เมื่อคุณเป็นบุคคลหนึ่งที่มีการสูญเสียการได้ยิน และได้รับการแนะนำให้ใส่เครื่องช่วยฟัง คุณจะมีคำถามหรือประเด็นข้อสงสัยต่าง ๆ เนื่องจากอุปกรณ์ดังกล่าวคุณไม่เคยรู้จักมาก่อน บทความนี้เป็นการรวบรวมคำถามถูกถามอยู่บ่อยครั้ง เพื่อตอบปัญหาหรือไขข้อข้องใจที่อาจพบได้ในผู้ที่ต้องการลองเครื่องช่วยฟัง คำถามที่ 1 เครื่องช่วยฟังคืออะไร? และเหมาะสมกับใคร? คำตอบ เครื่องช่วยฟังเป็นเครื่องขยายเสียงขนาดเล็กชนิดหนึ่ง โดยประกอบด้วย ไมโครโฟนรับเสียงโดยรอบ โดยเฉพาะเสียงคำพูด ภาคขยายเสียงทำให้หน้าขยายเสียงสัญญาณให้ดังขึ้นและทำให้เสียงคำพูดชัดเจนมากยิ่งขึ้นโดยการตัดเสียงรบกวนอื่น ๆ ให้ลดลง […]
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังประสบปัญหาการได้ยินจนมีผลกระทบกับการสื่อสารในชีวิตประจำวัน สิ่งที่จำเป็นสำหรับคุณคือเครื่องช่วยฟังที่จะช่วยให้สามารถได้ยินเสียงได้อย่างชัดเจนมากขึ้น อย่างแรกที่ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ที่ผู้ใช้ต้องการ การเลือกเครื่องช่วยฟังที่สามารถตอบสนองได้ในทุกความต้องการของผู้ใช้งานได้รับความสะดวกสบายและสามารถปรับตัวต่อการใช้เครื่องช่วยฟังได้ดีขึ้น คุณสมบัติทางเทคนิค ระบบการทำงานแบบดิจิตอลโดยที่ใช้คอมพิวเตอร์ปรับตั้งค่า จะทำให้คุณภาพเสียงคมชัด ระบบการขยายเสียงที่ทันสมัยและเหมาะสมกับระดับการสูญเสียการได้ยิน ระบบ 2 ไมโครโฟน และการรับเสียงแบบอัตโนมัติที่เหมาะสมกับเสียงคำพูดที่เข้ามาในแต่ละทิศทาง ระบบการคำนวณเพื่อลดเสียงหวีดหอนลงอย่างรวดเร็ว ความสามารถในการจับคำพูดและFocusที่ระดับเสียงของแต่ละคนที่พูดในแต่ละทิศทางได้ วิเคราะห์เสียงที่ผ่านไมโครโฟนเพื่อลดระดับของเสียงรบกวน มีการจดจำการใช้งานของผู้ใช้ เพื่อให้สามารถประเมินการใช้งานและปรับตั้งค่าให้เหมาะสมมากขึ้น มีสัญญาณเสียงเตือนเมื่อถ่านหมดหรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโปรแกรม ความสามารถในการปรับแต่งคุณภาพเสียงได้ด้วยตนเอง เมื่ออยู่ในแต่ละสภาพแวดล้อม […]
จากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ประชาชนทุกคนต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยในที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส บทความนี้จึงเขียนขึ้นเพื่อให้คำแนะนำผู้ที่ใส่เครื่องช่วยฟังในขณะที่ใส่หน้าหากอนามัยซึ่งอาจทำให้เครื่องช่วยฟังโดยสายคาดหูเกี่ยวและอยู่ในตำแหน่งที่ผิดไปจากปกติได้ 9 คำแนะนำในการช่วยรักษาเครื่องช่วยฟังให้ปลอดภัยขณะสวมใส่หน้ากากอนามัย หากผู้ใช้เครื่องไว้ผมยาวควรจะรวบผมมัดไว้ด้านหลัง เพื่อเป็นการเปิดตำแหน่งหูของคุณให้ชัดเจน และสวมใส่เครื่องช่วยฟังแล้วจึงใส่หน้ากากอนามัย ควรนำแว่นตาออกก่อนการใส่หน้ากากอนามัย ควรใช้หน้ากากอนามัยแบบเป็นผ้าหรือเส้นเชือก 4 เส้น