MED-EL เป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านผลิตภัณฑ์ เพื่อแก้ไขปัญหาการได้ยินมากกว่าสองทศวรรษ MED-EL มีความก้าวล้ำทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเกี่ยวกับ “ระบบการสูญเสียการได้ยิน” เป็นอย่างมาก เรรามุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการวิจัย และพัฒนาอย่างเข้มข้น และต่อเนื่องมาโดยตลอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย รองรับปัญหาการได้ยินทุกประเภทเพื่อมอบการแก้ไขปัญหาการสูญเสียการได้ยินให้กับผู้ที่มีปัญหาการได้ยินในแต่ละคนได้อย่างเหมาะสมสูงสุด แนะนำผลิตภัณฑ์แก้ไขปัญหาการได้ยินจาก MED-EL แบ่งตามชนิด และลักษณะการเสื่อม I. […]
ในปัจจุบันมีผู้ที่มีปัญหาการได้ยินจำนวน 5 % ของจำนวนประชากรโลก (หรือมากกว่า 430 ล้านคน) และได้มีการคาดการณ์ว่าในอนาคตอีก 30 ปีข้างหน้า (ปี 2050) จะมีผู้ที่มีปัญหาการได้ยินมากถึง 700 ล้านคน กล่าวได้ว่า ในประชากร 10 คน จะมีผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน […]
สัญญาณของร่างกายที่แสดงถึงการมีปัญหาเรื่องการได้ยินมักจะปรากฎขึ้นเพื่อเตือนภัยถึงสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ภายในร่างกาย คุณก็สามารถสังเกตสัญญาณที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง ซึ่งสัญญาณของหูตึงมีดังนี้ ไม่เข้าใจเสียงคำพูดขณะสนทนา ต้องถามให้ผู้พูดพูดซ้ำเนื่องจากการฟังที่ไม่ชัดเจน เปิดเสียงโทรทัศน์หรือวิทยุดังขึ้น ได้ยินเสียงผู้อื่นพูดเป็นลักษณะก้องอู้อี้ไม่ชัดเจน ฟังจับใจความได้ยากเมื่อมีการสนทนาเป็นกลุ่มโดยเฉพาะในสถานที่ที่มีเสียงรบกวน มีเสียงดังหรือเสียงรบกวนในหู เมื่อคุณตรวจสอบพบว่าตนเองมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น อาจจะเริ่มต้นสังเกตเรื่องการได้ยินผ่านการตอบแบบสอบถาม โดยท่านสามารถทำแบบสอบถามการได้ยินได้ด้วยตัวเองที่นี้ https://hearingaidsbestprice.com/online-hearing-test/
ผู้ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมจะปฏิบัติงานกับเครื่องจักรทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งเครื่องจักรกลเหล่านี้มักจะส่งเสียงดังในขณะกำลังทำงาน ซึ่งดังมากดังน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องจักรและลักษณะการทำงาน ทั้งนี้จึงมีกฎหมายเรื่องการควบคุมเสียงภายในโรงงาน หากมีการตรวจพบว่าโรงงานไหนมีเสียงดังมากเกินมาตรฐาน จะถือว่าผิดกฎหมายมลพิษทางเสียงและความสั่นสะเทือนเนื่องจากเสียงดังกล่าวส่งผลต่อสุขภาพของพนักงาน แหล่งกำเนิดเสียง 1.เสียงจากเครื่องจักรขนาดใหญ่ 2.เสียงจากการเคลื่อนย้ายและการขนส่งสิ่งของ 3.เสียงจากการปฏิบัติงานของพนักงานโดยใช้เครื่องมือต่างๆ จากสาเหตุข้างต้นทำให้มีการกำหนดระยะเวลาในการสัมผัสเสียงโดยคำนวณจากระดับความดังและชั่วโมงการสัมผัสเสียงดังหากมีระดับความดังมากก็จะอนุญาตให้สัมผัสเสียงในเวลาทำงานได้ลดลงแสดงดังตาราง ตารางแสดงมาตรฐานระยะเวลาการทำงานกับระดับเสียงเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงาน เวลาการทำงานที่ได้รับเสียง (ชั่วโมง) ระดับเสียงเฉลี่ยตลอดเวลา การทำงานไม่เกิน เดซิเบลเอ 12 87 8 […]
1. RONDO 2 คืออะไร ? RONDO 2 คือ เครื่องประมวลเสียงสำหรับผู้ใช้ประสาทหูเทียม MED-EL มีลักษณะเป็นเครื่องประมวลเสียงแบบ single-unit ซึ่งหมายความว่า คอยล์แม่เหล็ก, สายเคเบิล, แบตเตอรี่ และแผงควบคุมการทำงานของเครื่อง จะรวมกันเป็นหนึ่งเดียวซึ่งมาพร้อมกับการออกแบบที่กะทัดรัด สวมใส่สบาย 2. […]
โดยปกติแล้วหากผู้ป่วยไปพบแพทย์เร็ว และได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม มีโอกาสสูงที่การได้ยินอาจกลับมาเป็นปกติได้ (ส่วนใหญ่การได้ยินมักจะดีขึ้น ภายใน 2 สัปดาห์แรก) แต่หากไปรับการรักษาช้าจนส่งผลให้เกิดอาการถาวร ทำให้เหลือการได้ยินเพียงหูเดียว ก็คงจะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันไม่ใช่น้อย ไม่สามารถแยกแยะทิศทางของเสียงได้ มีความลำบากในการสนทนา ต้องคอยหันหูข้างที่ดีไปฟังเสมอ มีความลำบากในการสื่อสารในที่ที่มีเสียงรบกวน ฟังแยกเสียงคำพูดได้ไม่ดี ฟังผิดเพี้ยนบ่อยครั้ง ไม่มั่นใจในการสนทนากับผู้อื่น มีความกังวลว่าตนเองจะฟังผิด และสื่อสารผิดพลาดไม่ตรงประเด็น บางคนอาจมีความเครียด […]
ธรรมชาติสร้างมนุษย์ให้มีอวัยวะต่างๆเพื่อทำหน้าที่ที่แตกต่างกันไป บางอวัยวะถูกสร้างให้มีเพียงหนึ่งเดียว บางอวัยวะถูกสร้างขึ้นมาเป็นคู่ ซึ่งหูก็เป็นหนึ่งในอวัยวะที่ถูกธรรมชาติสรรค์สร้างขึ้นมาเป็นคู่เช่นกัน การที่มนุษย์เรามีหูสองข้างนั้นก็เพื่อประโยชน์ในด้านการรับเสียงจากทิศทางต่างๆได้ทั่วถึง การมีหูสองข้างที่มีการได้ยินดีพร้อมนั้นจะช่วยให้มนุษย์ดำรงชีวิตประจำวันได้โดยสะดวกสบาย ซึ่งการได้ยินครบถ้วนปกติดีทั้งสองหูนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา มีหลายคนที่โชคดีเกิดมามีการได้ยินดีพร้อมทั้งสองหู บางคนโชคไม่ดีเกิดมาได้ยินเพียงข้างเดียว และมีอีกหลายคนโชคร้ายที่เกิดมาหูหนวกทั้งสองข้างเลย ซึ่งในอดีตกลุ่มคนที่โชคไม่ดีเหล่านั้นจำเป็นต้องยอมรับสภาพความไม่เท่าเทียมของตนเอง หลายคนต้องมีความลำบากในการรับฟังเสียง ต้องใช้ความพยายามมากคนอื่นในการพุดคุยสื่อสาร และมีอีกหลายคนที่ไม่มีโอกาสที่จะได้ยินเสียงต้องใช้ภาษาท่าทางหรือภาษามือในการสื่อสารกับผู้อื่น เมื่อหูไม่ได้ยิน ควรทำอย่างไรดี? จากบทความข้างต้นจะเห็นได้ว่าการมีสองหูย่อมดีกว่าหูเดียวเป็นแน่แท้ แต่ใครจะคาดคิดได้ว่าหากวันนึงหูเราเกิดมีอาการไม่ได้ยินเสียงเกิดขึ้นมาอย่างฉับพลัน เราจะทำอย่างไรดีนะ แน่นอนหากอยู่ดีๆเกิดไม่ได้ยินเลยทั้งสองข้างคงไม่มีใครนิ่งเฉยได้แน่ […]
นักแก้ไขการได้ยิน , พยาบาล , เทคนิเชียน , เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลที่ได้รับการฝึกอบรมมาจะเป็นผู้ดำเนินการตรวจการได้ยินและรายงานผลตรวจการได้ยินให้ผู้ปกครองทราบก่อนส่งพบแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาหรือฟื้นฟูเป็นลำดับต่อไป ซึ่งโรงพยาบาลที่มีบริการด้านตรวจการได้ยินในเขตกรุงเทพและปริมณฑล มีรายชื่อดังต่อไปนี้ 1. รัฐบาล รพ.ศิริราช กทม. รพ.รามาธิบดี กทม. รพ.จุฬาลงกรณ์ กทม. รพ.พระมงกุฏเกล้า กทม. […]
ผู้ที่ใช้งานประสาทหูเทียมโดยส่วนใหญ่แล้วมักใช้งานเครื่องประมวลเสียงเฉลี่ยติดกันวันละหลายชั่วโมงขึ้นไป ดังนั้นการดูแลและเก็บรักษาเครื่องประมวลเสียงจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการใช้งานและการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เครื่องประมวลเสียงสามารถใช้งานได้ในสภาพที่ดีและมีประสิทธิภาพอย่างเต็มกำลัง ซึ่งการดูแลรักษาเครื่องประมวลเสียงนั้นมีรายละเอียดดังนี้ วิธีการดูแลรักษาเครื่องประมวลเสียงรุ่น OPUS 2 ได้แก่ ประกอบเครื่องอย่างถูกวิธี ระมัดระวังสายเคเบิ้ลเป็นพิเศษ หลีกเหลี่ยงการสัมผัสกับของเหลว เช่น ฝน เหงื่อ ทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ใช้เครื่องดูดความชื้นทุกคืน วิธีการดูแลรักษาเครื่องประมวลเสียงรุ่น […]
เปิดบ้านต้อนรับวาเลนไทน์ไปพร้อมกันกับงานกิจกรรม Power of Love พลังแห่งรักที่มีให้ ไม่มีที่สิ้นสุด ในวันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ในเดือนแห่งความรักทางเมดเอลและเฮียร์ไลฟ์ได้จัดกิจกรรม Power of Love ขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการรักษาและดูแลเครื่องประมวลเสียงแก่สมาชิกผู้ใช้งานประสาทหูเทียมทุกช่วงวัย นอกจากจะได้ความรู้แล้ว ผู้ใช้งานประสาทหูเทียมทุกท่านยังได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้งานและวิธีดูแลรักษาเครื่องประมวลเสียงง่ายๆให้แก่กันด้วย ด้านคุณธีรภัทร กฤษณะทรัพย์ หัวหน้าวิศวกรคลินิกผู้มากประสบการณ์ได้เน้นย้ำให้ทราบถึงวิธีการดูแลรักษาเครื่องประมวลเสียงอย่างง่ายๆและถูกวิธีให้แก่ผู้ใช้งาน เป็นเวลากว่า 10 […]
หูอวัยวะสำคัญที่ช่วยให้เราได้ยิน โดยกายวิภาคของหูได้แบ่งหูออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และ หูชั้นใน โดยหูชั้นนอก จะประกอบด้วย ใบหู ช่องหู และแก้วหู ซึ่งใบหูจะทำหน้าที่ป้องกันเสียงเข้าสู่ช่องหู และ ช่องหูทำหน้าที่เป็นทางนำเสียงไปสู่แก้วหู ทำให้แก้วหูสั่น หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าหากเกิดปัญหาหรือความผิดปกติกับหูชั้นนอกนั้นอาจทำให้เกิดอาการหูตึงชนิดการนำเสียงบกพร่อง […]
ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าเพื่อให้ทันตามยุคสมัยอยู่ตลอดเวลา ทำให้อุปกรณ์ช่วยการได้ยินมีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งในแต่ละชนิดนั้นจะมีฟังก์ชั่นระบบการทำงาน ข้อบ่งชี้ รวมถึงข้อจำกัดในการใช้งานที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นที่จะต้องเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับความผิดปกติในการได้ยินและระดับการสูญเสียการได้ยิน เพราะฉะนั้นผู้ที่มีความผิดปกติทางการได้ยินทุกรายจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากโสต ศอ นาสิกแพทย์ หรือนักแก้ไขการได้ยินก่อนที่จะใช้อุปกรณ์ช่วยการได้ยิน ซึ่งอุปกรณ์ช่วยการได้ยินสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ อุปกรณ์ช่วยการได้ยินที่ใช้ภายนอก อุปกรณ์ช่วยการได้ยินที่มีส่วนประกอบฝังอยู่ในร่างกายบริเวณหูและส่วนที่อยู่ภายนอกหู และ อุปกรณ์ช่วยการได้ยินอื่นๆ ในที่นี้จะขอพูดเจาะลึกถึง […]