เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากการตรวจหาความผิดปกติอวัยวะภายในต่างๆ บนร่างกาย ถือเป็นเรื่องที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งวิธีในการตรวจนั้นมี การตรวจ CT Scan (Computerized Tomography Scan) และ การตรวจ MRI (Magnetic Resonance Imaging) รู้จักกับ CT Scan และ […]
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังประสบปัญหาการได้ยินจนมีผลกระทบกับการสื่อสารในชีวิตประจำวัน สิ่งที่จำเป็นสำหรับคุณคือเครื่องช่วยฟังที่จะช่วยให้สามารถได้ยินเสียงได้อย่างชัดเจนมากขึ้น อย่างแรกที่ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ที่ผู้ใช้ต้องการ การเลือกเครื่องช่วยฟังที่สามารถตอบสนองได้ในทุกความต้องการของผู้ใช้งานได้รับความสะดวกสบายและสามารถปรับตัวต่อการใช้เครื่องช่วยฟังได้ดีขึ้น คุณสมบัติทางเทคนิค ระบบการทำงานแบบดิจิตอลโดยที่ใช้คอมพิวเตอร์ปรับตั้งค่า จะทำให้คุณภาพเสียงคมชัด ระบบการขยายเสียงที่ทันสมัย และเหมาะสมกับระดับการสูญเสียการได้ยิน ระบบ 2 ไมโครโฟน และการรับเสียงแบบอัตโนมัติ ที่เหมาะสมกับเสียงคำพูดที่เข้ามาในแต่ละทิศทาง ระบบการคำนวณ เพื่อลดเสียงหวีดหอนลงอย่างรวดเร็ว ความสามารถในการจับคำพูด และ โฟกัส ที่ระดับเสียงของแต่ละคนที่พูดในแต่ละทิศทางได้ วิเคราะห์เสียงที่ผ่านไมโครโฟนเพื่อลดระดับของเสียงรบกวน มีการจดจำการใช้งานของผู้ใช้ […]
นักแก้ไขการได้ยิน , พยาบาล , เทคนิเชียน , เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลที่ได้รับการฝึกอบรมมาจะเป็นผู้ดำเนินการตรวจการได้ยินและรายงานผลตรวจการได้ยินให้ผู้ปกครองทราบก่อนส่งพบแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาหรือฟื้นฟูเป็นลำดับต่อไป ซึ่งโรงพยาบาลที่มีบริการด้านตรวจการได้ยินตามภูมิภาคต่างๆ มีรายชื่อดังต่อไปนี้ ภาคกลาง – รัฐบาล รพ.สระบุรี จ.สระบุรี รพ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี รพ.อ่างทอง […]
คุณเคยเป็นไหมที่บางครั้งรู้สึกว่าไม่เข้าใจเสียงคำพูดขณะสนทนา ต้องให้ผู้พูดพูดซ้ำเนื่องจากการฟังที่ไม่ชัดเจน เปิดเสียงโทรทัศน์หรือวิทยุดังขึ้นกว่าที่เคย เสียงที่ได้ยินเป็นเสียงอู้อี้ ก้องๆ หรือในขณะที่กำลังสนทนากับกลุ่มเพื่อนเยอะๆไม่สามารถฟังจับใจความได้ และมีเสียงวิ้งๆในหู เมื่อคุณตรวจสอบพบว่าตนเองมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น อาจจะเริ่มต้นสังเกตเรื่องการได้ยินผ่านการตอบแบบสอบถามดังนี้ มีลักษณะหูที่ผิดปกติ หรือได้รับการผ่าตัดมาหรือไม่ มีเสียงดังในหูหรือไม่ เคยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือพบแพทย์เพื่อนำขี้หูออก (เนื่องจากมีการอุดตันของขี้หู)หรือไม่ มีอาการเจ็บหูหรือไม่ เคยหูดับหรือได้ยินไม่ชัดเจนหรือไม่ มีการสูญเสียการได้ยินในหูข้างใดข้างหนึ่งหรือไม่ มีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนหรือไม่ ผลการตอบแบบสอบถามจะเป็นข้อบ่งชี้ว่าคุณเข้าข่ายอาจจะเป็นผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยินได้ คุณอาจเริ่มทำแบบสอบถามเชิงลึกในขั้นตอนต่อไป การได้ยินของคุณเมื่อเปรียบเทียบกับ […]
