การได้ยินในเด็ก

การได้ยินในเด็ก

การได้ยินในเด็ก : เป็นสิ่งสำคัญจึงต้องใช้วิธีการที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงอายุ, ความสามารถและความสนใจของเด็ก ซึ่งผู้ตรวจจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กจากการสังเกตหรือสอบถามผู้ปกครองและคนใกล้ชิด

โดยขณะตรวจอาจต้องอาศัยการร่วมมือของตัวเด็ก หรืออาจใช้การเล่นร่วมกับนักโสตสัมผัส และยังมีการทดสอบบางประเภทที่เด็กจะต้องเงียบ นิ่ง หรือนอนหลับสนิทขณะตรวจ นักโสตสัมผัสที่ทำการประเมินจะต้องมีประสบการณ์ในการประเมินการได้ยินในเด็กโดยวิธีการที่เลือกใช้จะขึ้นอยู่กับการสังเกตเด็กในคลินิกและข้อมูลที่ได้รับจากผู้ปกครอง

7 วิธีการทดสอบ การได้ยินในเด็ก มีขั้นตอนดังนี้

1. การตรวจเสียงสะท้อนของหูชั้นใน (OAE)

เป็นการประเมินการทำงานของหูชั้นใน โดยใช้จุกอุดหูแล้วปล่อยเสียงเข้าไปในช่องหูแล้วตรวจวัดคลื่นที่ตอบสนองกลับมา เป็นการทดสอบที่รวดเร็วและให้ผลลัพธ์ได้ทันที แต่จะต้องตรวจสภาพหูชั้นนอกและหูชั้นกลางของเด็กเพื่อให้แน่ใจว่าผลลัพธ์ที่ได้เป็นการทำงานเฉพาะหูชั้นในเท่านั้น

2. การตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง (Click ABR)

เป็นการประเมินการได้ยินโดยวัดการตอบสนองของระบบประสาท โดยจะปล่อยเสียงเข้าทางช่องหูและวัดกระแสประสาทที่เกิดขึ้นขณะปล่อยเสียง เด็กจะต้องนอนหลับสนิทระหว่างทดสอบ และใช้ระยะเวลานานพอสมควรเพื่อรวบรวมผลการตอบสนองจากการทดสอบ

3. การตรวจการได้ยินด้วยเสียงบริสุทธิ์ (Pure tone audiometry)

ใช้การครอบหูฟังเพื่อปล่อยเสียงสัญญาณในแต่ละความถี่ โดยเด็กจะต้องทำการตอบสนองเมื่อได้ยินเสียงด้วยวิธีการยกมือ หรือกดปุ่ม ทุกครั้งเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณ

4. การตรวจการได้ยินด้วยเสียงบริสุทธิ์ผ่านการเล่น (Play audiometry)

ทำการปล่อยเสียงสัญญาณในแต่ละความถี่ โดยเด็กจะต้องทำการตอบสนองเมื่อได้ยินเสียงผ่านการเล่น เช่น การใส่ของเล่น การปาลูกบอล เป็นต้น วิธีนี้จะต้องดึงดูดความสนใจของเด็กเพื่อให้ตอบสนอง

5. การตรวจการทำงานของหูชั้นกลาง (Tympanometry)

เป็นวิธีการตรวจประเมินการทำงานของหูชั้นกลาง โดยการปล่อยความดันพร้อมกับเสียงสัญญาณเข้าไปวัดการตอบสนองที่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถระบุได้ว่าเป็นปกติหรือผิดปกติเนื่องจากพยาธิสภาพใด

6. การทดสอบเสียงคำพูด (Speech testing)

เป็นการทดสอบความสามารถในการฟังเสียงของเด็ก ซึ่งอาจพิจาณาทั้งการรับรู้เสียงการแยกแยะเสียง และความเข้าใจเสียงคำพูดซึ่งเป็นเสียงความถี่ผสม (complex sound)

7. การตรวจการได้ยินโดยการให้แรงเสริม (Visual reinforcement audiometry)

การประเมินการได้ยินแบบคร่าวๆโดยการให้รางวัลผ่านการมองเมื่อเด็กตอบสนองต่อเสียง ซึ่งมักจะใช้กับเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถทำตามเงื่อนไขหรือเข้าใจขั้นตอนการตรวจได้มากนัก

หากท่านใดสนใจอยากปรึกษาเกี่ยวกับ เครื่องช่วยฟัง ประสาทหูเทียม สามารถติดต่อมาได้ที่ hearLIFE เรามีผลิตภัณฑ์ที่พร้อมรองรับทุกปัญหาการได้ยิน และทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ไขปัญหาการได้ยินที่พร้อมให้คำปรึกษา และบริการ

สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับโรคหูเพิ่มเติมได้ที่ บทความ

Line Official : @hearlifeth

Facebook: https://www.m.me/hearlifethai

หรือโทร 02-693-9411

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *