ทุกวันนี้หน้าจอโทรศัพท์ ทีวี หรือ คอม ต่างกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนเราไปแล้ว เช่น โทรคุยกับเพื่อน อ่านหนังสือ ดูละคร/ภาพยนตร์ ฟังเพลง เล่นเกม วาดรูป เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันอุปกรณ์เหล่านี้ต่างถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย และทำให้มีความสะดวกสบายแก่คนเราเป็นอย่างมากในการพัฒนาทักษะ ความสามารถ หน้าที่การงาน รวมถึงความสุขในด้านต่างๆ หากเราใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ และสำหรับเด็กๆ […]
คุณจูเนียร์ แม้ว่าหูข้างซ้ายของเขาจะสูญเสียการได้ยินในระดับหูหนวก หูข้างขวาไม่ได้ยินในระดับรุนแรง และเขาก็รู้ตัวตั้งแต่เด็กว่าเขารักในเสียงดนตรี และจะไม่ทิ้งมันไปโดยเด็ดขาด ทุกวันนี้ดนตรียังคงมีบทบาทสำคัญในชีวิตของเขา ทั้งเวลาส่วนตัวหรืออาชีพ เขาบอกกับเราว่า “ประสาทหูเทียม ช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขาในฐานะนักดนตรีที่ประสบความสำเร็จได้อย่างไร” สวัสดีครับ ผมชื่อจูเนียร์ มาจากประเทศบราซิล ปัจจุบันทำงานเป็นครูสอนเปียโน คีย์บอร์ด เทคนิคการใช้เสียง และทฤษฎีดนตรี ซึ่งทำงานเกี่ยวกับดนตรีมานานกว่า 25 ปีแล้ว […]
การสื่อสารในที่ที่มีผู้คนหนาแน่นหรือมีเสียงรบกวนรอบข้าง อาจเป็นเรื่องยากแม้แต่กับผู้ที่มีการได้ยินปกติ และสำหรับผู้ใช้งานเครื่องประสาทหูเทียมหากอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ จะทำให้พวกเขาฟังได้ยากขึ้นเช่นกัน นี่จึงเป็นเหตุผลที่พวกเขารู้สึกหงุดหงิดและไม่ชอบในระหว่างการสนทนา เราในฐานะคนในครอบครัว หรือเพื่อนของผู้ใช้งานเครื่องประสาทหูเทียม หรือผู้ที่สูญเสียการได้ยิน จึงมีบางอย่างที่คุณสามารถทำได้เพื่อช่วยให้การสื่อสารนั้นง่ายขึ้น ต่อไปนี้คือเคล็ดลับ 5 ข้อที่คุณสามารถทำได้คือ 1. ถามเขาว่าวิธีไหนที่จะช่วยได้บ้าง ถามคนในครอบครัวของคุณว่าพวกเขาต้องการให้สื่อสารอย่างไร คุณสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อให้พวกเขาเข้าใจได้ง่ายขึ้น ไม่มีวิธีใดวิธีหนึ่งที่เหมาะสม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องถามพวกเขาเพื่อช่วยให้ช่วยได้ตรงตามความเหมาะสมของเขา 2. ปรับสภาพแวดล้อมของคุณ […]
กลับมาสู่ซีรีส์ “การฟื้นฟูการฟังที่บ้านสำหรับผู้ใหญ่” ในตอนนี้เราจัดทำขึ้นเพื่อให้คำแนะนำและเป็นแหล่งเรียนรู้วิธี เพื่อบรรลุเป้าหมายในการสวมใส่เครื่องประมวลเสียงให้ได้ในทุกๆ วัน เป้าหมายการฟังที่ 1: สวมใส่เครื่องประมวลเสียงของคุณได้ในทุกๆ วัน หลังตื่นนอนการสวมใส่เครื่องประมวลเสียงของคุณ ในทุกๆ ชั่วโมง ถือเป็นสิ่งแรกๆ ที่คุณต้องทำให้ได้ เพื่อที่จะก้าวไปสู่เป้าหมายการฟังในขั้นถัดไป คุณสามารถดูได้ว่า John ผู้ใช้ประสาทหูเทียมมีพัฒนาการอย่างไรในการสวมเครื่องประมวลเสียงตลอดทั้งวันใน “การฟื้นฟูการฟังที่บ้านสำหรับผู้ใหญ่” ตอนนี้เรายังมีเคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายนี้ได้เร็วขึ้น […]
