วันที่ 21-22 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 9:00-16:30 น. ที่ผ่านมา ทางบริษัท เมดเอล เมดดิคัล อิเล็คโทรนิกส์ จำกัด และบริษัท เฮียร์ไลฟ์ จำกัด ร่วมกับ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ได้จัดทำโครงการ […]
การนั่งเครื่องบินอาจะสร้างความตื่นเต้นและถือเป็นการเปิดประสบการณ์ให้แก่เด็กๆตั้งแต่วัยเยาว์ แต่อย่างไรก็ตามการเดินทางในระยะเวลาติดต่อกันนานๆ อาจส่งผลให้เด็กๆเกิดความเบื่อหน่ายไปจนถึงการแสดงออกด้วยการร้องไห้ได้ วันนี้ผู้เขียนมีกิจกรรมเสริมทักษะระหว่างการเดินทาง 3 กิจกรรมที่เหมาะสำหรับเด็กๆ ที่นอกจากจะไ้ด้ฝึกทักษะการสื่อสารแล้วยังสนุกและไม่น่าเบื่ออีกด้วย 1. บัตรคำศัพท์ บัตรคำศัพท์มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ หรือ หลากสไตล์ แนะนำให้ผู้ปกครองเลือกการ์ดคำศัพท์ที่เน้นรูปภาพประกอบ โดยเลือกเป็นหมวดๆไป เช่น หมวดยานพาหนะ หมวดสัตว์ใต้น้ำ หมวดชนิดของไดโนเสาร์ เป็นต้น การใช้การ์ดคำศัพท์เหล่านี้จะเป็นการทบทวนคำศัพท์และเพิ่มพูนคำศัพท์ให้แก่เด็กๆ […]
เคล็ดลับสำหรับครอบครัวของเด็กทารกที่รอการใส่เครื่องประสาทหูเทียม Tips for Families of Babies Waiting for a Hearing Implant | The MED-EL Blog (medel.com) เรื่องโดย Natalie Teakle ลูกของคุณเพิ่งจะได้รับการวินิจฉัยว่าสูญเสียการได้ยินใช่ไหม? […]
สำหรับเด็กที่สูญเสียการได้ยินปีนี้ถือเป็นปีที่มีความท้าทายเป็นอย่างมากในการเรียนประการแรกคือการเปลี่ยนการเรียนการสอนเป็นในรูปแบบออนไลน์หรือโรงเรียนบางแห่งกลับไปใช้การเรียนการสอนแบบปกติแต่ความท้าทายใหม่ก็เกิดขึ้นคือการใส่หน้ากากอนามัย  โดยการใส่หน้ากากอนามัยเป็นการป้องกันการอ่านริมฝีปากและลดเสียงพูดที่ส่งออกจากปากทั้งหมดนี้ทำให้เด็กที่สูญเสียการได้ยินฟังได้ยากมากยิ่งขึ้นซึ่ง 10 วิธีดังต่อไปนี้เป็นวิธีที่ผู้ปกครองสามารถช่วยสนับสนุนการฟังสำหรับเด็กที่ใส่ประสาทหูเทียมและเครื่องช่วยฟังได้ จัดที่นั่งให้เหมาะสม : แม้แต่สิ่งที่เรียบง่ายอย่างที่นั่งก็สามารถช่วยให้เด็กที่สูญเสียการได้ยินเข้าใจเสียงคุณครูได้ เช่น การจัดที่นั่งให้พวกเขานั่งใกล้กับคุณครู และอยู่ห่างจากแหล่งที่มาของเสียงรบกวน เช่น เสียงแอร์ เสียงรถ วิธีนี้จะช่วยให้เด็กมีสมาธิจดจ่อกับเสียงคุณครูมากขึ้น ใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการฟัง : กล่าวคือ การใช้ไมโครโฟนระยะไกลจากอุปกรณ์เสริมต่างๆให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยการนำอุปกรณ์เสริมติดที่คุณครู หรือผู้บรรยาย […]
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังประสบปัญหาการได้ยินจนมีผลกระทบกับการสื่อสารในชีวิตประจำวัน สิ่งที่จำเป็นสำหรับคุณคือเครื่องช่วยฟังที่จะช่วยให้สามารถได้ยินเสียงได้อย่างชัดเจนมากขึ้น อย่างแรกที่ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ที่ผู้ใช้ต้องการ การเลือกเครื่องช่วยฟังที่สามารถตอบสนองได้ในทุกความต้องการของผู้ใช้งานได้รับความสะดวกสบายและสามารถปรับตัวต่อการใช้เครื่องช่วยฟังได้ดีขึ้น คุณสมบัติทางเทคนิค ระบบการทำงานแบบดิจิตอลโดยที่ใช้คอมพิวเตอร์ปรับตั้งค่า จะทำให้คุณภาพเสียงคมชัด ระบบการขยายเสียงที่ทันสมัยและเหมาะสมกับระดับการสูญเสียการได้ยิน ระบบ 2 ไมโครโฟน และการรับเสียงแบบอัตโนมัติที่เหมาะสมกับเสียงคำพูดที่เข้ามาในแต่ละทิศทาง  ระบบการคำนวณเพื่อลดเสียงหวีดหอนลงอย่างรวดเร็ว  ความสามารถในการจับคำพูดและFocusที่ระดับเสียงของแต่ละคนที่พูดในแต่ละทิศทางได้ วิเคราะห์เสียงที่ผ่านไมโครโฟนเพื่อลดระดับของเสียงรบกวน  มีการจดจำการใช้งานของผู้ใช้ เพื่อให้สามารถประเมินการใช้งานและปรับตั้งค่าให้เหมาะสมมากขึ้น มีสัญญาณเสียงเตือนเมื่อถ่านหมดหรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโปรแกรม ความสามารถในการปรับแต่งคุณภาพเสียงได้ด้วยตนเอง เมื่ออยู่ในแต่ละสภาพแวดล้อม […]
คุณเคยเป็นไหมที่บางครั้งรู้สึกว่าไม่เข้าใจเสียงคำพูดขณะสนทนา ต้องให้ผู้พูดพูดซ้ำเนื่องจากการฟังที่ไม่ชัดเจน เปิดเสียงโทรทัศน์หรือวิทยุดังขึ้นกว่าที่เคย เสียงที่ได้ยินเป็นเสียงอู้อี้ ก้องๆ หรือในขณะที่กำลังสนทนากับกลุ่มเพื่อนเยอะๆไม่สามารถฟังจับใจความได้ และมีเสียงวิ้งๆในหู เมื่อคุณตรวจสอบพบว่าตนเองมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น อาจจะเริ่มต้นสังเกตเรื่องการได้ยินผ่านการตอบแบบสอบถามดังนี้   มีลักษณะหูที่ผิดปกติ หรือได้รับการผ่าตัดมาหรือไม่   มีเสียงดังในหูหรือไม่   เคยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือพบแพทย์เพื่อนำขี้หูออก (เนื่องจากมีการอุดตันของขี้หู)หรือไม่   มีอาการเจ็บหูหรือไม่   เคยหูดับหรือได้ยินไม่ชัดเจนหรือไม่   มีการสูญเสียการได้ยินในหูข้างใดข้างหนึ่งหรือไม่   มีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนหรือไม่ ผลการตอบแบบสอบถามจะเป็นข้อบ่งชี้ว่าคุณเข้าข่ายอาจจะเป็นผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยินได้ คุณอาจเริ่มทำแบบสอบถามเชิงลึกในขั้นตอนต่อไป   การได้ยินของคุณเมื่อเปรียบเทียบกับ […]
การสูญเสียการได้ยินมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน และสามารถที่จะได้รับการแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญทางการได้ยิน หรือถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “นักโสตสัมผัสวิทยา” ซึ่งจะเป็นผู้ช่วยเหลือทั้งด้านการค้นหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นและตั้งโปรแกรมให้กับเครื่องช่วยฟังหรือประสาทหูเทียมได้อย่างเหมาะสม โสตวิทยาและการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยินมีการให้บริการหลากหลายด้าน