ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าเพื่อให้ทันตามยุคสมัยอยู่ตลอดเวลา ทำให้อุปกรณ์ช่วยการได้ยินมีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งในแต่ละชนิดนั้นจะมีฟังก์ชั่นระบบการทำงาน ข้อบ่งชี้ รวมถึงข้อจำกัดในการใช้งานที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นที่จะต้องเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับความผิดปกติในการได้ยินและระดับการสูญเสียการได้ยิน เพราะฉะนั้นผู้ที่มีความผิดปกติทางการได้ยินทุกรายจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากโสต ศอ นาสิกแพทย์ หรือนักแก้ไขการได้ยินก่อนที่จะใช้อุปกรณ์ช่วยการได้ยิน ซึ่งอุปกรณ์ช่วยการได้ยินสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ อุปกรณ์ช่วยการได้ยินที่ใช้ภายนอก อุปกรณ์ช่วยการได้ยินที่มีส่วนประกอบฝังอยู่ในร่างกายบริเวณหูและส่วนที่อยู่ภายนอกหู และ อุปกรณ์ช่วยการได้ยินอื่นๆ
ในที่นี้จะขอพูดเจาะลึกถึง 2 อุปกรณ์ช่วยการได้ยินและรุ่นของอุปกรณ์ช่วยการได้ยินที่ความนิยมอย่างมากในปีที่ผ่านมาเริ่มกันที่
1.อุปกรณ์ช่วยการได้ยินที่ใช้ภายนอก ได้แก่ เครื่องช่วยฟัง ชนิดของเครื่องช่วยฟังจะประกอบไปด้วยเครื่องช่วยฟังชนิดฟังเสียงทางอากาศ (Air conduction hearing aid) และ เครื่องช่วยฟังชนิดฟังเสียงทางกระดูก
เริ่มกันที่เครื่องช่วยฟังชนิดฟังเสียงทางอากาศกันเลย โดยเครื่องช่วยฟังชนิดฟังเสียงทางอากาศเป็นเครื่องที่ใส่ไว้ที่หูโดยเสียงผ่านเข้าทางช่องหู ได้แก่ เครื่องช่วยฟังแบบพกติดตัว เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู และ เครื่องช่วยฟังแบบสั่งทำในช่องหู 5 รุ่นเครื่องช่วยฟัง ที่ได้รับความนิยมและน่าใช้ประจำปี 2563 ได้แก่
1. Signia Fun P
เริ่มต้นกันด้วยเครื่องช่วยฟังราคาย่อมเยาว์จากแบรนด์ Signia ประเทศเยอรมันนีกันเลย FUN P เป็นเครื่องช่วยฟังที่ได้รับความนิยมกันมาอย่างยาวนาน ทั้งในเรื่องความหนักแน่นของเสียงและดีไซน์ที่จับถนัดมือ ระบบดิจิตอล 6 ช่องสัญญาณ เหมาะสำหรับผู้สูญเสียการได้ยินระดับเล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง สามารถปรับคุณภาพเสียงโดยเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมด้วยฟีเจอร์ 4 Sound profiles โดยเฉพาะจากแบรนด์ Signia
2. Interton Share 1.1
ต่อกันด้วยเครื่องช่วยฟังน้องใหม่ แต่คุณภาพล้นแก้ว จากแบรนด์ Interton สำหรับ Share 1.1 เครื่องช่วยฟังระบบดิจิตอล 4 ช่องสัญญาณที่ครอบคลุมครบทุกระดับการสูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับเล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง สามารถปรับคุณภาพเสียงได้โดยใช้คอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว ภายในมีไมโครโฟนระบบ Omni directionality รับเสียงได้หลากหลายโดยไม่จำกัดทิศทาง แถมความคุ้มครองด้วยการเคลือบสารกันความชื้นบริเวณตัวเครื่องเป็นอย่างดี เรียกได้ว่าคุ้มค่า คุ้มราคากันเลยทีเดียว
3. Interton Gain 3
ตามกันมาติดๆกับ Interton Gain 3 ที่บอกเลยว่ารุ่นนี้ยังใช้งานได้ดีกันไปอีกยาว เพราะนอกจากจะเป็นรุ่นที่กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องแล้ว Gain 3 ยังมีลูกเล่นที่โดดเด่นน่าจับตามองอย่างไมโครโฟนระบบ Speech focus directionality ที่สามารถโฟกัสเสียงได้อย่างชาญฉลาดและรวดเร็วระดับมืออาชีพ พร้อมด้วยกำลังขยายเสียงที่สามารถขยายเสียงได้สูงสุดถึง 81 dB ใครที่สูญเสียการได้ยินในระดับรุนแรงต้องจัดรุ่นนี้โดยด่วนแล้วแหละ
4. Interton Ready 6
สายจัดเต็มต้องไม่พลาด Interton Ready6 ที่จัดเต็มมาให้ครบในทุกๆด้าน เริ่มตั้งแต่ดีไซน์เครื่องที่มีขนาดเล็กจิ๋วสามารถแนบสนิทไปกับหลังใบหูจนแทบสังเกตไม่เห็น ระบบ Wind Noise Reduction ในการลดเสียงรบกวนที่จับคู่มากับ Auto DFS ในตัดเสียงหวีดหอนได้อย่างฉับไว มีไมโครโฟนที่ปรับตามทิศทางของเสียงคำพูดไม่ว่าจะทิศทางไหนก็ไร้กังวล และฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดจากแบรนด์ที่สามารถปรับตั้งค่าความถี่สูงที่มีการสูญเสียรุนแรงได้ง่ายๆโดยใช้ความถี่ใกล้เคียงเพื่อให้ผู้ใช้งานรับเสียงได้ชัดเจนขึ้น และฟีเจอร์เด็ด อย่าง TSG หรือ Tinnitus sound gernerator สำหรับผู้ที่มีปัญหาเสียงรบกวนในหูอีกด้วย เหนือกว่าด้วยการเชื่อมต่อโดยตรงกับ IPhone โดยไม่ต้องผ่าน Application
5. Pure 312 7NX
ปิดท้ายด้วยเครื่องช่วยฟังจาก Signia อีกหนึ่งเครื่องกับ Pure 312 7NX ที่ตัวเครื่องมีขนาดเล็กจิ๋ว พกพาสะดวก ด้วยระบบดิจิตอล 48 ช่องสัญญาณ เหมาะสำหรับผู้สูญเสียการได้ยินระดับเล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง สามารถปรับคุณภาพเสียงได้มากถึง 6 โปรแกรม การควบคุมการทำงานของเครื่องก็ง่ายแสนง่ายเพียงคลิกเดียวผ่านแอปพลิชั่นเสียงทั้งหมดก็จะตรงเข้าสู่หูของผู้ใช้งาน สัมผัสเสียงได้อย่างเป็นธรรมชาติด้วยไมโครโฟนทั้ง 2 แบบ ได้แก่ แบบ Directionality ที่บันทึกสถานการณ์จริงและปรับระดับเสียงอัตโนมัติในการใช้งาน และ ไมโครโฟนแบบปรับตามทิศทางของเสียงคำพูดอัตโนมัติที่สามารถปรับเปลี่ยนได้มากถึง 3 ระดับกันเลยทีเดียว และ ฟีเจอร์พิเศษสำหรับผู้ที่มีปัญหาเสียงรบกวนในหู (Tinnitus therapy และ notch therapy)
เครื่องช่วยฟังชนิดฟังเสียงทางกระดูก ( Bone hearing aid) เป็นเครื่องที่ใส่ไว้ที่หู โดยเสียงผ่านเข้าที่บริเวณหลังใบหู เหมาะสำหรับกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถใส่เครื่องทางช่องหู เนื่องจาก รูหูตีบ ไม่มีรูหู เป็นต้น เพราะความแตกต่างทำให้ ADHEAR เป็นเครื่อง Bone hearing aid ที่แนะนำและน่าใช้ประจำปี 2563
โดย ADHEAR แตกต่างจากเครื่อง Bone hearing aid ทั่วไปที่จำเป็นต้องใช้สายรัดศีรษะ แต่ ADHEAR ใช้แค่เพียง Adhesive adaptor แผ่นเดียวก็เอาอยู่ ไร้กังวลกับการสูญเสียพลังงานที่จะเกิดขึ้นระหว่างการสั่นสะเทือน และไม่ใช้แรงกดใดๆบนผิวหนังทำให้ผู้ใช้งานฟังเสียงได้อย่างคมชัดและไม่มีเสียงก้อง ในส่วนการทำงานของไมโครโฟน มีไมโครโฟนถึง 2 ตัว ทำให้สามารถรับเสียงคำพูดได้อย่างชัดเจน ประสิทธิภาพของระบบภายในตัวเครื่องเทียบเท่ากับเครื่องช่วยฟังในระดับ High Class คือ มีช่องสัญญาณที่สามารถรับเสียงได้มากถึง 16 ช่องสัญญาณ และ ดีไซน์ขนาดเล็ก กระทัดรัดทำให้เหมาะสมกับทุกช่วงวัยแม้ในเด็กเล็กก็ตาม
2.อุปกรณ์ช่วยการได้ยินที่มีส่วนประกอบฝังอยู่ในร่างกายบริเวณหูและส่วนที่อยู่ภายนอกหู ซึ่งชนิดที่นิยมกันในปัจจุบัน ได้แก่ ประสาทหูเทียม ( Cochlear Implant ) และ เครื่องรับฟังเสียงผ่านกระดูก
ประสาทหูเทียม ( Cochlear Implant ) เป็นเครื่องช่วยการได้ยินชนิดหนึ่งซึ่งจะต้องอาศัยการผ่าตัดเพื่อฝังอุปกรณ์เข้าไปในอวัยวะรับเสียงในหูของผู้ที่สูญเสียการได้ยิน ประกอบด้วย เครื่องประสาทหูเทียม (Implant) และ เครื่องประมวลเสียง (Audio Processor) โดยคู่ Implant และ Processor ยอดฮิตได้แก่ SYNCHRONY และ RONDO 2