ยินดีต้อนรับกลับสู่ซีรีส์ “การฟื้นฟูการฟังที่บ้านสำหรับผู้ใหญ่” ซึ่งคุณสามารถเรียนรู้วิธีในการพัฒนาทักษะการฟังในชีวิตประจำวัน และปรับปรุงการได้ยินของคุณเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของตัวเองได้ เป้าหมายการฟังที่ 1: การทำความเข้าใจการสนทนาในกลุ่มเล็กๆ การสนทนาในกลุ่มเล็กๆ จำนวน 3 ถึง 5 คน อาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย เมื่อการสนทนาดำเนินไปอย่างรวดเร็ว และหากมีคนพูดพร้อมกันมากกว่าหนึ่งคน คุณควรบอกให้พวกเขารู้ว่า คุณสูญเสียการได้ยิน และขอให้พวกเขาสนทนากันช้าลง ในวิดีโอนี้ […]
Rehab At Home วันนี้เกี่ยวกับ “บทเพลง และคําสัมผัสอักษรคล้องจองกัน” การใส่เพลงและคำคล้องจองกันในกิจวัตรประจำวันของคุณ ถือเป็นวิธีที่สนุก ง่ายต่อการพัฒนาทักษะการฟัง และการเรียนรู้ภาษาของบุตรหลานของท่าน! ซึ่งมีผลงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าดนตรีสามารถเข้าถึงเด็กและเห็นผลได้มากกว่าการพูดคุยธรรมดา นอกจากนี้การฝึกอย่างเป็นประจำยังช่วยพัฒนาความสนใจและความจำของเด็กได้ดีอีกด้วย เทคนิคการฟื้นฟูที่บ้าน: 1. ทำไมเราจึงควรฝึกร้องเพลงกับลูก? การช่วยให้ลูกของคุณฟังเสียง และมีส่วนร่วมกับเพลง จะช่วยพัฒนาทักษะการฟัง […]
การสูญเสียการได้ยินมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน และสามารถที่จะได้รับการแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญทางการได้ยิน หรือถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “นักโสตสัมผัสวิทยา” ซึ่งจะเป็นผู้ช่วยเหลือทั้งด้านการค้นหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นและตั้งโปรแกรมให้กับเครื่องช่วยฟังหรือประสาทหูเทียมได้อย่างเหมาะสม โสตวิทยาและการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยินมีการให้บริการหลากหลายด้าน ดังต่อไปนี้ การทดสอบและตรวจวินิจฉัยเกี่ยวกับการได้ยิน การตรวจประเมินการได้ยิน (Audiometry) เพื่อให้ทราบถึงลักษณะของการได้ยินและพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในหู การตรวจประเมินการได้ยินระดับก้านสมอง (Auditory brain stem testing) เพื่อดูการทำงานของระบบการได้ยินตั้งแต่การรับเสียงผ่านหูจนถึงระดับก้านสมอง การตรวจเสียงสะท้อนของหูชั้นใน (Otoacoustic emission […]
จากตัวเลขในสถิติรายงานขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO พบว่ากว่า 466 ล้านคน จากประชากรทั่วโลกกำลังประสบปัญหาเรื่องการได้ยิน แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจยิ่งไปกว่านั้น คือ 34 ล้านคนที่กำลังประสบปัญหานี้นั้นเป็นเด็ก ซึ่ง 60%ของเด็กกลุ่มที่มีปัญหาการได้ยินเกิดจากสาเหตุที่ สามารถป้องกันได้ จากสถิติเหล่านี้จะพบว่าปัจจุบันปัญหาเรื่องการได้ยินเป็นปัญหาหนึ่งที่พบได้ทุกเพศทุกวัยทั้งนี้อาจเกิดขึ้นมาจากหลายสาเหตุแต่สิ่งที่สำคัญคือการตรวจพบตั้งแต่แรกเริ่มเพื่อทำการช่วยเหลือและฟื้นฟูการได้ยินต่อไปโดยเฉพาะในเด็กมีความจำเป็นมากที่ต้องตรวจให้พบก่อนอายุครบ 6 เดือนและต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีเพื่อให้มีพัฒนาทางภาษาและการพูดใกล้เคียงกับเด็กปกติในขณะเดียวกันหากตรวจพบล่าช้าหรือไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสมอาจส่งผลกระทบต่อการสื่อสารของเด็กในอนาคต โดยในอดีตเรามักเชื่อว่า ‘การได้ยินผิดปกติ’ […]
ในการปรับตั้งเครื่องประสาทหูเทียมนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้งานจะต้องแยกแยะเสียงและบอกผู้ปรับตั้งเครื่องว่าระดับเสียงสัญญาณที่ทำการกระตุ้นให้ฟังนั้นมีลักษณะเสียงเป็นอย่างไร เช่น เสียงเบาไป เสียงดังพอดีแล้ว หรือเสียงดังเกินไป ทั้งนี้เพื่อหาตำแหน่งที่ผู้ใช้งานรู้สึกว่าได้ยินเสียงดังพอดีในทุก ๆ ช่องสัญญาณ ซึ่งหากสามารถหาจุดที่ดังพอดีได้ครบทุกช่องสัญญาณก็จะส่งผลให้ผู้ใช้งานได้รับฟังเสียงที่มีคุณภาพ ในผู้ใช้งานที่เป็นผู้ใหญ่จะสามารถบอกระดับความดังของเสียงได้ แต่สำหรับการปรับตั้งเครื่องในเด็กนั้นส่วนใหญ่เด็กจะยังไม่สามารถบอกเรื่องเสียงดัง-เบา-พอดีได้ ดังนั้นวันนี้ผู้เขียนจึงขอแนะนำเคล็ดลับในการฝึกสอนเด็กให้รู้จักเสียงดัง-เสียงเบาให้ผู้ปกครองนำไปสอนบุตรหลานกันค่ะ สำหรับเด็กที่ไม่เคยรู้จักเรื่องเสียงดัง-เสียงเบามาก่อน แนะนำให้เริ่มต้นฝึกจากเสียงกลอง เนื่องจากเด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัสด้านอื่นๆร่วมกับการฟังเพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น ซึ่งในการใช้กลองมาสอนเรื่องดัง-เบานั้น เราจะสามารถบอกใบ้เด็กได้ผ่านท่าทางการตีที่แตกต่างกันในขณะที่ตีกลอง โดยเด็กจะเรียนรู้จากการมองเห็นไปพร้อมๆกับการฟังเสียง ซึ่งการฝึกให้ทำจากง่ายไปยาก […]
ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักมีปัญหากังวลใจกับการฝึกพูดและฝึกฟัง หลังจากที่ลูกน้อยเข้ารับการผ่าตัดประสาทหูเทียมแล้วนั้นสิ่งต่อไปที่จำเป็นไม่แพ้กันคือ “การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยิน” ซึ่งจริง ๆแล้วการผ่าตัดก็ถือเป็นการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินอย่างหนึ่ง โดยการผ่าตัดนั้นถือเป็นขั้นตอนแรกในการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน แต่การผ่าตัดเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้มีสมรรถภาพการได้ยินดีขึ้นได้อย่างเต็มที่ ฉะนั้นหลังจากการผ่าตัดประสาทหูเทียม โดยเฉพาะในกรณีเด็กที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่กำเนิด จึงต้องพัฒนาทักษะการฟังด้วยประสาทหูเทียมอยู่เสมอ ๆ เริ่มจากการฝึกฟัง เมื่อสมองสามารถจดจำเสียงต่างๆได้แล้วนั้นจะพัฒนาไปยังขั้นตอนการฝึกพูด โดยเป้าหมายในการฝึกทั้งสองอย่างนี้มีความแตกต่างกัน จะมีความแตกต่างมากน้อยเพียงใดนั้นติดตามได้จากบทความนี้เลย การแก้ไขการพูดไม่ชัด : เป็นการแก้ไขเสียงที่เด็กพูดไม่ชัดเจนโดยต้องได้รับการประเมินเสียงที่พูดไม่ชัดโดยการใช้แบบทดสอบการออกเสียงแต่ละเสียงในภาษาไทย รวมถึงประเมินโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะที่ใช้ในการพูด เช่น […]
คำถามนี้เป็นคำถามยอดฮิตที่ผู้ปกครองทุกคนสงสัยว่า “ฝ่าตัดฝังประสาทหูเทียมแล้ว ลูกจะพูดได้ทันที่เลยไหม” ก่อนอื่นต้องขออธิบายก่อนว่าหลังจากที่บุตรหลานของคุณได้รับการผ่าตัดฟังประสาทหูเทียมแล้วนั้น กลไกการเรียนรู้ภาษาและการพูดจะเริ่มต้นพัฒนาหลังจากที่เด็กได้ยินเสียง โดยเด็กจะได้รับการเปิดเครื่อง หรือ ติดตั้งเครื่องประมวลเสียงภายนอก ภายหลังการผ่าตัดประมาณ1เดือน ซึ่งหลังจากเปิดเครื่องแล้วจะมีการนัดติดตามผลและปรับตั้งค่าเสียงให้เหมาะสมเป็นระยะๆควบคู่ไปกับการฝึกฟัง ระยะเวลาของการพัฒนาทักษะทางด้านการฟังในเด็กที่ได้รับการผ่าตัดฟังประสาทหูเทียม มีดังนี้ ระหว่าง 1-3 เดือนหลังจากเปิดเครื่อง – ตระหนักรู้เสียงพูดบอกได้ว่ามีเสียงหรือไม่มีเสียงได้ – ตระหนักรู้เสียงสิ่งแวดล้อมบอกทิศทางของเสียงได้ – […]
สำหรับการฝึกกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษาและการพูดให้กับเด็กๆนั้น ส่วนมากผู้ปกครองมักคุ้นชินกับการพาลูกไปฝึกพูดฝึกฟังกับผู้เชี่ยวชาญที่โรงพยาบาล แต่อย่าลืมว่าส่วนใหญ่เด็กใช้เวลาอยู่กับผู้ปกครองมากกว่าผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่ผู้ปกครองสามารถนำคำแนะนำหรือจดจำวิธีฝึกลูกจากการสังเกตผู้เชี่ยวชาญกลับมาฝึกลูกด้วยตนเองที่บ้านหรือในสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวัน ซึ่งการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงหรือกิจวัตรประจำวันจะช่วยให้เด็กเรียนรู้และจดจำได้ง่ายกว่าในห้องฝึก วันนี้ผู้เขียนมีเคล็ดลับสำหรับผู้ปกครองมาฝากค่ะ สิ่งที่ควรจัดเตรียมก่อนทำการฝึก สภาพแวดล้อมในการฝึก : ผู้ปกครองควรจัดให้เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เงียบในช่วงแรกของการฝึก เพื่อให้เด็กได้ใช้การฟังร่วมด้วย แต่เมื่อฝึกไปได้สักระยะให้เพิ่มสภาพแวดล้อมที่มีเสียงรบกวนทีละน้อยเพราะในสภาพความเป็นจริงจะมีเสียงรบกวนเกิดขึ้นตลอดเวลา อุปกรณ์รับฟังเสียง : ก่อนเริ่มต้นฝึกผู้ปกครองต้องแน่ใจว่าเด็กใส่เครื่องช่วยฟังหรือประสาทหูเทียมอยู่ตลอดเวลา และตัวเครื่องทำงานได้ดีเป็นปกติ เพื่อให้เด็กเรียนรู้ได้ดีที่สุด สื่อที่ใช้ในการฝึก : เลือกใช้ของเล่นหรือสิ่งของที่เด็กสนใจเป็นสื่อในการฝึก […]