“อาการบ้านหมุน” หรือที่ทราบกันดีว่าโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หลายคนอาจเคยได้ยินมาจากคนรอบตัว หรืออาจเคยประสบปัญหาโรคนี้มากับตัว อาการที่พบได้บ่อยมักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุประมาณ 30-60 ปี และมีความรุนแรงถึงขั้นสูญเสียการได้ยินได้เลย

สาเหตุในเบื้องต้นนั้นอาจเกิดจากความผิดปกติของหูชั้นใน ส่งผลให้การรับเสียง และการทรงตัวไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ ดังนั้นจึงทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ หูอื้อ และอาจสูญเสียการได้ยินได้ เป็นต้น อย่างไรก็ตามโรคน้ำในหูไม่เท่ากันจะมีสาเหตุ การป้องอย่างไรนั้นวันนี้เรามีคำตอบมาให้ทราบกันค่ะ

สาเหตุ

ณ ปัจจุบันยังไม่มีตัวบ่งบอกชัดเจนว่าสาเหตุนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่พบว่ามีหลายสิ่งที่ก่อให้เกิดโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก

  1. ปัจจัยภายในอาจเกิดจากโรคทางกรรมพันธุ์ และพบได้มากกับครอบครัวที่เป็นไมเกรน
  2. ปัจจัยภายนอกอาจเกิดจากโรคภูมิแพ้ การติดเชื้อไวรัส การมีหูชั้นกลาง หรือหูชั้นในอักเสบ ความเครียด และอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีก็อาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุได้เช่นกัน

อาการ

อาการที่เกิดขึ้น หลายคนก็หลายปัจจัย แต่อาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคนี้ เช่น มักจะมีเสียงดังในหู วินเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน รู้สึกอาการหน่วง ๆ ภายในหู และเริ่มมีปัญหาได้ยินเสียงเบาลง ซึ่งอาการที่เกิดขึ้น บางครั้งก็อาจเป็นผลมาจากโรคอื่น ๆ ที่มีการแทรกซ้อน ดังนั้นควรไปพบแพทย์หากมีอาการดังกล่าว เพื่อหาสาเหตุและรักษาตามอาการอย่างถูกต้อง

วิธีการรักษา

การรักษาก็มีหลายวิธี คือ 

  1. การทานยา โดยทานยารักษาตามอาการ พร้อมลดการทานอาหารที่มีรสเค็ม
  2. การบำบัด
    • การฟื้นฟูระบบการทรงตัวสำหรับผู้ที่มีอาการเวียนศีรษะ หรือไม่สามารถทรงตัวได้
    • การใช้ Meniett Device ในการช่วยพัฒนาทักษะการได้ยินสำหรับบางผู้ป่วยบางราย
  3. การฉีดยา ที่นิยมใช้ในการรักษามีอยู่มี 2 ชนิด คือ
    • เดกซาเมทาโซน ช่วยให้ความถี่ในการเวียนศีรษะลดลง ซึ่งสามารถฉีดได้ทุก ๆ 1-3 เดือน
    • เจนตามัยซิน หรือสเตียรอยด์ มีประสิทธิภาพในการรักษาที่มากกว่า แต่อาจมีผลข้างเคียงในเรื่องการได้ยินที่ลดลง
  4. การผ่าตัด ซึ่งมีทั้งการผ่าตัดกระดูกบางส่วนออก และผ่าตัดเส้นประสาทที่เชื่อมต่อระหว่างหูชั้นใน และสมอง เพื่อลดอาการวิงเวียนศีรษะ นอกจากนี้ การผ่าตัดบางวิธีก็อาจจะเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยินได้ด้วย

วิธีป้องกัน

การป้องกันสามารถทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวัน เช่น การนอนหลับให้เพียงพอ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ลดการดื่มแอลกอฮอล์ ชา และกาแฟ นอกจากนี้การทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และดื่มน้ำเปล่า 6-8 แก้วต่อวัน ก็ช่วยป้องกันการเกิดอาการของโรคน้ำในหูไม่เท่ากันได้แล้วค่ะ

—–
Vector Designed by freepik

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *