ผู้ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมจะปฏิบัติงานกับเครื่องจักรทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งเครื่องจักรกลเหล่านี้มักจะส่งเสียงดังในขณะกำลังทำงาน ซึ่งดังมากดังน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องจักรและลักษณะการทำงาน ทั้งนี้จึงมีกฎหมายเรื่องการควบคุมเสียงภายในโรงงาน หากมีการตรวจพบว่าโรงงานไหนมีเสียงดังมากเกินมาตรฐาน จะถือว่าผิดกฎหมายมลพิษทางเสียงและความสั่นสะเทือนเนื่องจากเสียงดังกล่าวส่งผลต่อสุขภาพของพนักงาน 

แหล่งกำเนิดเสียง
1.เสียงจากเครื่องจักรขนาดใหญ่
2.เสียงจากการเคลื่อนย้ายและการขนส่งสิ่งของ
3.เสียงจากการปฏิบัติงานของพนักงานโดยใช้เครื่องมือต่างๆ

จากสาเหตุข้างต้นทำให้มีการกำหนดระยะเวลาในการสัมผัสเสียงโดยคำนวณจากระดับความดังและชั่วโมงการสัมผัสเสียงดังหากมีระดับความดังมากก็จะอนุญาตให้สัมผัสเสียงในเวลาทำงานได้ลดลงแสดงดังตาราง

ตารางแสดงมาตรฐานระยะเวลาการทำงานกับระดับเสียงเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงาน

เวลาการทำงานที่ได้รับเสียง (ชั่วโมง) ระดับเสียงเฉลี่ยตลอดเวลา
การทำงานไม่เกิน เดซิเบลเอ
12 87
8 90
6 92
4 95
3 97
2 100
1 ½ 102
1 105
½ 110
¼  115

ผลกระทบจากเสียงที่ดัง

  1. ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของพนักงาน
  2. เสียงเครื่องจักรที่ดังเกินไปจะขัดขวางการสื่อสาร ทำให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน ส่งผลให้เกิดการผิดพลาดในการประสานงาน
  3. เสียงที่ดังมากเกินไปจะทำลายประสาทหู และอาจทำให้หูหนวกหรือหูตึงได้

วิธีการแก้ไข

  1. หากพนักงานจำเป็นจะต้องทำงานสัมผัสเสียงดังอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องมีมาตรการให้พนักงานสวมเอียปลั๊กหรือเอียมั๊ฟเพื่อลดเสียงที่เข้าสู่หูและเป็นการป้องกันเสียงทำลายประสาทหู
  2. ทำห้องเก็บเสียงในบริเวณที่มีเครื่องจักร เพื่อไม่ให้เสียงเครื่องจักรเล็ดลอดออกไปรบกวนพนักงานในแผนกอื่นๆ
  3. เปลี่ยนวัสดุอุปกรณ์บางตัวหรือใช้วัสดุที่ซับเสียงของเครื่องจักรเพื่อลดเสียงดังที่เกิดจากการทำงานของเครื่อง
  4. ใช้การสื่อสารแบบสัญลักษณ์หรือสัญญาณมือภายในห้องที่มีเสียงดังแทนการพูดคุย
Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *