ครั้งที่แล้ว ครูจ๋าได้อธิบายลักษณะของ Executive Functions ไปให้ทราบกันแล้วนะคะ มาครั้งนี้เรามาดูกันว่าในการพัฒนาทักษะ EF พ่อแม่และครอบครัวจะมีส่วนช่วยอย่างไรได้บ้างค่ะ 1. ทำให้เด็กรู้สึกผูกพัน และไว้วางใจในตัวคุณพ่อคุณแม่หรือคุณครู 2. สร้างสภาพแวดล้อมให้สงบ สะอาด และปลอดภัย อาจจะมีหนังสือ หรือของเล่น เพื่อช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ 3. […]
Executive Functions หรือ EF คือกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึกการกระทำ เป็นความสามารถของสมองส่วนหน้าที่ใช้บริหารจัดการชีวิตในเรื่องต่าง ๆ โดยในช่วงวัย 3 – 6 ปีของเด็ก จะเป็นช่วงที่ดีในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็กได้ดีที่สุด แต่หากพ้นช่วงเวลานี้ไปแล้วก็ยังสามารถพัฒนา EF ต่อไปได้ […]
วิธีเลือกของเล่นให้ลูกน้อยอย่างสมวัย (ตอนที่ 2) วันนี้ เราจะมาพูดกันต่อเรื่องของการเลือกของเล่นให้เหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงวัยกันต่อนะคะ… ของเล่นเด็กวัย 1 – 2 ขวบ 1. ของเล่นที่เสริมกล้ามเนื้อและการประสานสัมพันธ์ เช่นของเล่นประเภทดันหรือลากจูง ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อแขนขาในการทรงตัวและฝึกการบังคับทิศทางการเดิน ของเล่นประเภททุบ ตอก กดปุ่มหรือตี […]
วิธีเลือกของเล่นให้ลูกน้อยอย่างสมวัย (ตอนที่ 1) ของเล่นสำหรับเด็กนับว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะนอกจากที่เด็กน้อยจะสนุกสนานเพลิดเพลินไปกับการเล่นแล้ว ของเล่นยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีให้กับเด็กๆอีกด้วย ดังนั้นในการเลือกของเล่นให้เหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงวัยจึงจำเป็นที่ต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กในวัยนั้นๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้จากการเล่นของเล่นได้มากที่สุด ของเล่นเด็กวัยแรกเกิด – 6 เดือน 1. ของเล่นที่กระตุ้นการมองเห็น เช่น ของเล่นที่สามารถติดบริเวณเตียงหรือเปลได้ จำพวกโมบายล์ ตุ๊กตาของเล่นแขวนที่ขอบเปลนิ่มๆ ที่มีสีสันสดใสเพื่อดึงดูดสายตา […]
ปิดเทอมแล้ว….มาเล่นเกมกันเถอะ สวัสดีค่ะเด็ก ๆ วันนี้ครูจ๋ามีเกมสนุก ๆ มาให้เด็ก ๆ ได้เล่นในช่วงปิดเทอมกันนะคะ แต่ก่อนอื่น เด็ก ๆ ต้องเตรียมสีไม้หรือสีเทียนที่เด็ก ๆ ชอบมาเตรียมรอไว้ก่อนเลยค่ะ จากนั้นให้ผู้ปกครองดาวน์โหลดและพิมพ์ใบงานออกมานะคะ …. เด็ก ๆ พร้อมกันรึยังเอ่ย.. […]
เด็กดื้ออ..เอาแต่ใจ จะแก้ไขยังไงดี? “น้องอยากได้ของเล่น พอแม่ขัดใจ น้องก็จะร้องไห้ ทิ้งตัวลงไปนอนกับพื้นค่ะ” “คุณแม่ให้น้องทำการบ้าน แต่น้องไม่ยอมทำให้เสร็จ ห่วงแต่จะเล่น พอบังคับก็อาละวาด โวยวาย” “เวลาคุณพ่อสอนหรือให้น้องทำตาม น้องจะต่อต้านไม่ยอมทำตามค่ะ บางทีก็ทำเป็นเฉย ไม่สนใจ” “น้องเอาแต่ใจมากเลยค่ะ คุณแม่ควรทำยังไงดีคะ” คำถามยอดฮิตที่คุณครูเจอบ่อยมากและต้องตอบคำถามนี้เกือบทุกวัน…วันนี้ครูจ๋าจะมาแนะนำเทคนิคในการปรับพฤติกรรมเด็กที่ชอบเอาแต่ใจกันนะคะ […]
พัฒนาการทางภาษาและการพูดล่าช้า (ตอนที่ 4: จบ) ขั้นตอนในการช่วยเหลือ เมื่อคุณพ่อคุณแม่เริ่มสังเกตพบว่าลูกพูดช้า ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อหาสาเหตุของการพูดช้าและวางแผนในการช่วยเหลือให้เหมาะสมกับเด็ก หลังจากได้ข้อสรุปแล้วจะเป็นการรักษาตามสาเหตุพร้อมกับพบผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น กรณีที่พบว่าเด็กพูดช้าเนื่องมาจากหูพิการ เด็กต้องใส่เครื่องช่วยฟัง (Hearing aid) ก่อนแล้วจึงฝึกพูด โดยนักแก้ไขการพูดจะใช้เทคนิคต่างๆ กระตุ้นให้เด็กเปล่งเสียงเลียนแบบเสียงให้เป็นคำที่มีความหมาย ซึ่งจะยึดหลักการเรียนรู้และพัฒนาการทางการพูดของเด็กปกติเป็นแนวทาง นอกจากจะสอนเด็กให้เปล่งเสียงต่างๆแล้ว […]
พัฒนาการทางภาษาและการพูดล่าช้า (ตอนที่ 3) สาเหตุที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาและการพูดล่าช้า 1. ขาดการกระตุ้นทางภาษาที่เหมาะสม เช่น พ่อแม่หรือผู้ดูแลไม่ค่อยพูดคุยกับเด็ก หรือไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้พูด ทำให้เด็กขาดทักษะในการสื่อสาร ขาดการเรียนรู้ในเรื่องของการพูด เช่น เด็กอยากได้อะไร แค่ชี้ พ่อแม่หรือผู้ดูแลก็หยิบให้โดยที่เด็กไม่ต้องพยายามออกเสียงเพื่อบอกความต้องการ เป็นต้น 2. หูตึง หูหนวก […]
พัฒนาการทางภาษาและการพูดล่าช้า (ตอนที่ 2) พัฒนาการทางภาษาและการพูดล่าช้ากว่าวัยคืออะไร พัฒนาการทางภาษาและการพูดที่ล่าช้าเป็นความบกพร่องเกี่ยวกับพัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็ก โดยมีพัฒนาการด้านภาษาและการพูดล่าช้าไม่สมวัย มีความบกพร่องในด้านการเข้าใจคำพูดของผู้อื่นและ/หรือการใช้ภาษา ทำให้ตอบสนองต่อคำพูดของผู้อื่นไม่ถูกรวมถึงการเริ่มพูดคำแรกที่มีความหมายได้ล่าช้ากว่าเด็กอื่น ๆ ซึ่งอยู่ในวัยเดียวกัน พูดได้ไม่สมอายุ สื่อสารกับผู้อื่นด้วยคำพูดไม่ได้หรือถ้าพอพูดได้ก็ไม่สามารถเล่าเรื่องต่อเนื่องกัน รู้จักคำศัพท์อยู่ในวงจำกัดและเรียบเรียงถ้อยความได้ไม่ดี วิธีการสังเกตดูว่าเด็กมีพัฒนาการทางภาษาและการพูดล่าช้าหรือไม่ อายุ […]
พัฒนาการทางภาษาและการพูดล่าช้า (ตอนที่ 1) เกิดจากการที่เด็กมีการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่อยู่แวดล้อม เช่น พ่อ แม่ พี่ หรือญาติ อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีแรก เป็นช่วงที่เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะทางภาษาและการพูดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหากช่วงเวลาดังกล่าวนี้ถูกปล่อยผ่านไปหรือไม่ได้รับการกระตุ้นทางภาษาที่เหมาะสม จะส่งผลให้เด็กมีความยากลำบากต่อการเรียนรู้ในอนาคตได้ พัฒนาการทางภาษาและการพูดจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยระบบการได้ยินที่ปกติ ระบบการแปลข้อมูลในสมองที่ปกติระบบการออกเสียงที่ปกติ และสิ่งเร้าจากภายนอกที่เหมาะสม […]