ขั้นตอนการเบิกเครื่องช่วยฟังตามแต่ละสิทธิ (ตอนที่ 1)
สำหรับผู้ใช้สิทธิ 30 บาท
- เมื่อตรวจพบว่ามีการสูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียงตั้งแต่ 40 เดซิเบล แพทย์จะออกใบรับรองความพิการ
- ผู้ป่วยนำใบรับรองความพิการไปขึ้นทะเบียนคนพิการ (ท.74 บัตรทองผู้พิการ)ที่สำนักงานเขต
หมายเหตุ: หากเป็นผู้ที่มีบัตรทองหรือขึ้นทะเบียนคนพิการอยู่แล้ว จะต้องตรวจสอบว่าเป็น ท.74 บัตรทองผู้พิการถ้าไม่ใช่ต้องขอใบรับรองความพิการจากแพทย์เพื่อขึ้นทะเบียนคนพิการ ท.74 บัตรทองผู้พิการ
- เมื่อขึ้นทะเบียนแล้ว นำบัตร/สมุดคนพิการ พร้อมทั้งบัตรประชาชน
- ติดต่อขอใช้เครื่องช่วยฟัง โดยแพทย์จะออกใบสั่งยาและ/หรือใบ order แพทย์ ว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟัง
- ลองและเลือกเครื่องช่วยฟังตามระดับที่สูญเสียการได้ยินตามผลตรวจ Audiogram
- ลงบันทึกในแฟ้มประวัติผู้ป่วย ประกอบด้วย
-
- ผลการตรวจการได้ยิน
- ผลการประเมินการใช้เครื่องช่วยฟัง
- การแนะนำการใช้เครื่องช่วยฟัง
- การติดตามผลการใช้เครื่องช่วยฟัง
- จำนวนเครื่องที่ให้กับผู้สูญเสียการได้ยิน พร้อมทั้งลักษณะเฉพาะของแต่ละเครื่อง ได้แก่ ชนิดเครื่อง ยี่ห้อ รุ่น และหมายเลขเครื่อง
- ทำพิมพ์หู แล้วนัดรับเครื่องพร้อมพิมพ์หู
- รับพิมพ์หูพร้อมเครื่องช่วยฟังตามวันนัด โดยไม่ต้องชำระเงิน เนื่องจากทางโรงพยาบาลจะเป็นผู้เรียกเก็บจากหน่วยงาน สปสช.
- ติดตามผลเป็นระยะ โดยแบ่งเป็น 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี ตามลำดับ โดยวันที่มาติดตามผลจะถูกบันทึกไว้ทุกครั้ง หากไม่มาตามนัดหมายอาจมีผลในการพิจารณาให้เครื่องช่วยฟังในครั้งต่อไป
หลักฐานที่ใช้ในการเบิกค่าเครื่องช่วยฟังกับสปสช
(โรงพยาบาลเก็บเพื่อใช้ประกอบเบิก)
- ใบสั่งยาและ/หรือใบ order แพทย์
- ผลตรวจ Audiogram
- ผลการประเมินการใส่เครื่องช่วยฟัง
- รายละเอียดรุ่น ยี่ห้อ และหมายเลขเครื่องช่วยฟัง
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ป่วย พร้อมลายเซ็นหรือพิมพ์นิ้วหัวแม่มือ
No responses yet