ขั้นตอนการเบิกเครื่องช่วยฟังตามแต่ละสิทธิ (ตอนที่ 3) สำหรับผู้ใช้สิทธิข้าราชการ (แบบเบิกได้ จ่ายตรง) ขั้นตอนการเบิก เมื่อตรวจพบว่ามีการสูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียงตั้งแต่ 40 เดซิเบล และแพทย์พิจารณาว่าสมควรใช้เครื่องช่วยฟัง แพทย์จะออกใบสั่งยาและ/หรือใบ order แพทย์ ลองและเลือกเครื่องช่วยฟังตามระดับที่สูญเสียการได้ยินตามผลตรวจ Audiogram ลงบันทึกใน OPD Card ซึ่งประกอบด้วย ผลการตรวจการได้ยิน […]
ขั้นตอนการเบิกเครื่องช่วยฟังตามแต่ละสิทธิ (ตอนที่ 2) สำหรับผู้ใช้สิทธิประกันสังคม (แบบสำรองจ่าย) เมื่อตรวจพบว่ามีการสูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียงตั้งแต่ 40 เดซิเบล และแพทย์พิจารณาว่าสมควรใช้เครื่องช่วยฟัง แพทย์จะออกใบสั่งยาและ/หรือใบ order แพทย์ ว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟัง ลองและเลือกเครื่องช่วยฟังตามระดับที่สูญเสียการได้ยินตามผลตรวจ Audiogram ลงบันทึกใน แฟ้มประวัติผู้ป่วย ซึ่งประกอบด้วย ผลการตรวจการได้ยิน ผลการประเมินการใช้เครื่องช่วยฟัง […]
ขั้นตอนการเบิกเครื่องช่วยฟังตามแต่ละสิทธิ (ตอนที่ 1) สำหรับผู้ใช้สิทธิ 30 บาท เมื่อตรวจพบว่ามีการสูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียงตั้งแต่ 40 เดซิเบล แพทย์จะออกใบรับรองความพิการ ผู้ป่วยนำใบรับรองความพิการไปขึ้นทะเบียนคนพิการ (ท.74 บัตรทองผู้พิการ)ที่สำนักงานเขต หมายเหตุ: หากเป็นผู้ที่มีบัตรทองหรือขึ้นทะเบียนคนพิการอยู่แล้ว จะต้องตรวจสอบว่าเป็น ท.74 บัตรทองผู้พิการถ้าไม่ใช่ต้องขอใบรับรองความพิการจากแพทย์เพื่อขึ้นทะเบียนคนพิการ ท.74 บัตรทองผู้พิการ […]
สำหรับการฝึกกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษาและการพูดให้กับเด็กๆนั้น ส่วนมากผู้ปกครองมักคุ้นชินกับการพาลูกไปฝึกพูดฝึกฟังกับผู้เชี่ยวชาญที่โรงพยาบาล แต่อย่าลืมว่าส่วนใหญ่เด็กใช้เวลาอยู่กับผู้ปกครองมากกว่าผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่ผู้ปกครองสามารถนำคำแนะนำหรือจดจำวิธีฝึกลูกจากการสังเกตผู้เชี่ยวชาญกลับมาฝึกลูกด้วยตนเองที่บ้านหรือในสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวัน ซึ่งการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงหรือกิจวัตรประจำวันจะช่วยให้เด็กเรียนรู้และจดจำได้ง่ายกว่าในห้องฝึก วันนี้ผู้เขียนมีเคล็ดลับสำหรับผู้ปกครองมาฝากค่ะ สิ่งที่ควรจัดเตรียมก่อนทำการฝึก สภาพแวดล้อมในการฝึก : ผู้ปกครองควรจัดให้เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เงียบในช่วงแรกของการฝึก เพื่อให้เด็กได้ใช้การฟังร่วมด้วย แต่เมื่อฝึกไปได้สักระยะให้เพิ่มสภาพแวดล้อมที่มีเสียงรบกวนทีละน้อยเพราะในสภาพความเป็นจริงจะมีเสียงรบกวนเกิดขึ้นตลอดเวลา อุปกรณ์รับฟังเสียง : ก่อนเริ่มต้นฝึกผู้ปกครองต้องแน่ใจว่าเด็กใส่เครื่องช่วยฟังหรือประสาทหูเทียมอยู่ตลอดเวลา และตัวเครื่องทำงานได้ดีเป็นปกติ เพื่อให้เด็กเรียนรู้ได้ดีที่สุด สื่อที่ใช้ในการฝึก : เลือกใช้ของเล่นหรือสิ่งของที่เด็กสนใจเป็นสื่อในการฝึก […]
ABR หรือ Auditory Brainstem Response เป็นการตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง เพื่อทดสอบการทำงานของ neuroauditory pathway สามารถทำการตรวจได้โดยไม่ต้องใช้การตอบสนองจากผู้ป่วย ผู้เข้ารับการตรวจแค่เพียงนอนนิ่งๆ ฟังเสียงสัญญาณการตรวจ ผลตรวจจะแสดงออกเป็นกราฟ ซึ่งสามารถใช้ในการประเมินระดับการได้ยิน หรือใช้แยกพยาธิสภาพระหว่างหูชั้นในกับเส้นประสาทหรือสมองได้ สำหรับการตรวจ ABR ในเด็ก จะต้องมีการให้ยาที่มีฤทธิ์ทำให้เด็กง่วงและนอนหลับได้ตลอดการตรวจ ซึ่งในเด็กบางรายมีพฤติกรรมต่อต้าน […]
โรคหูดับฉับพลัน คือ การที่ประสาทหูเกิดการเสื่อมแบบทันทีทันใด ซึ่งส่วนใหญ่มักไม่ทราบสาเหตุ ผู้ที่เป็นโรคนี้อาจมีอาการเพียงเล็กน้อยเช่น รู้สึกได้ยินน้อยลงเล็กน้อย หรือในบางรายอาจจะมีการสูญเสียการได้ยินมากจนรู้สึกว่าหูข้างที่เป็นนั้นไม่ได้ยินเสียงเลยก็ได้ ในบางรายอาจเป็นเพียงชั่วคราว ยกตัวอย่างเช่น ไปได้ยินเสียงดังๆมาจนทำให้หูอื้อ และหลังจากนั้นไม่นาน หรือเว้นระยะเวลาสักพักก็หายอื้อไปเอง รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแอสไพริน, ยาขับปัสสาวะ แล้วหูอื้อ เมื่อยาดังกล่าวหมดฤทธิ์ อาการหูอื้อดังกล่าวจะหายไป แต่ในบางรายมีอาการเกิดขึ้นแต่ปล่อยทิ้งไว้ […]
หากคุณกำลังสงสัยว่า เครื่องประมวลเสียง SAMBA สามารถเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าได้หรือไม่? ขอบอกว่า เพียงแค่คุณกดปุ่มด้วยรีโมทคอนโทรล SAMBA คุณก็สามารถเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าเบื้องต้นด้วยตนเองได้วันนี้เราจึงขอแนะนำให้คุณรู้จักกับ รีโมทคอนโทรล SAMBA สวิตช์สำหรับล็อคปุ่มบนรีโมทคอนโทรล ปุ่มควบคุมบนรีโมทคอนโทรล ปุ่มเปลี่ยนโปรแกรม ปุ่มเพิ่ม / ลดระดับเสียง หน้าจอแสดงผล