คุณจูเนียร์ แม้ว่าหูข้างซ้ายของเขาจะสูญเสียการได้ยินในระดับหูหนวก หูข้างขวาไม่ได้ยินในระดับรุนแรง และเขาก็รู้ตัวตั้งแต่เด็กว่าเขารักในเสียงดนตรี และจะไม่ทิ้งมันไปโดยเด็ดขาด ทุกวันนี้ดนตรียังคงมีบทบาทสำคัญในชีวิตของเขา ทั้งเวลาส่วนตัวหรืออาชีพ เขาบอกกับเราว่า “ประสาทหูเทียม ช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขาในฐานะนักดนตรีที่ประสบความสำเร็จได้อย่างไร” สวัสดีครับ ผมชื่อจูเนียร์ มาจากประเทศบราซิล ปัจจุบันทำงานเป็นครูสอนเปียโน คีย์บอร์ด เทคนิคการใช้เสียง และทฤษฎีดนตรี ซึ่งทำงานเกี่ยวกับดนตรีมานานกว่า 25 ปีแล้ว […]
กลับมาสู่ซีรีส์ “การฟื้นฟูการฟังที่บ้านสำหรับผู้ใหญ่” ในตอนนี้เราจัดทำขึ้นเพื่อให้คำแนะนำและเป็นแหล่งเรียนรู้วิธี เพื่อบรรลุเป้าหมายในการสวมใส่เครื่องประมวลเสียงให้ได้ในทุกๆ วัน เป้าหมายการฟังที่ 1: สวมใส่เครื่องประมวลเสียงของคุณได้ในทุกๆ วัน หลังตื่นนอนการสวมใส่เครื่องประมวลเสียงของคุณ ในทุกๆ ชั่วโมง ถือเป็นสิ่งแรกๆ ที่คุณต้องทำให้ได้ เพื่อที่จะก้าวไปสู่เป้าหมายการฟังในขั้นถัดไป คุณสามารถดูได้ว่า John ผู้ใช้ประสาทหูเทียมมีพัฒนาการอย่างไรในการสวมเครื่องประมวลเสียงตลอดทั้งวันใน “การฟื้นฟูการฟังที่บ้านสำหรับผู้ใหญ่” ตอนนี้เรายังมีเคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายนี้ได้เร็วขึ้น […]
การเดินทางโดยเครื่องบินมักเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นสำหรับเด็กเล็ก อย่างไรก็ตามเด็ก ๆ อาจเบื่อได้เร็วหากถูกขอให้นั่งนิ่ง ๆ เป็นเวลานาน ดังนั้นเราจึงมีกิจกรรมง่าย ๆ มาแนะนำเพื่อช่วยให้บุตรหลานได้เรียนรู้ทักษะการสื่อสาร และสนุกด้วยในเวลาเดียวกัน โดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1. เกม Memory or Snap Card เป็นเกมที่มีการ์ดรูปภาพหลากหลายแบบที่แตกต่างกัน เช่น ของใช้ในบ้าน […]
จากบทความก่อนหน้านี้ เราได้เห็นภาพรวม สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับการเปิดเครื่องประสาทหูเทียมในครั้งแรก แต่เราอยากให้คุณเข้าใจว่า การเปิดเครื่องครั้งแรกนั้น ไม่ใช่ขั้นตอนสุดท้ายในเส้นทางการได้ยินของคุณ โดยในช่วงสัปดาห์แรก และเดือนแรกหลังจากการเปิดใช้งาน คุณจะได้รับคำแนะนำหลายอย่าง เพื่อปรับตั้งค่าการได้ยินร่วมกับแพทย์ของคุณและการปรับเครื่องครั้งที่ 2 มักจะเกิดขึ้นหลังจากการเปิดเครื่องครั้งแรกไปประมาณ 1 เดือน ดังนั้นในครั้งนี้ เราจึงได้รวบรวมเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อช่วยให้คุณได้ทราบเกี่ยวกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้ […]
Rehab At Home วันนี้เกี่ยวกับ “บทเพลง และคําสัมผัสอักษรคล้องจองกัน” การใส่เพลงและคำคล้องจองกันในกิจวัตรประจำวันของคุณ ถือเป็นวิธีที่สนุก ง่ายต่อการพัฒนาทักษะการฟัง และการเรียนรู้ภาษาของบุตรหลานของท่าน! ซึ่งมีผลงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าดนตรีสามารถเข้าถึงเด็กและเห็นผลได้มากกว่าการพูดคุยธรรมดา นอกจากนี้การฝึกอย่างเป็นประจำยังช่วยพัฒนาความสนใจและความจำของเด็กได้ดีอีกด้วย     เทคนิคการฟื้นฟูที่บ้าน:  1. ทำไมเราจึงควรฝึกร้องเพลงกับลูก? การช่วยให้ลูกของคุณฟังเสียง และมีส่วนร่วมกับเพลง จะช่วยพัฒนาทักษะการฟัง […]
เครื่องช่วยฟังเป็นเครื่องขยายเสียงขนาดเล็กที่ถูกนำมาใส่ที่หูของผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน โดยเครื่องช่วยฟังจะขยายเสียงทุกอย่างให้ดังขึ้นทั้งเสียงคนที่พูดด้วย และเสียงต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อม ในเครื่องช่วยฟังบางรุ่นจะมีคุณสมบัติพิเศษ เช่น เน้นขยายเฉพาะเสียงพูดไม่ขยายเสียงรบกวน ตัดเสียงลมและเสียงรบกวนรอบข้าง ก็อาจทำให้ผู้ใช้งานได้คุณภาพเสียงที่ดี และฟังสบายขึ้นได้ แต่การที่จะได้ประโยชน์จากเครื่องช่วยฟังมากน้อยเพียงใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับระดับการสูญเสียการได้ยิน และเซลล์ประสาทหูที่หลงเหลืออยู่ของแต่ละบุคคลด้วย สำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยินมาก ๆ เมื่อใช้เครื่องช่วยฟังแล้วก็อาจยังคงมีปัญหาในการสื่อสารอยู่บ้าง ดังนั้นญาติหรือบุคคลใกล้ชิด ควรทราบวิธีการสื่อสารกับผู้ที่สูญเสียการได้ยินอย่างถูกต้อง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานเครื่องช่วยฟังได้ยิน และเข้าใจบทสนทนาได้ดีขึ้น […]
จากสถานการณ์ในปัจจุบันทำให้แต่ละโรงเรียนต้องเปลี่ยนแปลงจากการเรียนการสอนในห้องเรียน ไปสู่ห้องเรียนแบบออนไลน์อย่างรวดเร็ว ดังนั้นคุณครู และนักเรียนทั่วโลกจึงต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับวิธีการเรียนรู้ และการสอนแบบในรูปแบบใหม่อย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน การเรียนในรูปแบบออนไลน์นั้น ถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายอย่างมากสำหรับนักเรียนที่สูญเสียการได้ยิน และนี่คือเคล็ดลับ 5 ประการที่ผู้เขียนอยากแบ่งปันให้กับคุณครูทุกคน เพื่อช่วยส่งเสริมให้เด็ก ๆ สามารถเข้าถึงการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1. กำหนดกฎเกณฑ์สำหรับการสื่อสาร  ตัวอย่าง การเปิด – ปิดไมโครโฟนในขณะเรียน การเปิดไมโครโฟนเพื่อตอบคำถาม […]
สำหรับเด็กที่สูญเสียการได้ยินปีนี้ถือเป็นปีที่มีความท้าทายเป็นอย่างมากในการเรียนประการแรกคือการเปลี่ยนการเรียนการสอนเป็นในรูปแบบออนไลน์หรือโรงเรียนบางแห่งกลับไปใช้การเรียนการสอนแบบปกติแต่ความท้าทายใหม่ก็เกิดขึ้นคือการใส่หน้ากากอนามัย  โดยการใส่หน้ากากอนามัยเป็นการป้องกันการอ่านริมฝีปากและลดเสียงพูดที่ส่งออกจากปากทั้งหมดนี้ทำให้เด็กที่สูญเสียการได้ยินฟังได้ยากมากยิ่งขึ้นซึ่ง 10 วิธีดังต่อไปนี้เป็นวิธีที่ผู้ปกครองสามารถช่วยสนับสนุนการฟังสำหรับเด็กที่ใส่ประสาทหูเทียมและเครื่องช่วยฟังได้ จัดที่นั่งให้เหมาะสม : แม้แต่สิ่งที่เรียบง่ายอย่างที่นั่งก็สามารถช่วยให้เด็กที่สูญเสียการได้ยินเข้าใจเสียงคุณครูได้ เช่น การจัดที่นั่งให้พวกเขานั่งใกล้กับคุณครู และอยู่ห่างจากแหล่งที่มาของเสียงรบกวน เช่น เสียงแอร์ เสียงรถ วิธีนี้จะช่วยให้เด็กมีสมาธิจดจ่อกับเสียงคุณครูมากขึ้น ใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการฟัง : กล่าวคือ การใช้ไมโครโฟนระยะไกลจากอุปกรณ์เสริมต่างๆให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยการนำอุปกรณ์เสริมติดที่คุณครู หรือผู้บรรยาย […]
การสูญเสียการได้ยินมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน และสามารถที่จะได้รับการแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญทางการได้ยิน หรือถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “นักโสตสัมผัสวิทยา” ซึ่งจะเป็นผู้ช่วยเหลือทั้งด้านการค้นหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นและตั้งโปรแกรมให้กับเครื่องช่วยฟังหรือประสาทหูเทียมได้อย่างเหมาะสม โสตวิทยาและการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยินมีการให้บริการหลากหลายด้าน ดังต่อไปนี้ การทดสอบและตรวจวินิจฉัยเกี่ยวกับการได้ยิน การตรวจประเมินการได้ยิน (Audiometry) เพื่อให้ทราบถึงลักษณะของการได้ยินและพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในหู การตรวจประเมินการได้ยินระดับก้านสมอง (Auditory brain stem testing) เพื่อดูการทำงานของระบบการได้ยินตั้งแต่การรับเสียงผ่านหูจนถึงระดับก้านสมอง การตรวจเสียงสะท้อนของหูชั้นใน (Otoacoustic emission […]
  จากตัวเลขในสถิติรายงานขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO พบว่ากว่า 466 ล้านคน จากประชากรทั่วโลกกำลังประสบปัญหาเรื่องการได้ยิน แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจยิ่งไปกว่านั้น คือ  34 ล้านคนที่กำลังประสบปัญหานี้นั้นเป็นเด็ก ซึ่ง 60%ของเด็กกลุ่มที่มีปัญหาการได้ยินเกิดจากสาเหตุที่ สามารถป้องกันได้ จากสถิติเหล่านี้จะพบว่าปัจจุบันปัญหาเรื่องการได้ยินเป็นปัญหาหนึ่งที่พบได้ทุกเพศทุกวัยทั้งนี้อาจเกิดขึ้นมาจากหลายสาเหตุแต่สิ่งที่สำคัญคือการตรวจพบตั้งแต่แรกเริ่มเพื่อทำการช่วยเหลือและฟื้นฟูการได้ยินต่อไปโดยเฉพาะในเด็กมีความจำเป็นมากที่ต้องตรวจให้พบก่อนอายุครบ 6 เดือนและต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีเพื่อให้มีพัฒนาทางภาษาและการพูดใกล้เคียงกับเด็กปกติในขณะเดียวกันหากตรวจพบล่าช้าหรือไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสมอาจส่งผลกระทบต่อการสื่อสารของเด็กในอนาคต โดยในอดีตเรามักเชื่อว่า ‘การได้ยินผิดปกติ’ […]
คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ว่า อัตราผู้พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายมีจำนวนสูงสุดเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ  ? จากรายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทยของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ระบุตามประเภทความพิการพบว่า ผู้พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายทั่วทั้งประเทศมีจำนวนถึง 375,680 คน (คิดเป็นร้อยละ 18.41) ซึ่งรองจากผู้พิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย อันดับ 1 อยู่ประมาณร้อยละ 30 และยิ่งไปกว่านั้นเกินครึ่งของผู้พิการทั้งหมดในประเทศพบว่าแพทย์ไม่สามารถระบุถึงสาเหตุความพิการได้ เมื่อทราบอย่างนี้แล้วคุณพ่อ คุณแม่มือใหม่คงจะเกิดความวิตกกังวลแล้วว่า “เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกของเรามีความบกพร่องต่อการได้ยิน ?” […]
กดดัน ท้อ และ เสียใจ เป็น 3 คำนิยามของความรู้สึกที่เกิดขึ้นพร้อมๆกันในช่วงเวลานั้นหลังฟื้นจากห้อง ICU ความรู้สึกแรกของเราเลย คือ รู้สึกว่าหูข้างหนึ่งของเราไม่ได้ยิน ผ่านไปสักพักกลับกลายเป็นหูอื้อทั้งสองข้างเท่ากับเราไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย…ซึ่งเป็นผลมาจากการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองโดยเส้นประสาทคู่ที่แปดอักเสบทำให้สูญเสียการได้ยิน ตามไปดูและพูดคุยกับคุณปัทมา อุ่นเอมและคุณขวัญอนงค์ถึงเรื่องราวการได้ยินที่ประสบพบเจอมาในอดีต ประสบการณ์ในการผ่าตัด ความรู้สึกต่างๆ รวมถึงบทเรียนของคุณปัทมาที่เป็นเครื่องพิสูจน์ในเห็นว่าทำไมถึงต้องผ่าตัดประสาทหูเทียมชนิด ABI  Q : ช่วยแนะนำตัวหน่อยได้ไหมคะ […]