ดังต่อไปนี้ การทดสอบและตรวจวินิจฉัยเกี่ยวกับการได้ยิน การตรวจประเมินการได้ยิน (Audiometry) เพื่อให้ทราบถึงลักษณะของการได้ยินและพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในหู การตรวจประเมินการได้ยินระดับก้านสมอง (Auditory brain stem testing) เพื่อดูการทำงานของระบบการได้ยินตั้งแต่การรับเสียงผ่านหูจนถึงระดับก้านสมอง การตรวจเสียงสะท้อนของหูชั้นใน (Otoacoustic emission […]
  จากตัวเลขในสถิติรายงานขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO พบว่ากว่า 466 ล้านคน จากประชากรทั่วโลกกำลังประสบปัญหาเรื่องการได้ยิน แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจยิ่งไปกว่านั้น คือ  34 ล้านคนที่กำลังประสบปัญหานี้นั้นเป็นเด็ก ซึ่ง 60%ของเด็กกลุ่มที่มีปัญหาการได้ยินเกิดจากสาเหตุที่ สามารถป้องกันได้ จากสถิติเหล่านี้จะพบว่าปัจจุบันปัญหาเรื่องการได้ยินเป็นปัญหาหนึ่งที่พบได้ทุกเพศทุกวัยทั้งนี้อาจเกิดขึ้นมาจากหลายสาเหตุแต่สิ่งที่สำคัญคือการตรวจพบตั้งแต่แรกเริ่มเพื่อทำการช่วยเหลือและฟื้นฟูการได้ยินต่อไปโดยเฉพาะในเด็กมีความจำเป็นมากที่ต้องตรวจให้พบก่อนอายุครบ 6 เดือนและต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีเพื่อให้มีพัฒนาทางภาษาและการพูดใกล้เคียงกับเด็กปกติในขณะเดียวกันหากตรวจพบล่าช้าหรือไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสมอาจส่งผลกระทบต่อการสื่อสารของเด็กในอนาคต โดยในอดีตเรามักเชื่อว่า ‘การได้ยินผิดปกติ’ […]
ในการปรับตั้งเครื่องประสาทหูเทียมนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้งานจะต้องแยกแยะเสียงและบอกผู้ปรับตั้งเครื่องว่าระดับเสียงสัญญาณที่ทำการกระตุ้นให้ฟังนั้นมีลักษณะเสียงเป็นอย่างไร เช่น เสียงเบาไป เสียงดังพอดีแล้ว หรือเสียงดังเกินไป ทั้งนี้เพื่อหาตำแหน่งที่ผู้ใช้งานรู้สึกว่าได้ยินเสียงดังพอดีในทุก ๆ ช่องสัญญาณ ซึ่งหากสามารถหาจุดที่ดังพอดีได้ครบทุกช่องสัญญาณก็จะส่งผลให้ผู้ใช้งานได้รับฟังเสียงที่มีคุณภาพ  ในผู้ใช้งานที่เป็นผู้ใหญ่จะสามารถบอกระดับความดังของเสียงได้ แต่สำหรับการปรับตั้งเครื่องในเด็กนั้นส่วนใหญ่เด็กจะยังไม่สามารถบอกเรื่องเสียงดัง-เบา-พอดีได้  ดังนั้นวันนี้ผู้เขียนจึงขอแนะนำเคล็ดลับในการฝึกสอนเด็กให้รู้จักเสียงดัง-เสียงเบาให้ผู้ปกครองนำไปสอนบุตรหลานกันค่ะ    สำหรับเด็กที่ไม่เคยรู้จักเรื่องเสียงดัง-เสียงเบามาก่อน แนะนำให้เริ่มต้นฝึกจากเสียงกลอง เนื่องจากเด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัสด้านอื่นๆร่วมกับการฟังเพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น ซึ่งในการใช้กลองมาสอนเรื่องดัง-เบานั้น เราจะสามารถบอกใบ้เด็กได้ผ่านท่าทางการตีที่แตกต่างกันในขณะที่ตีกลอง โดยเด็กจะเรียนรู้จากการมองเห็นไปพร้อมๆกับการฟังเสียง ซึ่งการฝึกให้ทำจากง่ายไปยาก […]
ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักมีปัญหากังวลใจกับการฝึกพูดและฝึกฟัง หลังจากที่ลูกน้อยเข้ารับการผ่าตัดประสาทหูเทียมแล้วนั้นสิ่งต่อไปที่จำเป็นไม่แพ้กันคือ “การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยิน” ซึ่งจริง ๆแล้วการผ่าตัดก็ถือเป็นการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินอย่างหนึ่ง โดยการผ่าตัดนั้นถือเป็นขั้นตอนแรกในการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน แต่การผ่าตัดเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้มีสมรรถภาพการได้ยินดีขึ้นได้อย่างเต็มที่ ฉะนั้นหลังจากการผ่าตัดประสาทหูเทียม โดยเฉพาะในกรณีเด็กที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่กำเนิด จึงต้องพัฒนาทักษะการฟังด้วยประสาทหูเทียมอยู่เสมอ ๆ  เริ่มจากการฝึกฟัง เมื่อสมองสามารถจดจำเสียงต่างๆได้แล้วนั้นจะพัฒนาไปยังขั้นตอนการฝึกพูด โดยเป้าหมายในการฝึกทั้งสองอย่างนี้มีความแตกต่างกัน จะมีความแตกต่างมากน้อยเพียงใดนั้นติดตามได้จากบทความนี้เลย การแก้ไขการพูดไม่ชัด : เป็นการแก้ไขเสียงที่เด็กพูดไม่ชัดเจนโดยต้องได้รับการประเมินเสียงที่พูดไม่ชัดโดยการใช้แบบทดสอบการออกเสียงแต่ละเสียงในภาษาไทย รวมถึงประเมินโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะที่ใช้ในการพูด เช่น […]
คำถามนี้เป็นคำถามยอดฮิตที่ผู้ปกครองทุกคนสงสัยว่า “ฝ่าตัดฝังประสาทหูเทียมแล้ว ลูกจะพูดได้ทันที่เลยไหม” ก่อนอื่นต้องขออธิบายก่อนว่าหลังจากที่บุตรหลานของคุณได้รับการผ่าตัดฟังประสาทหูเทียมแล้วนั้น กลไกการเรียนรู้ภาษาและการพูดจะเริ่มต้นพัฒนาหลังจากที่เด็กได้ยินเสียง โดยเด็กจะได้รับการเปิดเครื่อง หรือ ติดตั้งเครื่องประมวลเสียงภายนอก ภายหลังการผ่าตัดประมาณ1เดือน  ซึ่งหลังจากเปิดเครื่องแล้วจะมีการนัดติดตามผลและปรับตั้งค่าเสียงให้เหมาะสมเป็นระยะๆควบคู่ไปกับการฝึกฟัง  ระยะเวลาของการพัฒนาทักษะทางด้านการฟังในเด็กที่ได้รับการผ่าตัดฟังประสาทหูเทียม มีดังนี้ ระหว่าง 1-3 เดือนหลังจากเปิดเครื่อง – ตระหนักรู้เสียงพูดบอกได้ว่ามีเสียงหรือไม่มีเสียงได้ – ตระหนักรู้เสียงสิ่งแวดล้อมบอกทิศทางของเสียงได้  – […]
ขั้นตอนการเบิกเครื่องช่วยฟังตามแต่ละสิทธิ (ตอนที่ 3)  สำหรับผู้ใช้สิทธิข้าราชการ (แบบเบิกได้ จ่ายตรง) ขั้นตอนการเบิก เมื่อตรวจพบว่ามีการสูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียงตั้งแต่ 40 เดซิเบล และแพทย์พิจารณาว่าสมควรใช้เครื่องช่วยฟัง แพทย์จะออกใบสั่งยาและ/หรือใบ order แพทย์  ลองและเลือกเครื่องช่วยฟังตามระดับที่สูญเสียการได้ยินตามผลตรวจ Audiogram ลงบันทึกใน OPD Card ซึ่งประกอบด้วย  ผลการตรวจการได้ยิน […]