ผู้ใช้งานเครื่องประสาทหูเทียม MED-EL  ที่เข้าร่วมงานวิจัย 9 ใน 10 คน กล่าวว่า “พวกเขาฟังเพลงผ่านเครื่องประสาทหูเทียมแล้วรู้สึกว่าเสียงเพราะ” ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการออกแบบเครื่องประสาทหูเทียมของเรา ซึ่งเลียนแบบการได้ยินให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติ แต่การฝึกฝนก็ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน ยิ่งคุณฟังเพลงมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งรู้สึกเพลิดเพลินไปกับเสียงเพลงมากขึ้นเท่านั้น ไม่มีคำว่าเร็วเกินไป หรือ สายเกินไปที่จะเริ่มฝึกฟังเสียงดนตรีผ่านเครื่องประสาทหูเทียม   ดังนั้น นี่คือเคล็ดลับง่ายๆ […]
เนื่องในโอกาสเริ่มต้นปีใหม่ เว้นว่างเป้าหมายของคุณในปีใหม่นี้อีกสัก 2-3ข้อได้ไหม? เนื่องจากนี่เป็นโอกาสที่ดีในการตั้งเป้าหมายการฟังให้กับตัวเอง เคล็ดลับในการบรรลุเป้าหมาย คือการแบ่งเป้าหมายใหญ่ออกเป็นข้อย่อยๆ ต่อไปนี้คือเป้าหมาย 5 ข้อที่ผู้ใช้ประสาทหูเทียมสามารถลองนำไปตั้งเป้าหมายเพิ่มเติมได้ เป้าหมายที่ 1: เพิ่มเวลาในการสวมใส่เครื่องประมวลเสียงของคุณ คุณสวมใส่เครื่องประมวลเสียงกี่ชั่วโมงต่อวัน สามารถเพิ่มขึ้นได้อีกหรือไม่? เราทราบดีว่าเมื่อผู้ใหญ่สวมเครื่องประมวลเสียง เป็นเวลา 10 ชั่วโมงต่อวันหรือมากกว่านั้น พวกเขาจะสามารถรับรู้คำพูดได้ดีขึ้น และทราบหรือไม่ […]
ยินดีต้อนรับกลับสู่ซีรีส์ “การฟื้นฟูการฟังที่บ้านสำหรับผู้ใหญ่” ซึ่งคุณสามารถเรียนรู้วิธีในการพัฒนาทักษะการฟังในชีวิตประจำวัน และปรับปรุงการได้ยินของคุณเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของตัวเองได้ เป้าหมายการฟังที่ 1: การทำความเข้าใจการสนทนาในกลุ่มเล็กๆ การสนทนาในกลุ่มเล็กๆ จำนวน 3 ถึง 5 คน อาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย เมื่อการสนทนาดำเนินไปอย่างรวดเร็ว และหากมีคนพูดพร้อมกันมากกว่าหนึ่งคน คุณควรบอกให้พวกเขารู้ว่า คุณสูญเสียการได้ยิน และขอให้พวกเขาสนทนากันช้าลง ในวิดีโอนี้ […]
การเดินทางโดยเครื่องบินมักเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นสำหรับเด็กเล็ก อย่างไรก็ตามเด็ก ๆ อาจเบื่อได้เร็วหากถูกขอให้นั่งนิ่ง ๆ เป็นเวลานาน ดังนั้นเราจึงมีกิจกรรมง่าย ๆ มาแนะนำเพื่อช่วยให้บุตรหลานได้เรียนรู้ทักษะการสื่อสาร และสนุกด้วยในเวลาเดียวกัน โดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1. เกม Memory or Snap Card เป็นเกมที่มีการ์ดรูปภาพหลากหลายแบบที่แตกต่างกัน เช่น ของใช้ในบ้าน […]
เมดเอล และเฮียร์ไลฟ์ร่วมออกงานประชุมวิชาการและการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565 สมาคมโสตสัมผัสวิทยาและการแก้ไขการพูดแห่งประเทศไทย ในระหว่างวันที่ 15-16 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยมีหัวข้องานคือ ‘Bring Back to Communication Disorders Academic Meeting’ ซึ่งได้รับเกียรติจาก รศ. ดร. […]
จากบทความก่อนหน้านี้ เราได้เห็นภาพรวม สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับการเปิดเครื่องประสาทหูเทียมในครั้งแรก แต่เราอยากให้คุณเข้าใจว่า การเปิดเครื่องครั้งแรกนั้น ไม่ใช่ขั้นตอนสุดท้ายในเส้นทางการได้ยินของคุณ โดยในช่วงสัปดาห์แรก และเดือนแรกหลังจากการเปิดใช้งาน คุณจะได้รับคำแนะนำหลายอย่าง เพื่อปรับตั้งค่าการได้ยินร่วมกับแพทย์ของคุณและการปรับเครื่องครั้งที่ 2 มักจะเกิดขึ้นหลังจากการเปิดเครื่องครั้งแรกไปประมาณ 1 เดือน ดังนั้นในครั้งนี้ เราจึงได้รวบรวมเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อช่วยให้คุณได้ทราบเกี่ยวกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้ […]
ผลที่ตามมาของการวินิจฉัยที่ผิดพลาด: เส้นทางการได้ยินของคุณ Grzegorz กับประสาทหูเทียมของเขา ตั้งแต่เด็ก Grzegorz Płonka ถูกวินิจฉัยว่าเป็นเด็กออทิสติก ซึ่งเขาได้เข้าศึกษาในโรงเรียนสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางจิตและไม่สามารถพูดได้ จนเมื่ออายุ 14 ปี ชีวิตเขาก็ได้เปลี่ยนไป เนื่องจากเขาได้รับการวินิจฉัยอยากละเอียดแล้วว่า เขาไม่ได้เป็นออทิสติก เค้าเพียงแค่มีสูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง และเขาก็ได้รับการฝังประสาทหูเทียมใน 5 ปีต่อมา เส้นทางการได้ยินของเขา […]
