หนึ่งในกิจวัตรในชีวิตของผู้ใช้ประสาทหูเทียมคือ ต้องติดต่อทางศูนย์ประสาทหูเทียมทั้งเพื่อทำการปรับตั้งโปรแกรม การฝึกฟื้นฟูการได้ยิน การเช็คเครื่องประสาทหูเทียม ติดต่อซื้ออะไหล่และการส่งเครื่องซ่อมแซม ผู้ใช้ประสาทหูเทียมของ Medel จะได้รับการบริการในแต่ละด้านโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น นักแก้ไขการได้ยินจะเป็นผู้ปรับโปรแกรม ตรวจเช็คการได้ยิน และฟื้นฟูสมรรถภาพการฟังเป็นระยะหลังผ่าตัด วิศวกรด้านไฟฟ้าจะเป็นผู้ตรวจสอบเครื่องประสาทหูเทียมและทำการแก้ไขปัญหาที่พบอย่างตรงจุด นักแก้ไขการพูดและครูการศึกษาพิเศษจะช่วยกันวางแผนการฟื้นฟูพัฒนาการด้านภาษา และ การพูด การที่ผู้ใช้ประสาทหูเทียมจะสามารถได้ยินชัดเจนส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยจากการตั้งโปรแกรมภายในเครื่องประสาทหูเทียม การตั้งโปรแกรมนี้มีความสำคัญในการประมวลเสียงที่เข้าสู่เครื่องแล้วส่งสัญญาณไปกระตุ้นระบบประสาท หากได้รับการปรับตั้งโปรแกรมที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลให้การได้ยินหลังผ่าตัดไม่ชัดเจน […]
หลายๆ ครอบครัวคงมีแพลนเดินทางไปไหว้พระหรือพบปะญาติผู้ใหญ่ในวันหยุด เราจึงรวบรวมกิจกรรมฝึกทักษะการฟังในระหว่างการเดินทางเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้แก่ผู้ปกครองทุกท่านลองนำไปใช้ จะมีอะไรบ้างมาดูกัน 1.สังเกตสถานที่ต่าง ๆ รอบ ๆ ตัว ในระหว่างการเดินทางให้ผู้ปกครองพูดถึงสถานที่ที่จะพาน้อง ๆ ไปเที่ยว หรือ สถานที่ต่าง ๆ ที่ผ่านตาระหว่างการเดินทาง เช่น ป้ายจอดรถประจำทาง สถานีรถไฟ […]
หลายๆท่านอาจจะมีความกังวลว่า หากใช้ชุดประสาทหูเทียมแล้ว จะสามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้หรือไม่? คำตอบของเราก็คือ ได้!!! โดยในขณะที่เครื่องบินขึ้นและเครื่องบินลงนั้น สายการบินจะขอให้ท่านปิดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนการทำงานระบบเครื่องมือสื่อสารของเครื่องบิน ซึ่งเครื่องประมวลเสียงของท่าน ก็นับเป็นอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ชนิดหนึ่ง ดังนั้นในขณะที่เครื่องบินกำลังขึ้นหรือลง ท่านควรที่จะปิดสวิตซ์เครื่องประมวลเสียงของท่านในช่วงเวลาดังกล่าว โดยท่านอาจจะติดต่อสายการบินเพื่อขอทราบในกฎระเบียบต่างๆ เพิ่มเติมจากสายการบินที่ท่านใช้บริการล่วงหน้า และถ้าหากท่านต้องการถอดหรือปิดการใช้งานเครื่องประมวลเสียงของท่านตลอดระยะเวลาการเดินทางบนเครื่องบิน ให้ท่านแจ้งกับพนักงานบริการบนเครื่องบินว่า ท่านเป็นผู้ใช้ชุดประสาทหูเทียม […]
การทดสอบเสียง Six Ling Sound เป็นกิจกรรมง่าย ๆ ที่แนะนำให้ผู้ปกครองทำทุกครั้งที่ใส่เครื่องประสาทหูเทียมให้กับบุตรหลาน เพื่อตรวจสอบว่าบุตรหลานของคุณได้ยินเสียงพูดครบทั้งหมดหรือไม่ เพื่อความแน่ใจว่าบุตรหลานของคุณสามารถรับเสียงคำพูดได้ครบทุกเสียง มีระดับการได้ยินที่รับเสียงได้ครอบคลุมช่วงความถี่เสียงพูดทั้งหมด พร้อมที่จะฟังเสียงและเรียนรู้ภาษาพูดโดยใช้ประโยชน์สูงสุดจากเครื่องประสาทหูเทียมของพวกเขา เสียง Six Ling Sound ประกอบด้วยเสียง ” อา , อู […]
วันนี้เรามาดูวิธีการเช็กแบตเตอรรี่กันนะคะ ว่าแบตเตอรี่ของเราหมดหรือยังคงเต็มอยู่ และอย่างที่เราทราบกันดี แบตเตอรี่เครื่องช่วยฟังโดยทั่วไปจะมีทั้งหมด 4 รุ่น นั้นก็คือ… แบตเตอรี่เบอร์ 10 แบตเตอรี่เบอร์ 13 แบตเตอรี่เบอร์ 312 แบตเตอรี่เบอร์ 675 ส่วนวิธีการเช็กว่าแบตของคุณหมดหรือยังเราไปดูคลิปด้านล่างนี้กันเลยนะคะ….
ทักษะการฟังและการพูดถือเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิต การฝึกให้เด็กสามารถพูดได้ชัดเจนจะทำให้เขาสามารถสื่อสารความคิด ความอ่าน หรือ แม้แต่ความกังวลใจของตัวเองกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดีผ่านการแสดงออกทางภาษา และนี่คือ เคล็ดลับ 7 ข้อในการพัฒนาทักษะการพูดในเด็ก 1. การเข้าถึงเสียงให้เหมาะสมที่สุด การเข้าถึงเสียงเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนา, สร้างเสริมทักษะการพูด การฟัง เพราะเด็กเรียนรู้ที่จะพูดจากเสียงหรือคำที่เขาได้ยินได้อย่างชัดเจน การได้ยินเสียงในความถี่ที่ต่างกัน เช่น ความถี่สูง, กลาง หรือ […]
การทดสอบการได้ยินในเด็กเป็นสิ่งสำคัญจึงต้องใช้วิธีการที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงอายุ, ความสามารถและความสนใจของเด็ก ซึ่งผู้ตรวจจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กจากการสังเกตหรือสอบถามผู้ปกครองและคนใกล้ชิด โดยขณะตรวจอาจต้องอาศัยการร่วมมือของตัวเด็กหรืออาจใช้การเล่นร่วมกับนักโสตสัมผัส และยังมีการทดสอบบางประเภทที่เด็กจะต้องเงียบ นิ่ง หรือนอนหลับสนิทขณะตรวจ นักโสตสัมผัสที่ทำการประเมินจะต้องมีประสบการณ์ในการประเมินการได้ยินในเด็กโดยวิธีการที่เลือกใช้จะขึ้นอยู่กับการสังเกตเด็กในคลินิกและข้อมูลที่ได้รับจากผู้ปกครอง การตรวจเสียงสะท้อนของหูชั้นใน (OAE) เป็นการประเมินการทำงานของหูชั้นใน โดยใช้จุกอุดหูแล้วปล่อยเสียงเข้าไปในช่องหูแล้วตรวจวัดคลื่นที่ตอบสนองกลับมา เป็นการทดสอบที่รวดเร็วและให้ผลลัพธ์ได้ทันที แต่จะต้องตรวจสภาพหูชั้นนอกและหูชั้นกลางของเด็กเพื่อให้แน่ใจว่าผลลัพธ์ที่ได้เป็นการทำงานเฉพาะหูชั้นในเท่านั้น การตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง (Click ABR) เป็นการประเมินการได้ยินโดยวัดการตอบสนองของระบบประสาท โดยจะปล่อยเสียงเข้าทางช่องหูและวัดกระแสประสาทที่เกิดขึ้นขณะปล่อยเสียง […]
นักโสตสัมผัสวิทยาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวินิจฉัยและตรวจสอบความผิดปกติของระบบการได้ยินในส่วนของการรับรู้ไปจนถึงการแปลความหมายของเสียง นักโสตวิทยาจะได้รับการฝึกฝนให้สามารถวินิจฉัย วิเคราะห์ผลการตรวจร่วมกับอาการที่เกิดขึ้นไปจนถึงผลกระทบที่เกิดจากความผิดปกติของระบบการได้ยิน รวมถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินและความผิดปกติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ช่วยเหลือโดยการใช้เครื่องช่วยฟังและประเมินผู้ที่ต้องใช้ประสาทหูเทียม ให้คำปรึกษาและแนะนำบุคคลและ/หรือสมาชิกในครอบครัวผ่านกระบวนการที่มีเสถียรภาพ โดยการสอนทักษะการเผชิญปัญหา รวมทั้งสร้างโปรแกรมการอนุรักษ์การได้ยินสำหรับผู้ที่อยู่ในเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน นอกจากนี้นักโสตสัมผัสวิทยาหลายคนทำงานในฐานะนักวิชาการด้านการได้ยิน นักโสตสัมผัสวิทยาจะให้บริการอย่างมืออาชีพและเป็นส่วนตัวเพื่อลดผลกระทบเชิงลบของความผิดปกตินำไปสู่ผลลัพธ์และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หน้าที่ของนักโสตสัมผัสวิทยา ประเมินและวินิจฉัยการสูญเสียการได้ยินและการทรงตัว ให้บริการด้านการใส่เครื่องช่วยฟังในผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยินให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีและกำลังขยายของเครื่องช่วยฟัง ร่วมคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมในการใช้ประสาทหูเทียมกับทีมผู้เชี่ยวชาญ ออกแบบและดำเนินโครงการอนุรักษ์การได้ยิน ออกแบบและดำเนินโปรแกรมการตรวจคัดกรองการได้ยินทารกแรกเกิด จัดฝึกอบรมการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน เช่น […]
คนเรามีหูเพื่อรับฟังเสียงต่างๆ หูมีส่วนประกอบ 3 ชั้น คือ 1.หูชั้นนอก 2.หูชั้นกลาง 3.หูชั้นใน 1.หูชั้นนอก ทำหน้าที่รวบรวมเสียงเพื่อเข้าสู่หูชั้นกลาง หูชั้นนอกประกอบด้วยใบหูและรูหู โดยรูหูส่วนนอกมีโครงเป็นกระดูกอ่อน ส่วนรูหูส่วนเป็นผิวหนังบางๆวางบนกระดูก ทำให้รูหูส่วนนี้บาดเจ็บได้ง่ายจากการปั่นหรือแคะหู ใบหู สามารถล้างทำความสะอาดด้วยสบู่ได้ ไม่ควรเจาะหูนอกจากบริเวณติ่งหู เพราะอาจจะเจาะโดนส่วนของกระดูกอ่อนที่เป็นโครงของใบหู […]