การสูญเสียการได้ยินมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน และสามารถที่จะได้รับการแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญทางการได้ยิน หรือถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “นักโสตสัมผัสวิทยา” ซึ่งจะเป็นผู้ช่วยเหลือทั้งด้านการค้นหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นและตั้งโปรแกรมให้กับเครื่องช่วยฟังหรือประสาทหูเทียมได้อย่างเหมาะสม โสตวิทยาและการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยินมีการให้บริการหลากหลายด้าน ดังต่อไปนี้ การทดสอบและตรวจวินิจฉัยเกี่ยวกับการได้ยิน การตรวจประเมินการได้ยิน (Audiometry) เพื่อให้ทราบถึงลักษณะของการได้ยินและพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในหู การตรวจประเมินการได้ยินระดับก้านสมอง (Auditory brain stem testing) เพื่อดูการทำงานของระบบการได้ยินตั้งแต่การรับเสียงผ่านหูจนถึงระดับก้านสมอง การตรวจเสียงสะท้อนของหูชั้นใน (Otoacoustic emission […]
การปล่อยเสียงรบกวน Tinnitus Masker จากเครื่อง Vista D การปล่อยเสียงรบกวนนี้จะใช้แถบคลื่นเสียงรบกวนที่เป็นลักษณะกว้าง (Broadband noise) โดยจะปล่อยเสียงนี้เพื่อการบรรเทาเสียงรบกวนภายในหูหรือกลบเสียงรบกวนในหูแบบชั่วคราว สัญญาณเตือนเกี่ยวกับ Tinnitus Masker Tinnitus Masker คือการสร้างแถบคลื่นเสียงรบกวน การให้เสียงนี้เป็นการบำบัดในกรณีที่ผู้ใช้เรียกใช้โปรแกรมเสียงรบกวน ซึ่งจะถูกตั้งเสียงรบกวนเฉพาะบุคคล จุดประสงค์การปรับแต่งเสียงรบกวนเพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้งานไม่สนใจเสียงดังภายในหูของตัวเอง เสียงที่ถูกตกแต่งนั้นจะมาจากการให้คำปรึกษาของผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินเพื่อให้ได้ลักษณะเสียงที่เหมาะสมกับลักษณะของเสียงดังในหูของผู้ใช้ […]
จากตัวเลขในสถิติรายงานขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO พบว่ากว่า 466 ล้านคน จากประชากรทั่วโลกกำลังประสบปัญหาเรื่องการได้ยิน แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจยิ่งไปกว่านั้น คือ 34 ล้านคนที่กำลังประสบปัญหานี้นั้นเป็นเด็ก ซึ่ง 60%ของเด็กกลุ่มที่มีปัญหาการได้ยินเกิดจากสาเหตุที่ สามารถป้องกันได้ จากสถิติเหล่านี้จะพบว่าปัจจุบันปัญหาเรื่องการได้ยินเป็นปัญหาหนึ่งที่พบได้ทุกเพศทุกวัยทั้งนี้อาจเกิดขึ้นมาจากหลายสาเหตุแต่สิ่งที่สำคัญคือการตรวจพบตั้งแต่แรกเริ่มเพื่อทำการช่วยเหลือและฟื้นฟูการได้ยินต่อไปโดยเฉพาะในเด็กมีความจำเป็นมากที่ต้องตรวจให้พบก่อนอายุครบ 6 เดือนและต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีเพื่อให้มีพัฒนาทางภาษาและการพูดใกล้เคียงกับเด็กปกติในขณะเดียวกันหากตรวจพบล่าช้าหรือไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสมอาจส่งผลกระทบต่อการสื่อสารของเด็กในอนาคต โดยในอดีตเรามักเชื่อว่า ‘การได้ยินผิดปกติ’ […]
ผู้ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมจะปฏิบัติงานกับเครื่องจักรทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งเครื่องจักรกลเหล่านี้มักจะส่งเสียงดังในขณะกำลังทำงาน ซึ่งดังมากดังน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องจักรและลักษณะการทำงาน ทั้งนี้จึงมีกฎหมายเรื่องการควบคุมเสียงภายในโรงงาน หากมีการตรวจพบว่าโรงงานไหนมีเสียงดังมากเกินมาตรฐาน จะถือว่าผิดกฎหมายมลพิษทางเสียงและความสั่นสะเทือนเนื่องจากเสียงดังกล่าวส่งผลต่อสุขภาพของพนักงาน แหล่งกำเนิดเสียง 1.