ในปัจจุบันตามโรงพยาบาลใหญ่ๆจะมีโปรแกรมตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดรวมอยู่ในแพคเกจคลอดบุตร ทำให้สามารถรู้ได้ตั้งแต่แรกเกิดว่าการได้ยินปกติหรือไม่ ซึ่งหากตรวจพบปัญหาการได้ยินได้ตั้งแต่เล็กๆ ก็จะสามารถช่วยเหลือให้มีการได้ยินได้อย่างทันท่วงที เพื่อที่จะได้เติบโตมาเป็นเด็กที่มีพัฒนาการทางภาษาและการพูดที่สมวัย แต่หากโรงพยาบาลที่คุณแม่คลอดบุตรไม่มีให้บริการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิด คุณแม่สามารถสังเกตพัฒนาการด้านการได้ยินของลูกน้อยได้ด้วยตนเองตามตารางด้านล่างนี้ ซึ่งหากสังเกตแล้วพบเห็นว่าพัฒนาการของบุตรหลานไม่เป็นไปตามนี้ ให้สงสัยไว้ก่อนว่าลูกของเราอาจมีปัญหาการได้ยิน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดพัฒนาการทางภาษาและการพูดล่าช้าได้  ให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์ หู คอ จมูก เพื่อติดต่อขอรับการตรวจการได้ยินที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด หรือโรงพยาบาลที่มีให้บริการด้านตรวจการได้ยิน หรือศูนย์การได้ยินใกล้บ้านค่ะ การตรวจคัดกรองการได้ยินอาจให้บริการตรวจโดยนักแก้ไขการได้ยิน , พยาบาล […]
  การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดไม่ใช่งานใหม่ในทางการแพทย์ มีรายงานผลงานวิจัยเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีความพยายามพัฒนาให้เป็นรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน และเป็นงานบริการใหม่ โดยตั้งเป้าประสงค์ให้สามารถตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดให้ครอบคลุมปริมาณทารกแรกเกิดให้มากที่สุด ถึงร้อยละ 95 ของทารกแรกเกิดมีชีพทั้งหมด การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดเป็นกระบวนการต่อเนื่องในระบบการให้บริการสาธารณสุขของสถานบริการใดใด ซึ่งจะต้องกระทำโดยทีมบุคลากร และรับความช่วยเหลือจากผู้บริหาร รวมทั้งต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองของเด็ก ซึ่งในกระบวนการจะต้องมีข้อตกลงล่วงหน้าบางประการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ ตรงตามมาตรฐาน และเกิดประโยชน์แก่ประชาชน และระบบสาธารณสุขโดยรวม อาจแบ่งการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดเป็น […]
ปัญหาสำคัญในการใช้เครื่องช่วยฟังคือเสียงก้องเนื่องจากมีการอุดกั้นช่องหู (Occlusion Effect) ซึ่งสามารถพบปัญหานี้ได้ทั้งการใช้งานเครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังใบหูและแบบใส่ในช่องหู และจากปัญหาเสียงก้องและเสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นนี้เองทำให้การรับฟังเสียงรอบข้างรวมถึงเสียงคำพูดของผู้ใช้งานเครื่องช่วยฟังเองจะมีผลกระทบมากจนผู้ใช้งานรู้สึกว่าเสียงที่ได้ยินไม่เป็นธรรมชาติ แม้ว่าเครื่องช่วยฟังจะมีไมโครโฟนเพื่อปรับทิศทางรับเสียงคำพูดโดยรองรับการฟังทั้งในที่เงียบและที่มีเสียงรบกวน รวมถึงความสามารถในการประมวลสัญญาณที่ดีก็ยังไม่สามารถให้ความรู้สึกเหมือนการรับฟังเสียงผ่านทางใบหูแบบธรรมชาติได้ ปัจจุบันมีการศึกษาชนิดเครื่องช่วยฟังที่มีการอุดบริเวณช่องหูให้น้อยที่สุดนั่นคือการใส่จุกอุดหูแบบ Open fit คือ มีรูพรุนโดยรอบจุกยางที่ใส่อยู่ภายในช่องหู เพื่อลดเสียงสะท้อนและการอุดตันของช่องหู ซึ่งพบข้อดีคือสามารถลดเสียงก้องที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน ในบางรายรู้สึกเสียงเป็นธรรมชาติมากขึ้น และไม่รำคาญเสียงคำพูดของตนเอง แต่ก็ยังพบข้อเสียจากการใช้เครื่องช่วยฟังในรูปแบบนี้คือมีผลต่อ SNR (Signal to […]
ก่อนอื่นเรามารู้จักพฤติกรรมก้าวร้าวกันก่อน พฤติกรรมอย่างไรที่เรียกว่าก้าวร้าว โดนพฤติกรรมก้าวร้าวสามารถเป็นได้หลายลักษณะ เช่น ทำร้ายตัวเอง ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของต่างๆ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ผู้ปกครองและพ่อแม่ต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นน้อยที่สุด เพราะจะส่งผลกระทบต่อทั้งตัวเด็กและครอบครัวในอนาคต ซึ่งวิธีการแก้ไขมีแตกต่างกันไปตามรายละเอียดดังนี้ 1. เพิกเฉย เพิกเฉยต่อพฤติกรรมที่แสดงออก ผู้ปกครองควรแสดงสีหน้าเรียบเฉย นิ่ง สงบ และสังเกตพฤติกรรมที่เด็กๆแสดงออกหลังจากสงบลงให้เบี่ยงเบนความสนใจของเขาไปที่กิจกรรมอื่น 2. การนำเข้ามุมสงบ […]