เมื่อกำลังพิจารณาเกี่ยวกับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม หลาย ๆ คนมักจะมีคำถามที่ว่า “เราควรรอเทคโนโลยีในอนาคต ก่อนที่จะทำการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมหรือไม่?  คำตอบสั้น ๆ ก็คือ: ไม่ ถึงแม้ว่าการตัดสินใจเลือกประสาทหูเทียมเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นต้องรู้สึกสบายใจกับการตัดสินใจผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม จากการวิจัยพบว่า ผู้สูญเสียการได้ยินควรได้รักษาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ดีกว่า ต่อไปนี้คือ เหตุผล 3 ประการ เมื่อพูดถึงการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินเห็นพ้องต้องกันว่า “ทำเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ดีกว่า” หากคุณกำลังพิจารณาการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมสำหรับบุตรหลานของคุณ […]
กิจวัตรประจำวันที่โรงเรียน และการใช้ชีวิตของคนในครอบครัวกับประสาทเทียม มีชาเอลา จากประเทศออสเตรีย เธอรู้ดีว่าสิ่งใดสำคัญสำหรับลูกน้อยที่ใช้งานประสาทหูเทียม และเธอคือคุณแม่ที่มีลูกน้อยใช้งานประสาทหูเทียมทั้งสองคน ในบทความนี้ มีชาเอลาจะมาพูดถึงสาเหตุที่เธอตัดสินใจให้ลูก ๆ ของเธอผ่าตัดฝังประสาทเทียมวิธีการรับมือกับการไปโรงเรียน การดำรงชีวิต และความท้าทายที่ต้องเผชิญ ฉันชื่อว่า มีชาเอลา อาศัยอยู่ในรัฐโลว์เออร์ออสเตรียกับสามีของฉัน แบนด์ และลูก ๆ ของเรา วิคทอเรียกับฟลอเรียน […]
การสนับสนุนตนเอง คือการตระหนักรู้ถึงความต้องการ ความปรารถนา และความรู้สึกของตัวคุณเอง รวมถึงสามารถสื่อสารสิ่งเหล่านี้ให้ผู้อื่นทราบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถในการพูดเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจในสิ่งที่คุณต้องการ ซึ่งเป็นทักษะที่อาจช่วยให้คุณรู้สึกมั่นใจ เมื่อได้สื่อสารกับผู้อื่น และเป็นอิสระมากขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวัน คุณทราบดีกว่าใครว่า การสูญเสียการได้ยิน ส่งผลกระทบต่อการสื่อสารระหว่างคุณกับผู้อื่นอย่างไร ดังนั้นคุณจึงเป็นคนที่สามารถอธิบายเพื่อสื่อสารถึงความต้องการของคุณได้ดีที่สุด สำหรับผู้ใหญ่และวัยรุ่นที่เป็นผู้ใช้งานเครื่องประสาทหูเทียม ทักษะในการสนับสนุนตนเองมีความสำคัญต่อการจัดการสถานการณ์การฟังและการสื่อสารที่ท้าทายเป็นอย่างมาก ต่อไปนี้จะเป็นการยกตัวอย่างถึงสถานการณ์บางส่วนที่สามารถพบได้ในแต่ละวัน ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถฝึกฝนเพื่อพัฒนาทักษะการสนับสนุนตนเองได้: 1. อธิบายเกี่ยวกับสถานการณ์ของคุณ แจ้งให้คนรอบข้างรู้ว่า […]
หนึ่งในวันที่น่าจะตื่นเต้นที่สุดในเส้นทางการได้ยินของเรา ก็มักจะเป็นวันเปิดเครื่องประสาทหูเทียม ซึ่งเป็นวันที่คุณจะได้ยินเสียงจากเครื่องประสาทหูเทียมเป็นครั้งแรก! ในวันนั้นเรารู้ว่าคุณจะมีคำถามมากมายเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการปรับเครื่องครั้งแรก ดังนั้นเราจึงอยากแบ่งปันข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ จากประสบการณ์ของฉัน ในการทำงานเป็นนักแก้ไขการได้ยินเพื่อไขข้อสงสัยให้กับคุณ   คือ วันที่คุณเปิดอุปกรณ์การได้ยินของคุณ เพื่อรับเสียงเป็นครั้งแรก บางครั้งเรียกว่า “วันเปิดเครื่อง”, “การเปิดใช้งาน”, “การเชื่อมต่อ” หรือ “การปรับเครื่องครั้งแรก” […]
เชลล่า แมน ศิลปิน นักแสดง นายแบบ ยูทูปเบอร์ และผู้ขับเคลื่อน LGBTQ+ ชาวอเมริกันวัย 24 ปี เขาใช้โซเชียลมีเดียเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์ส่วนตัวของเขาในเรื่องเพศสภาพ และอัตลักษณ์ เขายังเป็น 1 ใน 4 ศิลปินที่อยู่เบื้องหลังการออกแบบฝาครอบเครื่องประมวลเสียงรุ่นลิมิเต็ดล่าสุดของเรา วันนี้ เชลล่า […]