การสื่อสารในที่ที่มีผู้คนหนาแน่นหรือมีเสียงรบกวนรอบข้าง อาจเป็นเรื่องยากแม้แต่กับผู้ที่มีการได้ยินปกติ และสำหรับผู้ใช้งานเครื่องประสาทหูเทียมหากอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ จะทำให้พวกเขาฟังได้ยากขึ้นเช่นกัน นี่จึงเป็นเหตุผลที่พวกเขารู้สึกหงุดหงิดและไม่ชอบในระหว่างการสนทนา เราในฐานะคนในครอบครัว หรือเพื่อนของผู้ใช้งานเครื่องประสาทหูเทียม หรือผู้ที่สูญเสียการได้ยิน จึงมีบางอย่างที่คุณสามารถทำได้เพื่อช่วยให้การสื่อสารนั้นง่ายขึ้น ต่อไปนี้คือเคล็ดลับ 5 ข้อที่คุณสามารถทำได้คือ 1. ถามเขาว่าวิธีไหนที่จะช่วยได้บ้าง ถามคนในครอบครัวของคุณว่าพวกเขาต้องการให้สื่อสารอย่างไร คุณสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อให้พวกเขาเข้าใจได้ง่ายขึ้น ไม่มีวิธีใดวิธีหนึ่งที่เหมาะสม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องถามพวกเขาเพื่อช่วยให้ช่วยได้ตรงตามความเหมาะสมของเขา 2. ปรับสภาพแวดล้อมของคุณ […]
กลับมาสู่ซีรีส์ “การฟื้นฟูการฟังที่บ้านสำหรับผู้ใหญ่” ในตอนนี้เราจัดทำขึ้นเพื่อให้คำแนะนำและเป็นแหล่งเรียนรู้วิธี เพื่อบรรลุเป้าหมายในการสวมใส่เครื่องประมวลเสียงให้ได้ในทุกๆ วัน เป้าหมายการฟังที่ 1: สวมใส่เครื่องประมวลเสียงของคุณได้ในทุกๆ วัน หลังตื่นนอนการสวมใส่เครื่องประมวลเสียงของคุณ ในทุกๆ ชั่วโมง ถือเป็นสิ่งแรกๆ ที่คุณต้องทำให้ได้ เพื่อที่จะก้าวไปสู่เป้าหมายการฟังในขั้นถัดไป คุณสามารถดูได้ว่า John ผู้ใช้ประสาทหูเทียมมีพัฒนาการอย่างไรในการสวมเครื่องประมวลเสียงตลอดทั้งวันใน “การฟื้นฟูการฟังที่บ้านสำหรับผู้ใหญ่” ตอนนี้เรายังมีเคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายนี้ได้เร็วขึ้น […]
เมื่อตอนเขาอายุได้ 11 ปี วิลเลียมจากประเทศสหราชอาณาจักร เขาเริ่มใช้ ADHEAR ซึ่งเป็นเครื่องนำเสียงผ่านกระดูกสำหรับผู้ที่มีการนำเสียงบกพร่อง ตอนนี้วิลเลียมใช้งานมาแล้ว 5 ปี เขาจึงอยากจะมาร่วมแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับอุปกรณ์และช่วงเวลาที่เปลี่ยนผันของชีวิตเขา ผมชื่อวิลเลียม อายุ 16 ปี และอาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักร ตอนอายุ 2 ขวบ ผมได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดีซึ่งทำให้ผมสูญเสียการได้ยินในหูข้างซ้าย […]
ยินดีต้อนรับกลับสู่ซีรีส์ “การฟื้นฟูการฟังที่บ้านสำหรับผู้ใหญ่” ซึ่งคุณสามารถเรียนรู้วิธีในการพัฒนาทักษะการฟังในชีวิตประจำวัน และปรับปรุงการได้ยินของคุณเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของตัวเองได้ เป้าหมายการฟังที่ 1: การทำความเข้าใจการสนทนาในกลุ่มเล็กๆ การสนทนาในกลุ่มเล็กๆ จำนวน 3 ถึง 5 คน อาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย เมื่อการสนทนาดำเนินไปอย่างรวดเร็ว และหากมีคนพูดพร้อมกันมากกว่าหนึ่งคน คุณควรบอกให้พวกเขารู้ว่า คุณสูญเสียการได้ยิน และขอให้พวกเขาสนทนากันช้าลง ในวิดีโอนี้ […]
จากบทความก่อนหน้านี้ เราได้เห็นภาพรวม สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับการเปิดเครื่องประสาทหูเทียมในครั้งแรก แต่เราอยากให้คุณเข้าใจว่า การเปิดเครื่องครั้งแรกนั้น ไม่ใช่ขั้นตอนสุดท้ายในเส้นทางการได้ยินของคุณ โดยในช่วงสัปดาห์แรก และเดือนแรกหลังจากการเปิดใช้งาน คุณจะได้รับคำแนะนำหลายอย่าง เพื่อปรับตั้งค่าการได้ยินร่วมกับแพทย์ของคุณและการปรับเครื่องครั้งที่ 2 มักจะเกิดขึ้นหลังจากการเปิดเครื่องครั้งแรกไปประมาณ 1 เดือน ดังนั้นในครั้งนี้ เราจึงได้รวบรวมเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อช่วยให้คุณได้ทราบเกี่ยวกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้ […]
เมื่อกำลังพิจารณาเกี่ยวกับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม หลาย ๆ คนมักจะมีคำถามที่ว่า “เราควรรอเทคโนโลยีในอนาคต ก่อนที่จะทำการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมหรือไม่? คำตอบสั้น ๆ ก็คือ: ไม่ ถึงแม้ว่าการตัดสินใจเลือกประสาทหูเทียมเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นต้องรู้สึกสบายใจกับการตัดสินใจผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม จากการวิจัยพบว่า ผู้สูญเสียการได้ยินควรได้รักษาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ดีกว่า ต่อไปนี้คือ เหตุผล 3 ประการ เมื่อพูดถึงการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินเห็นพ้องต้องกันว่า “ทำเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ดีกว่า” หากคุณกำลังพิจารณาการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมสำหรับบุตรหลานของคุณ […]
การสนับสนุนตนเอง คือการตระหนักรู้ถึงความต้องการ ความปรารถนา และความรู้สึกของตัวคุณเอง รวมถึงสามารถสื่อสารสิ่งเหล่านี้ให้ผู้อื่นทราบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถในการพูดเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจในสิ่งที่คุณต้องการ ซึ่งเป็นทักษะที่อาจช่วยให้คุณรู้สึกมั่นใจ เมื่อได้สื่อสารกับผู้อื่น และเป็นอิสระมากขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวัน คุณทราบดีกว่าใครว่า การสูญเสียการได้ยิน ส่งผลกระทบต่อการสื่อสารระหว่างคุณกับผู้อื่นอย่างไร ดังนั้นคุณจึงเป็นคนที่สามารถอธิบายเพื่อสื่อสารถึงความต้องการของคุณได้ดีที่สุด สำหรับผู้ใหญ่และวัยรุ่นที่เป็นผู้ใช้งานเครื่องประสาทหูเทียม ทักษะในการสนับสนุนตนเองมีความสำคัญต่อการจัดการสถานการณ์การฟังและการสื่อสารที่ท้าทายเป็นอย่างมาก ต่อไปนี้จะเป็นการยกตัวอย่างถึงสถานการณ์บางส่วนที่สามารถพบได้ในแต่ละวัน ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถฝึกฝนเพื่อพัฒนาทักษะการสนับสนุนตนเองได้: 1. อธิบายเกี่ยวกับสถานการณ์ของคุณ แจ้งให้คนรอบข้างรู้ว่า […]
MED-EL เป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านผลิตภัณฑ์ เพื่อแก้ไขปัญหาการได้ยินมากกว่าสองทศวรรษ MED-EL มีความก้าวล้ำทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเกี่ยวกับ “ระบบการสูญเสียการได้ยิน” เป็นอย่างมาก เรรามุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการวิจัย และพัฒนาอย่างเข้มข้น และต่อเนื่องมาโดยตลอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย รองรับปัญหาการได้ยินทุกประเภทเพื่อมอบการแก้ไขปัญหาการสูญเสียการได้ยินให้กับผู้ที่มีปัญหาการได้ยินในแต่ละคนได้อย่างเหมาะสมสูงสุด แนะนำผลิตภัณฑ์แก้ไขปัญหาการได้ยินจาก MED-EL แบ่งตามชนิด และลักษณะการเสื่อม I. […]
ในปัจจุบันมีผู้ที่มีปัญหาการได้ยินจำนวน 5 % ของจำนวนประชากรโลก (หรือมากกว่า 430 ล้านคน) และได้มีการคาดการณ์ว่าในอนาคตอีก 30 ปีข้างหน้า (ปี 2050) จะมีผู้ที่มีปัญหาการได้ยินมากถึง 700 ล้านคน กล่าวได้ว่า ในประชากร 10 คน จะมีผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน […]
ช่วงเวลานี้ร้านอาหารเริ่มกลับมาเปิดให้บริการ นั่งทานที่ร้านได้แล้ว แต่คุณยังมีความกังวลกับเสียงรบกวนในร้านอาหาร และร้านกาแฟอยู่หรือเปล่า? หากคำตอบคือ “ใช่” เสียงรบกวนเหล่านั้นอาจทำให้การสนทนาของคุณเป็นไปได้ยากขึ้น วันนี้เรามีเทคนิค 5 ข้อ ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานประสาทหูเทียม รวมถึงผู้ที่ใช้งานเครื่องช่วยฟัง สามารถได้ยินเสียงง่ายขึ้นในสถานการณ์เหล่านี้ได้ 1. วางแผนล่วงหน้า เลือกสถานที่ที่ค่อนข้างเงียบ อาจจะเลือกร้านที่มีฉากกั้นเป็นห้อง ๆ […]
ขึ้นชื่อว่า การผ่าตัด หลายคนคงมีความกังวลมิใช่น้อยกับการรักษาด้วยวิธีการนี้ แต่การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมนั้นอัตราความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการผ่าตัดจัดอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และมีความปลอดภัยกว่าการผ่าตัดหูประเภทอื่น ๆ โดยปกติการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมจะใช้เวลาประมาณ 1-3 ชั่วโมง เท่านั้น และนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียง 2-3 วันขึ้นกับความเห็นของแพทย์ ประสาทหูเทียมคืออะไร? ประสาทหูเทียม คืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีประสาทหูเสื่อมอย่างถาวร หรือ หูหนวกที่ใช้เครื่องช่วยฟังแล้วไม่ได้ประโยชน์ […]
เพลง “ Roar” ของ Katy Perry “Here Comes the Sun” ของวง The Beatles หรือแม้แต่เพลง “ Für Elise” ของ Beethoven มีอะไรเหมือนกัน […]