เริ่มจากในส่วนของ SYNCHRONY ก่อนเลย โดย SYNCHRONY มีสายอิเล็คโทรดที่อ่อนนุ่มและยืดหยุ่นช่วยปกป้องโครงสร้างใยประสาทที่บอบบางของก้นหอย ผสมผสานกับการแปลงรหัสสัญญาณอันล้ำสมัยอย่าง FineHearing ทำให้เสียงมีความเป็นธรรมชาติ โดยเฉพาะในเสียงเบสทุ้มต่ำ ตัวเรือนของเครื่องมีแม่เหล็กที่สามารถหมุนได้รอบทิศทำให้สามารถทำเอกซเรย์ MRI ได้ละเอียดสูงถึง 3.0 เทสลา จึงปลอดภัยในการทำ MRI สูงสุดในขณะนี้
ต่อกันที่เครื่องประมวลเสียงคู่หูอย่างรุ่น RONDO 2 เครื่องประมวลเสียงไร้สายรุ่นใหม่ล่าสุดจาก MED-EL ที่ส่งมอบคุณภาพเสียงได้อย่างดีเยี่ยม ไร้ความกังวลเกี่ยวกับการเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมต่างๆ เพราะ RONDO 2 สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมได้ทั้งหมดที่มี Bluetooth ทั้งโทรศัพท์ แท็บเล็ต ไม่เว้นแม้แต่โทรทัศน์ แถมกันน้ำได้ในระดับ IP54 อีกด้วย มีแบตเตอรี่ชนิดชาร์จได้ ช่วยทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างมากเลยทีเดียวเลยแหละ
เครื่องรับฟังเสียงผ่านกระดูก เป็นเครื่องช่วยการได้ยินชนิดนำเสียงผ่านกระดูกที่ต้องอาศัยการผ่าตัดเพื่อฝังอุปกรณ์เข้าไปในอวัยวะรับเสียงในหูของผู้ป่วย ประกอบด้วยอุปกรณ์ผ่าตัดฝังภายในกระดูก (bone conduction implant) และ เครื่องประมวลเสียงภายนอก (Audio Processor) โดยชุดอุปกรณ์เครื่องช่วยการได้ยินชนิดรับฟังเสียงผ่านกระดูกยอดฮิต ได้แก่ BCI601 และ SAMBA
BCI601 ทำงานโดยใช้การส่งสัญญาณไปยังกระดูกโดยตรงไม่ต้องผ่านผิวหนังทำให้ได้ยินเสียงอย่างชัดเจน มีแม่เหล็กที่ทำหน้าที่ในการยึดติดกับเครื่องประมวลเสียงที่อยู่ภายนอกทำให้ผู้ใช้งานสามารถมั่นใจได้เลยว่าเครื่องประมวลเสียงจะไม่หล่นหายไปในระหว่างวัน
เครื่องประมวลเสียง SAMBA รุ่นใหม่ล่าสุดที่ใช้วิธีการแปลงสัญญาณแบบใหม่ ไร้การสั่นสะเทือนที่อาจก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อผิวหนัง ตัวเครื่องประมวลเสียงมีขนาดที่เล็กและบางเบา โดย SAMBA มีความยาวเพียง 10 มิลลิเมตร และมีน้ำหนักเบาเพียง 9 กรัม นอกจากนั้นระบบภายในเครื่องยังเป็นรุ่นใหม่ล่าสุดที่ใช้แค่เพียง Computer chip ก็สามารถประมวลผลไปยังอุปกรณ์ที่ฝังภายในได้อย่างได้อย่างรวดเร็ว เต็มประสิทธิภาพ และ ชาญฉลาด
การเลือกอุปกรณ์การได้ยินให้เหมาะสมกับการสูญเสียการได้ยินนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุด โดยในปัจจุบันอุปกรณ์การได้ยินมีให้เลือกใช้หลากหลายรูปแบบทั้งแบบชนิดผ่าตัดฝังและชนิดไม่ต้องผ่าตัด รวมถึงเครื่องช่วยฟัง
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทการสูญเสียการได้ยินของผู้ที่จะใช้งาน ที่สามารถทราบได้จากผลตรวจการได้ยินที่ตรวจโดยนักแก้ไขการได้ยินผู้เชี่ยวชาญ และควรเป็นผลตรวจการได้ยินล่าสุดที่ตรวจไว้ไม่เกิน 3 เดือน
การตรวจการได้ยินโดยละเอียดก่อนตัดสินใจใช้งานจริง จะทำให้ได้รับประโยชน์อย่างสูงสุดจากอุปกรณ์ หากผู้ใดที่สนใจในอุปกรณ์การได้ยินต่างๆ แต่ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจการได้ยินสามารถสำรองคิวนัดหมายเพื่อเข้ารับบริการตรวจการได้ยินฟรี พร้อมทดลองสวมใส่เครื่องจริงได้ฟรี ผ่านทางเพจเฟซบุ้ค hearLIFE Thailand หรือเบอร์ 02-493-9411
No responses yet