เสียงจากเครื่องจักรขนาดใหญ่ 2.เสียงจากการเคลื่อนย้ายและการขนส่งสิ่งของ 3.เสียงจากการปฏิบัติงานของพนักงานโดยใช้เครื่องมือต่างๆ จากสาเหตุข้างต้นทำให้มีการกำหนดระยะเวลาในการสัมผัสเสียงโดยคำนวณจากระดับความดังและชั่วโมงการสัมผัสเสียงดังหากมีระดับความดังมากก็จะอนุญาตให้สัมผัสเสียงในเวลาทำงานได้ลดลงแสดงดังตาราง ตารางแสดงมาตรฐานระยะเวลาการทำงานกับระดับเสียงเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงาน เวลาการทำงานที่ได้รับเสียง (ชั่วโมง) ระดับเสียงเฉลี่ยตลอดเวลา การทำงานไม่เกิน เดซิเบลเอ 12 87 8 […]
อาการของโรคหูดับฉับพลัน กรณีเป็นข้างเดียวผู้ป่วยจะมีอาการหูอื้อหรือการได้ยินลดลงในหูข้างที่เป็นอย่างเฉียบพลัน มักไม่ค่อยได้ยินเสียงเมื่อผู้พูดอยู่ไกล มีความลำบากในการพูดคุยในที่ที่มีเสียงรบกวน แต่เมื่ออยู่ในที่เงียบมักไม่มีปัญหา ซึ่งในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นข้างเดียวนี้ส่วนใหญ่มักเป็นถาวร เนื่องจากไม่ทันสังเกต หรือรู้ตัวช้า ซึ่งกว่าจะทราบว่าตนมีอาการก็อาจไปรับรักษาไม่ทันแล้ว แนวทางการรักษาโรคหูดับฉับพลัน หากผู้ป่วยมาพบแพทย์เร็ว และได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม มีโอกาสสูงที่การได้ยินอาจกลับมาเป็นปกติได้ (ส่วนใหญ่การได้ยินมักจะดีขึ้น ภายใน 2 สัปดาห์แรก) สำหรับบางรายมีโอกาสหายได้เองสูงถึงร้อยละ 60-70 แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว เมื่อเกิดอาการประสาทหูเสื่อมแล้วมักจะไม่สามารถรักษาประสาทหูที่เสื่อมให้กลับคืนมาเป็นสภาพปกติได้ การรักษาจะเป็นการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น […]
ขั้นตอนการเบิกเครื่องช่วยฟังตามแต่ละสิทธิ (ตอนที่ 3) สำหรับผู้ใช้สิทธิข้าราชการ (แบบเบิกได้ จ่ายตรง) ขั้นตอนการเบิก เมื่อตรวจพบว่ามีการสูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียงตั้งแต่ 40 เดซิเบล และแพทย์พิจารณาว่าสมควรใช้เครื่องช่วยฟัง แพทย์จะออกใบสั่งยาและ/หรือใบ order แพทย์ ลองและเลือกเครื่องช่วยฟังตามระดับที่สูญเสียการได้ยินตามผลตรวจ Audiogram ลงบันทึกใน OPD Card ซึ่งประกอบด้วย ผลการตรวจการได้ยิน […]
ขั้นตอนการเบิกเครื่องช่วยฟังตามแต่ละสิทธิ (ตอนที่ 1) สำหรับผู้ใช้สิทธิ 30 บาท เมื่อตรวจพบว่ามีการสูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียงตั้งแต่ 40 เดซิเบล แพทย์จะออกใบรับรองความพิการ ผู้ป่วยนำใบรับรองความพิการไปขึ้นทะเบียนคนพิการ (ท.74 บัตรทองผู้พิการ)ที่สำนักงานเขต หมายเหตุ: หากเป็นผู้ที่มีบัตรทองหรือขึ้นทะเบียนคนพิการอยู่แล้ว จะต้องตรวจสอบว่าเป็น ท.74 บัตรทองผู้พิการถ้าไม่ใช่ต้องขอใบรับรองความพิการจากแพทย์เพื่อขึ้นทะเบียนคนพิการ ท.74 บัตรทองผู้พิการ […]
ABR หรือ Auditory Brainstem Response เป็นการตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง เพื่อทดสอบการทำงานของ neuroauditory pathway สามารถทำการตรวจได้โดยไม่ต้องใช้การตอบสนองจากผู้ป่วย ผู้เข้ารับการตรวจแค่เพียงนอนนิ่งๆ ฟังเสียงสัญญาณการตรวจ ผลตรวจจะแสดงออกเป็นกราฟ ซึ่งสามารถใช้ในการประเมินระดับการได้ยิน หรือใช้แยกพยาธิสภาพระหว่างหูชั้นในกับเส้นประสาทหรือสมองได้ สำหรับการตรวจ ABR ในเด็ก จะต้องมีการให้ยาที่มีฤทธิ์ทำให้เด็กง่วงและนอนหลับได้ตลอดการตรวจ ซึ่งในเด็กบางรายมีพฤติกรรมต่อต้าน […]