ในการผูกไว้ด้านหลังศีรษะแทนการใช้แบบหูห่วง ระมัดระวังเครื่องช่วยฟังก่อนเสมอ ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าสายคล้องหูอยู่ด้านนอกของตัวเครื่องช่วยฟัง ไม่เกี่ยวกับตัวเครื่องช่วยฟังเพื่อป้องกันการตกหล่นระหว่างการถอดเข้าออกของหน้ากากอนามัย ใช้อุปกรณ์เสริมอื่นๆที่ใช้รั้งสายหน้ากากอนามัยไม่ให้อยู่บริเวณตำแหน่งเครื่องช่วยฟังที่วางหลังใบหู หรือใช้สายคลิปคล้องเครื่องช่วยฟังเพื่อป้องกันเวลาตกหล่นได้ ควรตรวจสอบเครื่องช่วยฟังอย่างสม่ำเสมอว่ายังวางอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องในขณะสวมใส่หรือถอดหน้ากากอนามัย และควรตรวจสอบว่าเครื่องช่วยฟังยังอยู่บนหูของคุณหรือไม่ […]
ขั้นตอนการเบิกเครื่องช่วยฟังตามแต่ละสิทธิ (ตอนที่ 1) สำหรับผู้ใช้สิทธิ 30 บาท เมื่อตรวจพบว่ามีการสูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียงตั้งแต่ 40 เดซิเบล แพทย์จะออกใบรับรองความพิการ ผู้ป่วยนำใบรับรองความพิการไปขึ้นทะเบียนคนพิการ (ท.74 บัตรทองผู้พิการ)ที่สำนักงานเขต หมายเหตุ: หากเป็นผู้ที่มีบัตรทองหรือขึ้นทะเบียนคนพิการอยู่แล้ว จะต้องตรวจสอบว่าเป็น ท.74 บัตรทองผู้พิการถ้าไม่ใช่ต้องขอใบรับรองความพิการจากแพทย์เพื่อขึ้นทะเบียนคนพิการ ท.74 บัตรทองผู้พิการ […]
เครื่องช่วยฟังในปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก จนสามารถส่งสัญญาณเชื่อมต่อโดยตรงกับโทรศัพท์มือถือได้ ทำให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกสบายและเพิ่มประสิทธิภาพต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สูงสุดหากผู้ใช้คำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจ ได้แก่ คุณเป็นผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือจำพวก Smartphone สามารถใช้งานผ่าน Application ได้อย่างคล่องแคล่ว และยังรู้ขั้นตอนการเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สายต่างๆเข้ากับตัวเครื่อง ถึงจะไม่บ่อยครั้งที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องช่วยฟังและโทรศัพท์นั้นจะมีปัญหา แต่การแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเองจะเป็นการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น คุณเป็นผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือมากน้อยเพียงใด ความถี่ในการใช้งานจะช่วยบอกได้ว่าคุณจำเป็นต้องใช้ Function ของเครื่องช่วยฟังในการเชื่อมต่อกับโทรศัพท์หรือไม่ คุณมีการสูญเสียการได้ยินในระดับใด เนื่องจากบางครั้งความสามารถทางการเข้าใจความหมายของภาษาจะลดลงเมื่อมีการสูญเสียการได้ยินเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นหากคุณไม่สามารถจับคำพูดได้ดีนัก […]
การขึ้นบินนั้นอาจก่อให้เกิดความตึงเครียดและอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่บริเวณปลายประสาทได้สำหรับผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยิน ข้อแนะนำต่อไปนี้คือเคล็ดลับบางประการเกี่ยวกับวิธีที่ผู้ใช้เครื่องช่วยฟังสามารถดูแลรักษาตัวเองและเครื่องช่วยฟังให้ปลอดภัยจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เกือบทุกคนจะต้องขึ้นเครื่องบินอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต การสูญเสียการได้ยินสามารถทำให้เกิดความยุ่งยากได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณใส่เครื่องช่วยฟัง อย่างไรก็ตามมีผู้ใช้เครื่องช่วยฟังจำนวนมากที่มีประสบการณ์ในการเดินทางด้วยเครื่องบิน บทความนี้จึงทำการรวบรวมสถานการณ์และแบ่งปันประสบการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้เริ่มต้นใช้เครื่องช่วยฟังผ่านกระบวนการขึ้นเครื่องและสามารถอยู่บนเครื่องบินได้อย่างง่ายดายที่สุด ก่อนออกเดินทาง การเตรียมตัวก่อนออกเดินทางเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สิ่งจำเป็นต่างๆจะเป็นถูกจัดเตรียมไว้อย่างพิถีพิถัน ในขณะที่สิ่งเล็กน้อยจะถูกมองข้ามไปได้ เช่น ยาแก้ปวด ที่ชาร์จโทรศัพท์ เป็นต้น ผู้ใช้เครื่องช่วยฟังจึงต้องจัดลำดับให้เครื่องช่วยฟังและอุปกรณ์เสริมต่างๆเป็นสิ่งจำเป็นลำดับต้นๆ จึงควรจะเป็นสิ่งแรกที่จัดเตรียมเพื่อการเดินทางและเป็นสิ่งสุดท้ายที่ควรตรวจสอบก่อนออกจากบ้าน […]
เครื่องช่วยฟังเป็นอุปกรณ์ช่วยเหลือสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางการได้ยิน ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้สามารถเข้าถึงเครื่องช่วยเหลือชนิดนี้ได้ในทุกสิทธิการรักษา ได้แก่ สิทธิข้าราชการ สิทธิประกันสังคม และสิทธิบัตรทองผู้พิการ แต่ละสิทธิจะมีข้อกำหนดในการเบิกเครื่องช่วยฟังที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1. สิทธิข้าราชการ เป็นสวัสดิการสำหรับผู้ที่รับราชการ ซึ่งสามารถใช้บัตรประชาชนหรือบัตรข้าราชการในการยืนยันสิทธิดังกล่าว เมื่อตรวจพบว่ามีการสูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียงตั้งแต่ 40 เดซิเบลขึ้นไป และแพทย์พิจารณาว่าสมควรใช้เครื่องช่วยฟัง แพทย์จะออกใบสั่งยาและ/หรือใบ order แพทย์ […]
หากลองหลับตาแล้วให้จินตนาการถึงภาพของพิมพ์หู หลาย ๆ คนอาจจะนึกภาพไม่ออกว่าพิมพ์หูมีลักษณะหน้าตาเป็นอย่างไร หรือใช้ทำอะไร แต่หากคนที่พอจะคุ้นเคยกับอุปกรณ์ช่วยเหลือในการฟังอยู่บ้างคงจะรู้สึกคลับคล้ายคลับคลา แต่ยังไม่แน่ใจ ดังนั้นในวันนี้เราจึงอยากแนะนำให้ทุกคนได้มาทำความรู้จักกับพิมพ์หูกัน พิมพ์หู คืออะไร ? พิมพ์หู เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องช่วยฟังชนิดเกี่ยวหูหรือทัดหลังใบหู เป็นชิ้นส่วนที่ต้องสั่งทำเฉพาะบุคคล โดยหล่อขึ้นจากแบบพิมพ์ที่หล่อมาจากหูคนไข้รายบุคคล ซึ่งรูปร่างและขนาดของพิมพ์หูแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกันได้ […]
ก่อนที่เราจะไปดูว่าใครกันบ้าง ที่ควรจะใช้เครื่องช่วยฟัง เรามาทำความรู้จักกับเครื่องช่วยฟังกันก่อน เครื่องช่วยฟังคืออะไร ? เครื่องช่วยฟังเป็นอุปกรณ์ขยายเสียงสำหรับคนที่มีปัญหาการได้ยิน ซึ่งเครื่องช่วยฟังนั้นจะช่วยให้คนที่ใช้สามารถพูดคุยกับคนอื่น และ ใช้ชีวิตประจำวันได้แบบเดียวกับคนทั่วไป แต่การที่เราจะใช้เครื่องช่วยฟังนั้นจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ หู คอ จมูก หรือ นักโสตสัมผัสวิทยาด้วย ไม่ใช่ว่าอยู่ ๆ นึกอยากจะใส่ ก็ซื้อมาใส่เลย…ไม่ได้ […]
ขั้นตอนง่าย ๆ ในการตรวจเช็กการทำงานของเครื่องประมวลเสียง 1. ประกอบเครื่องประมวลเสียงของท่านให้พร้อมสำหรับการใช้งาน 2. เปิดเครื่องประมวลเสียงของท่าน 3. นำบริเวณด้านล่างของอุปกรณ์ทดสอบเครื่องประมวลเสียง (Speech Processor Test Device) ประกบกับเครื่องประมวลเสียงที่ท่านใช้ บริเวณด้านเรียบของเครื่องสำหรับ RONDO 2, RONDO […]
อุณหภูมิมีผลต่อการใช้งานแบตเตอรี่อย่างไร? เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมเมื่ออากาศเย็นลงนั้น ส่งผลให้ระยะเวลาการใช้งานของแบตเตอรี่สำหรับเครื่องช่วยฟังนั้นสั้นลง จากที่ปกติเคยใช้ได้ 5 วัน กลับใช้ได้แค่ 3 วัน โดยเฉพาะเครื่องช่วยฟังที่ใช้แบตเตอรี่แบบชาร์จได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแบตเตอรี่แบบลิเธียม–ไอออน ตัวแบตเตอรี่ในปัจจุบันที่เป็นแบบลิเธียมไอออนภายในเป็นสารเคมีที่ต้องการความร้อนเพื่อให้เกิดปฏิกริยาไฟฟ้า ซึ่งในอุณหภูมิปกติทั่วไปก็สามารถใช้งานได้ตามปกติ แต่ถ้าเจออากาศเย็นมากเมื่อไหร่จะเริ่มสังเกตได้ว่าแบตเตอรี่มีชั่วโมงการใช้งานลดลงตามความเย็นของอุณหภูมิที่ต่ำลงมาก ๆ ซึ่งแบตเตอรี่พวกนี้ไม่ได้ถูกออกแบบมาใช้ในสภาพอากาศที่เย็นจัดหนาวจัด ในกรณีใช้งานในสภาพแวดล้อมที่เย็นมาก จะสังเกตได้ว่าแบตเตอรี่หมดเร็วกว่าปกติ เช่น ชาร์จไฟเต็ม […]
เครื่องดูดความชื้น..จำเป็นจริงหรือ? อุปกรณ์ภายนอกของเครื่องประสาทหูเทียม ที่เรามักเรียกว่า “เครื่องประมวลเสียง หรือ Processor” เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับเสียง แล้วส่งต่อไปยังอุปกรณ์ที่ฝังอยู่ภายใน (Implant) เพื่อเปลี่ยนเป็นสัญญาณเสียงให้เราได้ยิน ซึ่งนับเป็นอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ชนิดหนึ่ง โดยอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์นี้ ควรอยู่ห่างไกลจากความชื้น เนื่องจากความชื้น มีผลทำให้อุปกรณ์ชำรุดเสียหายได้ โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนเช่นนี้ เนื่องจากภูมิประเทศของเมืองไทยมีสภาพอากาศร้อนชื้น จึงยิ่งส่งผลให้ระหว่างวัน เรามีเหงื่อมาก […]