นักแก้ไขการได้ยิน , พยาบาล , เทคนิเชียน , เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลที่ได้รับการฝึกอบรมมาจะเป็นผู้ดำเนินการตรวจการได้ยินและรายงานผลตรวจการได้ยินให้ผู้ปกครองทราบก่อนส่งพบแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาหรือฟื้นฟูเป็นลำดับต่อไป  ซึ่งโรงพยาบาลที่มีบริการด้านตรวจการได้ยินในเขตกรุงเทพและปริมณฑล   มีรายชื่อดังต่อไปนี้ 1. รัฐบาล รพ.ศิริราช กทม. รพ.รามาธิบดี กทม. รพ.จุฬาลงกรณ์ กทม. รพ.พระมงกุฏเกล้า กทม. […]
ผู้ที่ใช้งานประสาทหูเทียมโดยส่วนใหญ่แล้วมักใช้งานเครื่องประมวลเสียงเฉลี่ยติดกันวันละหลายชั่วโมงขึ้นไป ดังนั้นการดูแลและเก็บรักษาเครื่องประมวลเสียงจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการใช้งานและการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เครื่องประมวลเสียงสามารถใช้งานได้ในสภาพที่ดีและมีประสิทธิภาพอย่างเต็มกำลัง ซึ่งการดูแลรักษาเครื่องประมวลเสียงนั้นมีรายละเอียดดังนี้ วิธีการดูแลรักษาเครื่องประมวลเสียงรุ่น OPUS 2 ได้แก่ ประกอบเครื่องอย่างถูกวิธี ระมัดระวังสายเคเบิ้ลเป็นพิเศษ หลีกเหลี่ยงการสัมผัสกับของเหลว เช่น ฝน เหงื่อ ทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ใช้เครื่องดูดความชื้นทุกคืน   วิธีการดูแลรักษาเครื่องประมวลเสียงรุ่น […]
จากโครงการ “150 years of making life sound better ” เฮียร์ไลฟ์ได้ร่วมกับ GN ส่งมอบเครื่องช่วยฟัง จำนวน 2 เครื่องแก่ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลแก้ไขความบกพร่องทางการได้ยินของผู้ที่มีปัญหาการได้ยินซึ่งจะช่วยให้สื่อสารกับคนรอบข้างได้ดีและสามารถใช้ชีวิตได้สะดวกสบายมากขึ้น โดยเครื่องช่วยฟังทั้งหมดจะนำไปช่วยเหลือผู้พิการทางการได้ยินต่อไป
เครื่องช่วยฟังในปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก จนสามารถส่งสัญญาณเชื่อมต่อโดยตรงกับโทรศัพท์มือถือได้ ทำให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกสบายและเพิ่มประสิทธิภาพต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สูงสุดหากผู้ใช้คำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจ ได้แก่ คุณเป็นผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือจำพวก Smartphone สามารถใช้งานผ่าน Application ได้อย่างคล่องแคล่ว และยังรู้ขั้นตอนการเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สายต่างๆเข้ากับตัวเครื่อง ถึงจะไม่บ่อยครั้งที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องช่วยฟังและโทรศัพท์นั้นจะมีปัญหา แต่การแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเองจะเป็นการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น คุณเป็นผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือมากน้อยเพียงใด ความถี่ในการใช้งานจะช่วยบอกได้ว่าคุณจำเป็นต้องใช้ Function ของเครื่องช่วยฟังในการเชื่อมต่อกับโทรศัพท์หรือไม่ คุณมีการสูญเสียการได้ยินในระดับใด เนื่องจากบางครั้งความสามารถทางการเข้าใจความหมายของภาษาจะลดลงเมื่อมีการสูญเสียการได้ยินเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นหากคุณไม่สามารถจับคำพูดได้ดีนัก […]
การได้ยินเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ภาษาและการพูด ในเด็กที่เกิดมามีการได้ยินปกติ เด็กจะเรียนรู้ภาษาและการพูดผ่านการได้ยิน โดยเด็กจะมีการเรียนรู้ภาษาผ่านการฟังเสียงแม่และเสียงต่างๆรอบตัวตั้งแต่แรกเกิด และมีการแสดงออกทางภาษาอย่างเหมาะสมตามช่วงวัย ยกตัวอย่างเช่น ร้องไห้เมื่อหิว เปียก  หรือไม่สบายตัว ช่วงอายุ1เดือน , ส่งเสียงอ้อแอ้เมื่อพอใจ ช่วงอายุ 3 เดือน, เล่นเสียง เลียนเสียงต่างๆในสิ่งแวดล้อม ช่วงอายุ6เดือน ,เริ่มพูดคำที่มีความหมายได้เมื่ออายุ 1 […]