งานประชุมวิชาการ 8th Asia Pacific Otology/Neurotology หน่วยโสตประสาท โสตสัมผัสและอรรถบำบัดวิทยา ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมวิชาการ “8th Asia Pacific Otology/Neurotology” ระหว่างวันที่ 5 – […]
อาการเสียงดังในหู คืออะไร? ฉันได้ยินเสียงดังจากในหู ฉันควรทำอย่างไร? คนรอบข้างของคุณได้ยินเหมือนกันหรือไม่? ไม่? แสดงว่าคุณมีอาการเสียงดังในหู อาการเสียงดังในหู คือ การที่คุณได้ยินเสียงแต่ในความจริงแล้วไม่มีเสียงใดๆเกิดขึ้น ซึ่งเกิดจากการสร้างเสียงขึ้นมาเองจากเส้นประสาทการได้ยิน เสียงที่เกิดขึ้นจากอาการเสียงดังในหูมีหลากหลายรูปแบบ เช่น เสียงกริ๊ง เสียงฮัม เสียงจิ้งหรีด หรือเสียงน้ำตก ซึ่งอาการนี้สามารถเกิดขึ้นชั่วคราวแค่ 1-2 วินาทีขณะที่อยู่ภายในห้องเงียบๆ […]
เด็กกับการสูญเสียการได้ยิน บุตรหลานของฉันมีการสูญเสียการได้ยิน ควรทำอย่างไรดี? โรงพยาบาลส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะทำการตรวจการได้ยินให้กับทารกแรกเกิดภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากคลอด หรือที่รู้จักกันว่า การตรวจคัดกรองการได้ยินสำหรับทารกแรกเกิด หากทารกที่ตรวจแล้วพบว่ามีความผิดปกติทางการได้ยินหรือมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน จะต้องทำนัดหมายเพื่อตรวจการได้ยินซ้ำอีกครั้งจากทางโรงพยาบาล อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีเด็กอาจจะมีอาการแสดงของการสูญเสียการได้ยินในภายหลัง โดยสาเหตุจากการสูญเสียการได้ยินของเด็กนั้นอาจจะเป็นถาวรหรือชั่วคราวก็ได้ซึ่งเป็นผลมาจาก: พันธุกรรม การคลอดที่ผิดปกติ การคลอดก่อนกำหนด การไม่ดูแลสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ (เช่น การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์) ผลข้างเคียงจากยา […]
สุขภาพการได้ยิน การสูญเสียการได้ยินในประเทศไทย อาจจะเป็นการสืบลักษณะทางกรรมพันธุ์ การติดเชื้อโรคหัดเยอรมันของแม่หรือโรคแทรกซ้อนเมื่อแรกเกิด โรคติดเชื้อบางชนิด เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อในหูแบบเรื้อรัง การใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู การสัมผัสกับเสียงดัง และความชรา ครึ่งหนึ่งของผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยินสามารถจะหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหานี้ได้โดยการป้องกันเบื้องต้น คนที่มีการสูญเสียการได้ยินสามารถใช้อุปกรณ์ช่วยได้ เช่น เครื่องช่วยฟัง อุปกรณ์ช่วยฟัง และประสาทหูเทียม และอาศัยการอ่านคำบรรยายภาพ การฝึกใช้ภาษามือและความช่วยเหลือทางการศึกษาและทางสังคม องค์การอนามัยโลก […]
เราได้ยินได้อย่างไร? การได้ยินเป็นหนึ่งในประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนด้วยการนำเอาเสียงมาเชื่อมโยงกับความหมาย ความสามารถในการได้ยินเป็นสิ่งจำเป็นในการทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา การได้ยินของมนุษย์เจริญสมบูรณ์ตั้งแต่เกิด สามารถตอบสนองต่อเสียงเบาๆ จนถึงเสียงที่ดังมากๆ แม้กระทั่งทารกขณะอยู่ในครรภ์มารดาก็สามารถตอบสนองต่อเสียงได้ เราสามารถแบ่งโครงสร้างหูออกเป็นสามส่วนได้ดังนี้: หูชั้นนอก หูชั้นกลาง หูชั้นใน หูชั้นนอกประกอบด้วย ใบหู ช่องหู และเยื่อแก้วหู เสียงจะเดินทางผ่านช่องหูไปยังเยื่อแก้วหูและทำให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือสั่นสะเทือนของเยื่อแก้วหู หูชั้นกลางเป็นช่องว่างด้านหลังของเยื่อแก้วหู ที่มีกระดูกเล็ก […]
5 เคล็ดลับกับการเลือกเครื่องช่วยฟังอย่างชาญฉลาด การเลือกเครื่องช่วยฟังได้อย่างเหมาะสม จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับผู้ที่กำลังตัดสินใจหรืออาจจะลังเลกับการเลือกเครื่องช่วยฟังอยู่ อย่างไรก็ตาม เราแนะนำให้ท่านเข้ารับคำปรึกษาและตรวจการได้ยินจากผู้เชี่ยวชาญหรือนักแก้ไขการได้ยินก่อนการตัดสินใจซื้อเครื่องช่วยฟัง ซึ่งจะทำให้ท่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและได้เครื่องช่วยฟังที่ตรงกับการได้ยินของท่านมากที่สุด   1. ใส่แล้วต้องฟังสบาย การเลือกเครื่องช่วยฟังให้มีเสียงดังพอดีนั้น พิจารณาจากกำลังขยายของตัวเครื่องช่วยฟัง หากเครื่องช่วยฟังมีกำลังขยายเหมาะสมกับระดับการสูญเสียการได้ยินของผู้ใช้งานก็จะสามารถขยายเสียงให้ผู้ใช้งานได้ยินเสียงดังพอดีและฟังสบายได้ ในการเลือกเครื่องช่วยฟัง นักแก้ไขการได้ยินจะใช้ผลตรวจการได้ยินมาคำนวณเพื่อเลือกเครื่องช่วยฟังให้มีกำลังขยายเหมาะสม ซึ่งควรเป็นผลตรวจการได้ยินปัจจุบัน หรือหากเป็นผลเก่าควรมีอายุไม่เกิน 6 เดือนแต่ในกรณีนี้การได้ยินต้องคงเดิม ซึ่งหากท่านไม่มั่นใจว่าการได้ยินเปลี่ยนแปลงจากเดิมหรือไม่นั้น […]