เครื่องช่วยฟัง และประสาทหูเทียม ถือเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ซึ่งความชื้นอาจเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้อุปกรณ์ของท่านชำรุดเสียหายได้ ดังนั้นท่านควรดูแลรักษาเครื่องให้ปลอดภัยจากความชื้น ซึ่งผลิตภัณฑ์สำหรับบำรุงรักษาเครื่องช่วยฟังให้ปราศจากความชื้น มีดังต่อไปนี้ 1. สารดูดความชื้นแบบก้อนกลม (Drying kit tablet) ราคากล่องละ 200 บาท (1 กล่อง มี 4 ชิ้น) […]
“อาการบ้านหมุน” หรือที่ทราบกันดีว่าโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หลายคนอาจเคยได้ยินมาจากคนรอบตัว หรืออาจเคยประสบปัญหาโรคนี้มากับตัว อาการที่พบได้บ่อยมักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุประมาณ 30-60 ปี และมีความรุนแรงถึงขั้นสูญเสียการได้ยินได้เลย สาเหตุในเบื้องต้นนั้นอาจเกิดจากความผิดปกติของหูชั้นใน ส่งผลให้การรับเสียง และการทรงตัวไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ ดังนั้นจึงทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ หูอื้อ และอาจสูญเสียการได้ยินได้ เป็นต้น อย่างไรก็ตามโรคน้ำในหูไม่เท่ากันจะมีสาเหตุ การป้องอย่างไรนั้นวันนี้เรามีคำตอบมาให้ทราบกันค่ะ สาเหตุ ณ ปัจจุบันยังไม่มีตัวบ่งบอกชัดเจนว่าสาเหตุนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร […]
การสูญเสียการได้ยินมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน และสามารถที่จะได้รับการแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญทางการได้ยิน หรือถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “นักโสตสัมผัสวิทยา” ซึ่งจะเป็นผู้ช่วยเหลือทั้งด้านการค้นหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นและตั้งโปรแกรมให้กับเครื่องช่วยฟังหรือประสาทหูเทียมได้อย่างเหมาะสม โสตวิทยาและการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยินมีการให้บริการหลากหลายด้าน ดังต่อไปนี้ การทดสอบและตรวจวินิจฉัยเกี่ยวกับการได้ยิน การตรวจประเมินการได้ยิน (Audiometry) เพื่อให้ทราบถึงลักษณะของการได้ยินและพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในหู การตรวจประเมินการได้ยินระดับก้านสมอง (Auditory brain stem testing) เพื่อดูการทำงานของระบบการได้ยินตั้งแต่การรับเสียงผ่านหูจนถึงระดับก้านสมอง การตรวจเสียงสะท้อนของหูชั้นใน (Otoacoustic emission […]
จากตัวเลขในสถิติรายงานขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO พบว่ากว่า 466 ล้านคน จากประชากรทั่วโลกกำลังประสบปัญหาเรื่องการได้ยิน แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจยิ่งไปกว่านั้น คือ 34 ล้านคนที่กำลังประสบปัญหานี้นั้นเป็นเด็ก ซึ่ง 60%ของเด็กกลุ่มที่มีปัญหาการได้ยินเกิดจากสาเหตุที่ สามารถป้องกันได้ จากสถิติเหล่านี้จะพบว่าปัจจุบันปัญหาเรื่องการได้ยินเป็นปัญหาหนึ่งที่พบได้ทุกเพศทุกวัยทั้งนี้อาจเกิดขึ้นมาจากหลายสาเหตุแต่สิ่งที่สำคัญคือการตรวจพบตั้งแต่แรกเริ่มเพื่อทำการช่วยเหลือและฟื้นฟูการได้ยินต่อไปโดยเฉพาะในเด็กมีความจำเป็นมากที่ต้องตรวจให้พบก่อนอายุครบ 6 เดือนและต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีเพื่อให้มีพัฒนาทางภาษาและการพูดใกล้เคียงกับเด็กปกติในขณะเดียวกันหากตรวจพบล่าช้าหรือไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสมอาจส่งผลกระทบต่อการสื่อสารของเด็กในอนาคต โดยในอดีตเรามักเชื่อว่า ‘การได้ยินผิดปกติ’ […]
คำถามนี้เป็นคำถามยอดฮิตที่ผู้ปกครองทุกคนสงสัยว่า “ฝ่าตัดฝังประสาทหูเทียมแล้ว ลูกจะพูดได้ทันที่เลยไหม” ก่อนอื่นต้องขออธิบายก่อนว่าหลังจากที่บุตรหลานของคุณได้รับการผ่าตัดฟังประสาทหูเทียมแล้วนั้น กลไกการเรียนรู้ภาษาและการพูดจะเริ่มต้นพัฒนาหลังจากที่เด็กได้ยินเสียง โดยเด็กจะได้รับการเปิดเครื่อง หรือ ติดตั้งเครื่องประมวลเสียงภายนอก ภายหลังการผ่าตัดประมาณ1เดือน ซึ่งหลังจากเปิดเครื่องแล้วจะมีการนัดติดตามผลและปรับตั้งค่าเสียงให้เหมาะสมเป็นระยะๆควบคู่ไปกับการฝึกฟัง ระยะเวลาของการพัฒนาทักษะทางด้านการฟังในเด็กที่ได้รับการผ่าตัดฟังประสาทหูเทียม มีดังนี้ ระหว่าง 1-3 เดือนหลังจากเปิดเครื่อง – ตระหนักรู้เสียงพูดบอกได้ว่ามีเสียงหรือไม่มีเสียงได้ – ตระหนักรู้เสียงสิ่งแวดล้อมบอกทิศทางของเสียงได้ – […]
อาการของโรคหูดับฉับพลัน กรณีเป็นข้างเดียวผู้ป่วยจะมีอาการหูอื้อหรือการได้ยินลดลงในหูข้างที่เป็นอย่างเฉียบพลัน มักไม่ค่อยได้ยินเสียงเมื่อผู้พูดอยู่ไกล มีความลำบากในการพูดคุยในที่ที่มีเสียงรบกวน แต่เมื่ออยู่ในที่เงียบมักไม่มีปัญหา ซึ่งในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นข้างเดียวนี้ส่วนใหญ่มักเป็นถาวร เนื่องจากไม่ทันสังเกต หรือรู้ตัวช้า ซึ่งกว่าจะทราบว่าตนมีอาการก็อาจไปรับรักษาไม่ทันแล้ว แนวทางการรักษาโรคหูดับฉับพลัน หากผู้ป่วยมาพบแพทย์เร็ว และได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม มีโอกาสสูงที่การได้ยินอาจกลับมาเป็นปกติได้ (ส่วนใหญ่การได้ยินมักจะดีขึ้น ภายใน 2 สัปดาห์แรก) สำหรับบางรายมีโอกาสหายได้เองสูงถึงร้อยละ 60-70 แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว เมื่อเกิดอาการประสาทหูเสื่อมแล้วมักจะไม่สามารถรักษาประสาทหูที่เสื่อมให้กลับคืนมาเป็นสภาพปกติได้ การรักษาจะเป็นการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น […]
ขั้นตอนการเบิกเครื่องช่วยฟังตามแต่ละสิทธิ (ตอนที่ 3) สำหรับผู้ใช้สิทธิข้าราชการ (แบบเบิกได้ จ่ายตรง) ขั้นตอนการเบิก เมื่อตรวจพบว่ามีการสูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียงตั้งแต่ 40 เดซิเบล และแพทย์พิจารณาว่าสมควรใช้เครื่องช่วยฟัง แพทย์จะออกใบสั่งยาและ/หรือใบ order แพทย์ ลองและเลือกเครื่องช่วยฟังตามระดับที่สูญเสียการได้ยินตามผลตรวจ Audiogram ลงบันทึกใน OPD Card ซึ่งประกอบด้วย ผลการตรวจการได้ยิน […]
จบไปแล้วกับงานประชุมสามัญประจำปี 2563 ที่จัดโดยสมาคมผู้ใช้ประสาทหูเทียม (แห่งประเทศไทย) ในหัวข้อ “เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องประสิทธิภาพลดลงหรือเครื่องตกรุ่นแล้ว ” พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับสมาชิกที่เข้าร่วมรับฟังกับครอบครัวภายในงาน เรื่องการดูแลบุตรหลานที่ผ่านการผ่าตัดประสาทหูเทียม ซึ่งภายในงานได้รองศาสตราจารย์ ดร. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรมต.กระทรวงคมนาคมที่มีลูกชายผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การเดินทางสู่เสียงของลูกชาย โดยเมดเอลได้มอบส่วนลดกับผู้ใช้งานประสาทหูเทียมทุกท่านที่เป็นสมาชิกของสมาคมผู้ใช้ประสาทหูเทียม (แห่งประเทศไทย) 10 % ในกรณีที่อะไหล่ในเครื่องประมวลเสียงรุ่น RONDO 2 […]
เครื่องประมวลเสียงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับเสียงเพื่อนำไปประมวลผลและส่งสัญญาณไปยังประสาทหูเทียมที่ฝังอยู่ภายในเพื่อกระตุ้นเส้นประสาทการได้ยิน ฉะนั้นหากเครื่องประมวลเสียงมีการทำงานที่ผิดปกติ ก็จะส่งผลต่อการได้ยินของผู้ใช้อย่างแน่นอน ซึ่งอาการของเครื่องประมวลเสียงที่เริ่มทำงานผิดปกติจะสามารถสังเกตได้ดังนี้ 1. เปิดเครื่องแล้วไฟสถานะบนเครื่องไม่ติด ทุกครั้งที่เปิดเครื่องประมวลเสียง จะมีไฟสถานะแสดงการเปิดเครื่องทุกครั้ง ซึ่งไฟจะกระพริบตามจำนวนโปรแกรมที่ใช้ไว้ ณ ปัจจุบัน เช่น ก่อนปิดเครื่องใช้โปรแกรม 2 อยู่ หากทำการปิดเครื่องและเปิดเครื่อง ไฟสถานะก็จะกระพริบ 2 ครั้ง […]
บุคคลบางกลุ่มจำเป็นต้องกดปุ่มเพิ่มระดับเสียงให้ดังขึ้นไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์โทรทัศน์โทรศัพท์หรือวิทยุไปจนถึงการบอกให้ผู้ร่วมสนทนาพูดให้ดังมากขึ้นสิ่งเหล่านี้เป็นการแจ้งเตือนว่าคุณเป็นบุคคลที่อาจมีการสูญเสียการได้ยินปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินมาจาก 2 สาเหตุหลักนั่นคืออายุและการสัมผัสเสียง อายุที่เพิ่มมากขึ้นจะส่งผลต่อเซลล์ขนในหูชั้นในทำให้มันพังทลายลงอย่างช้าๆจนไม่สามารถรับการสั่นสะเทือนของเสียงได้เช่นเดียวกับที่เคยทำมาในอดีตทำให้การรับรู้เสียงน้อยลงนั่นคือมีหูตึงมากขึ้น การสัมผัสเสียงเป็นสิ่งที่จะกระทบต่อการได้ยินโดยตรงเมื่อเราได้รับเสียงดังมากๆเป็นเวลานานๆจะสามารถทำลายเซลล์ขนในหูลงไปซึ่งตัวคุณเองสามารถป้องกันการสูญเสียการได้ยินที่จะเกิดขึ้นจากสาเหตุเหล่านี้ได้เช่นกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสเสียงดังเกินไป คุณสามารถสังเกตว่าเสียงที่สัมผัสอยู่ดังเกินไปหรือไม่โดยการตะโกนแล้วฟังเสียงของตัวเอง หากเสียงรบกวนกลบเสียงที่คุณตะโกนอยู่ เช่น เสียงจากลำโพงในคอนเสิร์ต เสียงจากท่อมอเตอร์ไซด์ เสียงจากอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น เลื่อย สว่าน สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่สร้างความเสียหายให้กับเซลล์ขนในหูชั้นใน เมื่อต้องอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดัง เมื่อคุณใส่เครื่องช่วยฟังที่มีการปรับแต่งเสียงรบกวนในระดับต่ำ แต่เมื่อจำเป็นจะต้องอยู่ในสถานที่ที่มีการใช้เสียงดังมาก เช่น […]
การปิดใช้งานปุ่มบน FineTuner FineTuner Key Deactivation นักโสตสัมผัสวิทยาที่ทำหน้าที่ดูแลคุณ สามารถตั้งค่าเพื่อปิดใช้งานปุ่มหรือโปรแกรม FineTuner บางอย่างได้ เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าที่อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัตินี้ หรือคำแนะนำสำหรับการปิดการใช้งาน FineTuner โปรดติดต่อเรา ฟังก์ชั่นตรวจสอบการเชื่อมต่อ Link-Check Function RONDO 2 […]
ไม่ว่าคุณจะเพลิดเพลินกับการเล่นสาดน้ำกันในช่วงหน้าร้อนที่กรุงเทพ หรือออกดื่มดำธรรมชาติที่ต่างจังหวัด ทุกช่วงเวลา คือ โอกาสในการพัฒนาทักษะการฟังให้แก่ลูกน้อยทุกเมื่อ หลังจากที่ได้เขียนบทความเกี่ยวกับการประดิษฐ์สมุดส่งเสริมทักษะการฟังไปแล้ว วันนี้ผู้เขียนจึงอยากแชร์ไอเดียดีๆสำหรับการทำงานศิลปะและงานฝืมือเพื่อเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กสามารถพัฒนาทักษะทางภาษาและการฟังได้ งานศิลปะและงานฝีมือ การไปเดินเล่นในสวนดอกไม้นับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่น่าสนใจ เพราะดอกไม้แต่ละชนิดมีรูปร่างและสีสันที่แตกต่างกัน เมื่อกลับถึงบ้านผู้ปกครองสามารถนำดอกไม้เหล่านี้มาทำงานฝีมือเพื่อช่วยเสริมทักษะให้แก่เด็กๆได้ รวบรวมใบไม้และดอกไม้หลากหลายชนิดเข้าด้วยกัน พูดให้เด็กๆสังเกตเห็นถึงความแตกต่างๆของดอกไม้ที่เก็บมา เช่น สีของดอกไม้ รูปร่างของใบไม้ หรือ กลิ่นและสัมผัสที่หลากหลายของดอกไม้เหล่านั้น พูดถึงความเหมือนของดอกไม้และใบไม้ เช่น […]