ยาหยอดหูที่มีส่วนของยาที่มีพิษต่อหู เนื่องจากการใช้ยาหยอดหูฆ่าเชื้อหลายๆครั้งมีส่วนประกอบของยาที่มีพิษต่อระบบประสาทหู แต่อุบัติการณ์ของพิษต่อหูจากการให้ยาหยอดหูมีข้อมูลจำกัด จึงได้มีข้อแนะนำว่าหากเยื่อแก้วหูของผู้ป่วยไม่ฉีกขาด สามารถใช้ยาหยอดหูในกลุ่มนี้ได้ แต่ให้หยุดใช้ทันทีหากมีอาการเริ่มดีขึ้นไม่ให้ใช้ต่อเนื่องในระยะยาว ซึ่งมีการศึกษาการใช้ยากลุ่มนี้ระยะสั้นประมาณ 2 สัปดาห์ให้กลุ่มเด็กที่ได้รับการผ่านตัดเจาะเยื่อแก้วหูและใส่ท่อระบาย ไม่พบความผิดปกติของการได้ยินเสียงแต่อย่างใด แต่หากว่าเริ่มมีอาการเกี่ยวกับพิษต่อระบบประสาทหูเช่น หูอื้อ ได้ยินเสียงในหู หรือวิงเวียนขึ้น ให้กลับมาพบแพทย์ผู้ให้การรักษาเพื่อประเมินอาการที่เกิดขึ้นเพื่อปรับเปลี่ยนยาที่ไม่มีพิษต่อระบบประสาทหูให้แทน วิธีการป้องกันพิษจากยาหยอดหูที่มีพิษ ยาหลายชนิดในกลุ่มนี้หลายตัวมีความจำเป็นต้องใช้ ผู้ใช้ควรต้องตรวจระดับการได้ยินในคลื่นเสียงความถี่สูงก่อนเริ่มทำการรักษาและประเมินการได้ยินเป็นระยะ หากพบความผิดปกติเกิดขึ้นให้หยุดยา การปรับเปลี่ยนตัวยา […]
  การสูญเสียการได้ยินที่เกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่มักจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อคุณภาพชีวิต ผลกระทบนี้เกิดจากความยากลำบากในการรับฟังเสียงคำพูดและการสื่อสารทำให้เกิดข้อจำกัดในด้านการมีส่วนร่วมในสังคม ด้านความบันเทิงและการพักผ่อนหย่อนใจ การสูญเสียที่เกิดขึ้นจำเป็นจะต้องได้รับการฟื้นฟู หากแต่เป้าหมายของการฟื้นฟูมิใช่การได้ยินที่กลับคืนสู่ปกติเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตโดยการลดข้อจำกัดที่เกิดขึ้นเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น การฟื้นฟูการได้ยินจะแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ การจัดการทางระบบประสาทสัมผัสเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการฟัง การให้คำแนะนำในด้านการจัดการเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการฟัง การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้เสียงคำพูดและการสื่อสาร การให้คำแนะนำเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมรวมถึงการจัดการด้านอารมณ์และการปฏิบัติที่เหมาะสมกับข้อจำกัดที่เกิดขึ้น แนวคิดของการฟื้นฟูทางด้านการฟังสำหรับผู้ใหญ่นั้นถือเป็น การลดการขาดดุลที่เกิดจากการสูญเสียการได้ยินที่มีผลกระทบต่อการทำงาน กิจกรรมในการเข้าสังคมและคุณภาพชีวิต ผ่านการฝึกอบรมการรับรู้ทางเสียงและการให้คำปรึกษาที่ถูกต้อง คำจำกัดความนี้ได้พัฒนามาจากองค์การอนามัยโลก […]
  เครื่องช่วยฟังเป็นอุปกรณ์ช่วยเหลือสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางการได้ยิน ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้สามารถเข้าถึงเครื่องช่วยเหลือชนิดนี้ได้ในทุกสิทธิการรักษา ได้แก่  สิทธิข้าราชการ สิทธิประกันสังคม และสิทธิบัตรทองผู้พิการ แต่ละสิทธิจะมีข้อกำหนดในการเบิกเครื่องช่วยฟังที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1. สิทธิข้าราชการ เป็นสวัสดิการสำหรับผู้ที่รับราชการ ซึ่งสามารถใช้บัตรประชาชนหรือบัตรข้าราชการในการยืนยันสิทธิดังกล่าว เมื่อตรวจพบว่ามีการสูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียงตั้งแต่ 40 เดซิเบลขึ้นไป และแพทย์พิจารณาว่าสมควรใช้เครื่องช่วยฟัง แพทย์จะออกใบสั่งยาและ/หรือใบ order แพทย์ […]
เมื่อพูดถึงการรักษาสิ่งที่ทุกคนนึกถึงคงเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก “ยา” ในปัจจุบันยามีให้เลือกมากมายหลากหลายชนิดเพื่อให้ครอบคลุมการรักษาโรคภัยต่างๆ ที่นับวันดูเหมือนจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การใช้ยาให้เหมาะสมจึงเป็นเรื่องสำคัญ การใช้ยาในปริมาณที่มากเกินไป ผิดวิธี ผิดระยะเวลา อาจจะเปลี่ยนจากการรักษาเป็นผลเสียได้โดยพิษต่อระบบประสาทหูอาจเกิดขึ้นได้จากการใช้ยาหรือสารต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อระบบหูชั้นในหรือเส้นประสาทที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน รูปแบบอาการที่สามารถเกิดได้ เช่น ได้ยินเสียงดังในหู วิงเวียนบ้านหมุน ได้ยินเสียงดังมากกว่าปกติ หรือ หูตึง พิษจากการใช้ยาที่มีผลต่อระบบประสาทหูนั้นอาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วหรือค่อยๆเกิดขึ้นก็ได้ โดยมีโอกาสที่พิษนั้นจะคงอยู่ในระบบประสาทหูอย่างถาวรได้ด้วยเช่นกัน กลุ่มอาการพิษต่อหูสามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ […]
เมื่อเรามีอายุเพิ่มขึ้นอวัยวะต่างๆในร่างกายของเราก็จะเริ่มเสื่อมไปตามวัย หลายๆส่วนของร่างกายเราอาจจะเริ่มหย่อนคล้อยลงเรื่อยๆตามวัยที่เพิ่มขึ้น แต่หูกลับตรงกันข้ามเพราะเมื่อเราอายุมากขึ้นหูอาจจะตึงก็เป็นได้ ดังนั้นเราจึงควรตรวจเช็คระดับการได้ยินอยู่เสมอเพื่อตรวจสอบว่าการได้ยินเราอยู่ในระดับปกติหรือไม่ ซึ่ง ในปัจจุบันโรงพยาบาลชั้นนำหลายแห่งได้เพิ่มรายการตรวจการได้ยินในแพ็คเกจตรวจสุขภาพประจำปีอีกด้วย แล้วใครบ้างที่ควรตรวจการได้ยิน ? โดยทั่วไปผู้ที่ควรได้รับการตรวจการได้ยิน ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน เช่น การได้ยินลดลง .มีอาการหูอื้อ , มีเสียงรบกวนในหู , หูได้ยินเสียงไม่ชัดเจน , หูสองข้างได้ยินไม่เท่ากัน  […]
  การตรวจการได้ยินมีหลายรูปแบบ ซึ่งหากแบ่งตามวัตถุประสงค์ของการตรวจจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจได้โดยง่าย ดังต่อไปนี้ค่ะ ตรวจเพื่อคัดกรองการได้ยิน ตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค สำหรับบทความนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะการตรวจเพื่อคัดกรองการได้ยินก่อน โดยการตรวจเพื่อคัดกรองการได้ยินเบื้องต้นเป็นการตรวจว่าผู้ที่ได้รับการตรวจมีระดับการได้ยินปกติหรือไม่ ซึ่งวิธีการตรวจก็จะมีความแตกต่างกันไปทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ 1. ในเด็กแรกเกิดหรือเด็กเล็กๆ จะใช้วิธีตรวจวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน (Otoacoustic emission : OAEs) เป็นการตรวจวัดเสียงสะท้อนจากเซลล์ขนภายในหูชั้นใน […]
ก่อนอื่นเรามารู้จักกับ MRI กันก่อน MRI (Magnetic Resonance Imaging) คือ เครื่องตรวจร่างกายโดยการสร้างภาพเหมือนจริง ของส่วนต่างๆของร่างกาย โดยใช้สนามแม่เหล็กความเข้มสูง และคลื่นความถี่ในย่านความถี่วิทยุ(Radio Frequency) จากนั้นนำมาประมวลผลและสร้างเป็นภาพโดยคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถให้รายละเอียดและความคมชัดเสมือนการตัดร่างกายออกเป็นแผ่นๆ โดยที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆต่อผู้รับการตรวจ ซึ่งจะทำให้แพทย์สามารถมองจุดที่ผิดปกติในร่างกายคนเราได้อย่างละเอียด และวางแผนการรักษาได้ หากคุณใช้ประสาทหูเทียม MED-EL […]
หนึ่งในคำถามที่พบบ่อยๆ ในการผ่าตัดประสาทหูเทียม วันนี้จึงขออธิบายเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินอย่างง่าย ๆ ให้ทุกคนเข้าใจกัน จริง ๆแล้วการผ่าตัดก็ถือเป็นการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน หรือ Rehabilitation อย่างหนึ่ง โดยการผ่าตัดนั้นถือเป็นขั้นตอนแรกในการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน แต่การผ่าตัดเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ผู้ที่สูญเสียการได้ยินมีสมรรถภาพการได้ยินดีขึ้นได้อย่างเต็มที่ ฉะนั้นหลังจากการผ่าตัดประสาทหูเทียม ผู้ที่สูญเสียการได้ยิน โดยเฉพาะในกรณีเด็กที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่กำเนิด จึงต้องพัฒนาทักษะการฟังด้วยประสาทหูเทียมอยู่เสมอ ๆ เพื่อช่วยให้สมองทำความเข้าใจ เรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงกับเสียง ทำให้ทักษะการฟังและการสื่อสารพัฒนาขึ้นตามลำดับ โดยการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินสามารถทำได้ผ่านการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันต่างๆเช่น […]
คุยกับ “คุณชัยณรงค์ รุ่งสวัสดีทรัพย์” เจ้าของบริษัทแสงชัยยนตราการ ว่าด้วยการผ่าตัดประสาทหูเทียมในวัย 58 ปี ย้อนกลับไปเมื่อ 49 ปีที่แล้ว ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นสถานที่ที่ผมและเพื่อนๆชอบไปกระโดดเล่นน้ำเป็นประจำ ในตอนนั้นเราก็เป็นแค่วัยรุ่นคนหนึ่งที่เล่นเพื่อความสนุกโดยไม่คิดว่าสุดท้ายแล้ว การเล่นน้ำจะส่งผลกระทบกับการได้ยินของเรา ผลจากการเล่นน้ำเป็นประจำส่งผลให้ผมเป็นหูน้ำหนวกจึงไปหาหมอเพื่อทำการรักษา อาการที่ว่าก็ดีขึ้น แต่ก็ไปโดนน้ำอีกทำให้อาการกลับมาเป็นๆหายๆ เราก็รักษาไปเรื่อยจนผลสุดท้ายพบว่าเราสูญเสียการได้ยิน เพื่อนที่เคยมีก็หายไป รู้สึกไม่ดีกับตัวเองมากๆ จนไปอ่านเจอในหนังสือเล่มหนึ่งเกี่ยวกับการผ่าตัดประสาทหูเทียม […]