแหน่งที่ผู้ใช้งานรู้สึกว่าได้ยินเสียงดังพอดีในทุก ๆ ช่องสัญญาณ ซึ่งหากสามารถหาจุดที่ดังพอดีได้ครบทุกช่องสัญญาณก็จะส่งผลให้ผู้ใช้งานได้รับฟังเสียงที่มีคุณภาพ ในผู้ใช้งานที่เป็นผู้ใหญ่จะสามารถบอกระดับความดังของเสียงได้ แต่สำหรับการปรับตั้งเครื่องในเด็กนั้นส่วนใหญ่เด็กจะยังไม่สามารถบอกเรื่องเสียงดัง-เบา-พอดีได้ ดังนั้นวันนี้ผู้เขียนจึงขอแนะนำเคล็ดลับในการฝึกสอนเด็กให้รู้จักเสียงดัง-เสียงเบาให้ผู้ปกครองนำไปสอนบุตรหลานกันค่ะ สำหรับเด็กที่ไม่เคยรู้จักเรื่องเสียงดัง-เสียงเบามาก่อน แนะนำให้เริ่มต้นฝึกจากเสียงกลอง เนื่องจากเด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัสด้านอื่นๆร่วมกับการฟังเพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น ซึ่งในการใช้กลองมาสอนเรื่องดัง-เบานั้น เราจะสามารถบอกใบ้เด็กได้ผ่านท่าทางการตีที่แตกต่างกันในขณะที่ตีกลอง โดยเด็กจะเรียนรู้จากการมองเห็นไปพร้อมๆกับการฟังเสียง ซึ่งการฝึกให้ทำจากง่ายไปยาก […]
1. RONDO 2 คืออะไร ? RONDO 2 คือ เครื่องประมวลเสียงสำหรับผู้ใช้ประสาทหูเทียม MED-EL มีลักษณะเป็นเครื่องประมวลเสียงแบบ single-unit ซึ่งหมายความว่า คอยล์แม่เหล็ก, สายเคเบิล, แบตเตอรี่ และแผงควบคุมการทำงานของเครื่อง จะรวมกันเป็นหนึ่งเดียวซึ่งมาพร้อมกับการออกแบบที่กะทัดรัด สวมใส่สบาย 2. […]
สำหรับการฝึกกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษาและการพูดให้กับเด็กๆนั้น ส่วนมากผู้ปกครองมักคุ้นชินกับการพาลูกไปฝึกพูดฝึกฟังกับผู้เชี่ยวชาญที่โรงพยาบาล แต่อย่าลืมว่าส่วนใหญ่เด็กใช้เวลาอยู่กับผู้ปกครองมากกว่าผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่ผู้ปกครองสามารถนำคำแนะนำหรือจดจำวิธีฝึกลูกจากการสังเกตผู้เชี่ยวชาญกลับมาฝึกลูกด้วยตนเองที่บ้านหรือในสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวัน ซึ่งการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงหรือกิจวัตรประจำวันจะช่วยให้เด็กเรียนรู้และจดจำได้ง่ายกว่าในห้องฝึก วันนี้ผู้เขียนมีเคล็ดลับสำหรับผู้ปกครองมาฝากค่ะ สิ่งที่ควรจัดเตรียมก่อนทำการฝึก สภาพแวดล้อมในการฝึก : ผู้ปกครองควรจัดให้เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เงียบในช่วงแรกของการฝึก เพื่อให้เด็กได้ใช้การฟังร่วมด้วย แต่เมื่อฝึกไปได้สักระยะให้เพิ่มสภาพแวดล้อมที่มีเสียงรบกวนทีละน้อยเพราะในสภาพความเป็นจริงจะมีเสียงรบกวนเกิดขึ้นตลอดเวลา อุปกรณ์รับฟังเสียง : ก่อนเริ่มต้นฝึกผู้ปกครองต้องแน่ใจว่าเด็กใส่เครื่องช่วยฟังหรือประสาทหูเทียมอยู่ตลอดเวลา และตัวเครื่องทำงานได้ดีเป็นปกติ เพื่อให้เด็กเรียนรู้ได้ดีที่สุด สื่อที่ใช้ในการฝึก : เลือกใช้ของเล่นหรือสิ่งของที่เด็กสนใจเป็นสื่อในการฝึก […]
ABR หรือ Auditory Brainstem Response เป็นการตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง เพื่อทดสอบการทำงานของ neuroauditory pathway สามารถทำการตรวจได้โดยไม่ต้องใช้การตอบสนองจากผู้ป่วย ผู้เข้ารับการตรวจแค่เพียงนอนนิ่งๆ ฟังเสียงสัญญาณการตรวจ ผลตรวจจะแสดงออกเป็นกราฟ ซึ่งสามารถใช้ในการประเมินระดับการได้ยิน หรือใช้แยกพยาธิสภาพระหว่างหูชั้นในกับเส้นประสาทหรือสมองได้ สำหรับการตรวจ ABR ในเด็ก จะต้องมีการให้ยาที่มีฤทธิ์ทำให้เด็กง่วงและนอนหลับได้ตลอดการตรวจ ซึ่งในเด็กบางรายมีพฤติกรรมต่อต้าน […]
เครื่องประมวลเสียงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับเสียงเพื่อนำไปประมวลผลและส่งสัญญาณไปยังประสาทหูเทียมที่ฝังอยู่ภายในเพื่อกระตุ้นเส้นประสาทการได้ยิน ฉะนั้นหากเครื่องประมวลเสียงมีการทำงานที่ผิดปกติ ก็จะส่งผลต่อการได้ยินของผู้ใช้อย่างแน่นอน ซึ่งอาการของเครื่องประมวลเสียงที่เริ่มทำงานผิดปกติจะสามารถสังเกตได้ดังนี้ 1. เปิดเครื่องแล้วไฟสถานะบนเครื่องไม่ติด ทุกครั้งที่เปิดเครื่องประมวลเสียง จะมีไฟสถานะแสดงการเปิดเครื่องทุกครั้ง ซึ่งไฟจะกระพริบตามจำนวนโปรแกรมที่ใช้ไว้ ณ ปัจจุบัน เช่น ก่อนปิดเครื่องใช้โปรแกรม 2 อยู่ หากทำการปิดเครื่องและเปิดเครื่อง ไฟสถานะก็จะกระพริบ 2 ครั้ง […]
บุคคลบางกลุ่มจำเป็นต้องกดปุ่มเพิ่มระดับเสียงให้ดังขึ้นไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์โทรทัศน์โทรศัพท์หรือวิทยุไปจนถึงการบอกให้ผู้ร่วมสนทนาพูดให้ดังมากขึ้นสิ่งเหล่านี้เป็นการแจ้งเตือนว่าคุณเป็นบุคคลที่อาจมีการสูญเสียการได้ยินปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินมาจาก 2 สาเหตุหลักนั่นคืออายุและการสัมผัสเสียง อายุที่เพิ่มมากขึ้นจะส่งผลต่อเซลล์ขนในหูชั้นในทำให้มันพังทลายลงอย่างช้าๆจนไม่สามารถรับการสั่นสะเทือนของเสียงได้เช่นเดียวกับที่เคยทำมาในอดีตทำให้การรับรู้เสียงน้อยลงนั่นคือมีหูตึงมากขึ้น การสัมผัสเสียงเป็นสิ่งที่จะกระทบต่อการได้ยินโดยตรงเมื่อเราได้รับเสียงดังมากๆเป็นเวลานานๆจะสามารถทำลายเซลล์ขนในหูลงไปซึ่งตัวคุณเองสามารถป้องกันการสูญเสียการได้ยินที่จะเกิดขึ้นจากสาเหตุเหล่านี้ได้เช่นกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสเสียงดังเกินไป คุณสามารถสังเกตว่าเสียงที่สัมผัสอยู่ดังเกินไปหรือไม่โดยการตะโกนแล้วฟังเสียงของตัวเอง หากเสียงรบกวนกลบเสียงที่คุณตะโกนอยู่ เช่น เสียงจากลำโพงในคอนเสิร์ต เสียงจากท่อมอเตอร์ไซด์ เสียงจากอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น เลื่อย สว่าน สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่สร้างความเสียหายให้กับเซลล์ขนในหูชั้นใน เมื่อต้องอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดัง เมื่อคุณใส่เครื่องช่วยฟังที่มีการปรับแต่งเสียงรบกวนในระดับต่ำ แต่เมื่อจำเป็นจะต้องอยู่ในสถานที่ที่มีการใช้เสียงดังมาก เช่น […]
เมื่อผู้ใช้เครื่องประสาทหูเทียม ต้องทำงานผ่านการประชุมออนไลน์และการใช้โทรศัพท์จากที่บ้าน อาจเป็นเรื่องท้าทายเมื่อเทียบกับการทำงานที่สำนักงาน แต่ในยุคนี้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น การวิดีโอคอล และการใส่คำบรรยายแทนเสียงก็อาจช่วยคุณได้เช่นกัน เรามีเคล็ดลับมาฝาก ซึ่งเคล็ดลับ 5 ข้อ จะช่วยให้คุณทำงานที่บ้านได้สำเร็จยิ่งขึ้น 1. เลือกใช้การประชุมผ่านทางวิดีโอหรือการโทรแบบวิดีโอคอล (Video Conferences & Video Calls) ในปัจจุบันเราสามารถเข้าถึงโทรศัพท์มือถือแบบมีกล้อง […]