การสูญเสียการได้ยินมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน และสามารถที่จะได้รับการแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญทางการได้ยิน หรือถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “นักโสตสัมผัสวิทยา” ซึ่งจะเป็นผู้ช่วยเหลือทั้งด้านการค้นหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นและตั้งโปรแกรมให้กับเครื่องช่วยฟังหรือประสาทหูเทียมได้อย่างเหมาะสม

โสตวิทยาและการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยินมีการให้บริการหลากหลายด้าน ดังต่อไปนี้

การทดสอบและตรวจวินิจฉัยเกี่ยวกับการได้ยิน

  1. การตรวจประเมินการได้ยิน (Audiometry) เพื่อให้ทราบถึงลักษณะของการได้ยินและพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในหู
  2. การตรวจประเมินการได้ยินระดับก้านสมอง (Auditory brain stem testing) เพื่อดูการทำงานของระบบการได้ยินตั้งแต่การรับเสียงผ่านหูจนถึงระดับก้านสมอง
  3. การตรวจเสียงสะท้อนของหูชั้นใน (Otoacoustic emission testing) เพื่อใช้ประเมินระบบการได้ยินโดยวิธีวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน มักจะตรวจในเด็กแรกเกิด
  4. การตรวจประเมินเสียงรบกวนในหู (Tinnitus evaluation) เพื่อใช้พิจารณาระดับความรุนแรงของเสียงดังในหูที่เกิดขึ้น

การประเมินใส่เครื่องช่วยฟัง

การค้นหาเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายต้องใช้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเพื่อให้แน่ใจว่าคนไข้ทุกคนจะได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสมซึ่งประกอบด้วย

  1. การประเมินเครื่องช่วยฟัง เป็นการตรวจประเมินเพื่อพิจารณาใส่เครื่องช่วยฟังที่เหมาะสม นอกจากการตรวจประเมินเพื่อวินิจฉัยแล้วยังครอบคลุมถึงการซักประวัติ ความสามารถในการสื่อสารในปัจจุบันที่คงเหลืออยู่ รวมไปถึงลักษณะกิจวัตรประจำวันที่ได้รับผลกระทจากการสูญเสียการได้ยินอีกด้วย
  2. การติดตั้งเครื่องช่วยฟังผ่านโปรแกรม เป็นการนำผลการตรวจการได้ยินมาปรับตั้งเครื่องช่วยฟังผ่านโปรแกรม ซึ่งผู้ที่จะทำการติดตั้งโปรแกรมจะต้องมีความรู้ความชำนาญในการปรับตั้งเครื่องโดยส่วนใหญ่จะต้องผ่านการฝึกอบรมเพื่อให้สามารถปรับตั้งเครื่องให้เป็นไปตามประโยชน์สูงสุดที่คนไข้ควรได้รับ
  3. การให้บริการติดตามผลหลังใช้เครื่องช่วยฟัง หลักจากการใส่เครื่องช่วยฟังแล้วควรมีการติดตามผลทุกครั้ง เนื่องจากการประเมินและติดตั้งเครื่องช่วยฟังเป็นไปตามผลการตรวจและการประเมินในขณะที่คนไข้เพิ่งเริ่มใช้งานเครื่องเป็นครั้งแรก ดังนั้นเมื่อคนไข้มีประสบการณ์ใช้งานเครื่องเพิ่มมากขึ้นอาจจะพบบางปัญหาที่จะต้องได้รับการแก้ไขโดยผู้เชี่ยวชาญ การบริการติดตามผลจึงมีความสำคัญมากต่อผู้ใช้อุปกรณ์เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประสิทธิภาพจากเครื่องช่วยฟังสูงสุด

ซึ่งขั้นตอนการให้บริการเหล่านี้จะต้องมีการให้ความรู้ความเข้าใจกับตัวคนไข้และครอบครัวของคนไข้เพื่อให้สามารถดำเนินการฟื้นฟูการได้ยินเป๋นไปตามทิศทางที่ถูกต้องได้อย่างเหมาะสม

การบริการด้านประสาทหูเทียม

สำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยินขั้นรุนแรงจนมีผลกระทบต่อการสื่อสารและไม่ได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่องช่วยฟังอีกทางเลือกหนึ่งคือการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมซึ่งปัจจุบันพบว่ามีผู้ที่สูญเสียการได้ยินในกลุ่มนี้จำนวนมากขึ้นงานบริการด้านนี้จึงมีความจำเป็นต่อบุคคลกลุ่มนี้นอกจากจะช่วยให้กลับมาได้ยินใกล้เคียงปกติอีกครั้งยังช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นอีกด้วย

ประสาทหูเทียมเป็นอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ชนิดหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อฟื้นฟูระดับการได้ยินที่รุนแรงประสาทหูเทียมจะทำหน้าที่แทนหูชั้นในโดยการส่งกระแสไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นประสาทหูโดยตรงซึ่งแตกต่างจากเครื่องช่วยฟังที่ทำหน้าที่ขยายเสียงและส่งเข้าไปให้ชั้นในได้ทำงานตามสภาพที่เหลืออยู่การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมในปัจจุบันมีเทคโนโลยีและความก้าวหน้าอย่างมากในด้านการประมวลสัญญาณที่ส่งข้อมูลได้มากกว่าและรวดเร็วกว่าถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีระบบการทำงานที่ซับซ้อนเพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่สมบูรณ์

การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยิน

ในขณะที่การใช้เครื่องช่วยฟังหรือประสาทหูเทียมสามารถใช้ให้ผู้ใช้ตรวจจับเสียงต่างๆได้ดีขึ้นแต่การทำความเข้าใจและแปลความหมายเสียงเหล่านั้นยังคงเป็นหน้าที่ของระบบประสาทดังนั้นหลังการใช้อุปกรณ์ช่วยฟังเหล่านี้จะต้องมีการฟื้นฟูการได้ยินเพื่อทำให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากเครื่องช่วยฟังหรือประสาทหูเทียมการฟื้นฟูดังกล่าวจึงมุ่งเน้นความสามารถดังต่อไปนี้

  1. การตรวจจับเสียงรวามถึงการแยกเสียงคำพูดออกจากเสียงสิ่งแวดล้อม
  2. การเรียนรู้ที่จะแยกแยะลักษณะของเสียง
  3. การระบุเสียงและสร้างความเฉพาะเจาะจงของเสียงที่ได้ยิน
  4. ความเข้าใจเสียงที่ได้ยิน
  5. การสื่อสารในชีวิตประจำวัน
Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *