ปัญหาสำคัญในการใช้เครื่องช่วยฟังคือเสียงก้องเนื่องจากมีการอุดกั้นช่องหู (Occlusion Effect) ซึ่งสามารถพบปัญหานี้ได้ทั้งการใช้งานเครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังใบหูและแบบใส่ในช่องหู และจากปัญหาเสียงก้องและเสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นนี้เองทำให้การรับฟังเสียงรอบข้างรวมถึงเสียงคำพูดของผู้ใช้งานเครื่องช่วยฟังเองจะมีผลกระทบมากจนผู้ใช้งานรู้สึกว่าเสียงที่ได้ยินไม่เป็นธรรมชาติ แม้ว่าเครื่องช่วยฟังจะมีไมโครโฟนเพื่อปรับทิศทางรับเสียงคำพูดโดยรองรับการฟังทั้งในที่เงียบและที่มีเสียงรบกวน รวมถึงความสามารถในการประมวลสัญญาณที่ดีก็ยังไม่สามารถให้ความรู้สึกเหมือนการรับฟังเสียงผ่านทางใบหูแบบธรรมชาติได้
ปัจจุบันมีการศึกษาชนิดเครื่องช่วยฟังที่มีการอุดบริเวณช่องหูให้น้อยที่สุดนั่นคือการใส่จุกอุดหูแบบ Open fit คือ มีรูพรุนโดยรอบจุกยางที่ใส่อยู่ภายในช่องหู เพื่อลดเสียงสะท้อนและการอุดตันของช่องหู ซึ่งพบข้อดีคือสามารถลดเสียงก้องที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน ในบางรายรู้สึกเสียงเป็นธรรมชาติมากขึ้น และไม่รำคาญเสียงคำพูดของตนเอง แต่ก็ยังพบข้อเสียจากการใช้เครื่องช่วยฟังในรูปแบบนี้คือมีผลต่อ SNR (Signal to Noise Ratio: อัตราส่วนระหว่างเสียงสัญญาณกับเสียงรบกวน ซึ่งหากมีอัตราส่วนน้อยจะแสดงถึงสภาวะการจับเสียงสัญญาณของเครื่องช่วยฟังที่มีประสิทธิภาพดี) โดยเฉพาะในเครื่องช่วยฟังที่มีระบบการทำงานแบบ adaptive directional microphone นั่นคือไมโครโฟนสามารถปรับหาทิศทางของเสียงสัญญาณได้อัตโนมัติ ในการศึกษาพบว่ามีค่าเฉลี่ย SNR เพิ่มมากขึ้น 1.8 เดซิเบล ระหว่างระบบการทำงานแบบ adaptive directional microphone กับ omnidirectional microphone (ระบบที่ใช้ไมโครโฟนรับเสียงรอบทิศทาง)
Adaptive directional microphone ที่นำมาศึกษาเมื่อถูกนำมาใช้กับ Ear tip ที่เป็นแบบ open fit จะต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 2.0-2.5 มิลลิเมตร จึงยังสามารถให้ประโยชน์จากการฟังแบบจับทิศทางได้ ซึ่งการศึกษาอื่นยังชี้วัดได้ว่าบุคคลที่มีการสูญเสียการได้ยินรุนแรงจะมีค่า SNR ที่เพิ่มมากขึ้น 6-8 เดซิเบล
การค้นพบนี้สอดคล้องกับความเชื่อที่ว่าหากเส้นผ่าศูนย์กลางของช่องระบายอากาศจะลดความสามารถของเครื่องช่วยฟังแบบปรับหาทิศทางได้ ดังนั้นตัวเลือกสำหรับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางช่องระบายอากาศนั้นควรจะต้องมีการคำนวณอย่างรอบครอบเพื่อให้มีความเหมาะสมและไม่เป็นการลดความสามารถในเรื่องการปรับทิศทางในการรับเสียงสัญญาณของเครื่องช่วยฟังลงไป
สิ่งที่น่าสังเกตจากผลการศึกษาครั้งนี้คือประโยชน์การใช้ไมโครโฟนปรับทิศทางและการลดเสียงรบกวนได้จำนวนมากแม้จะใช้อุปกรณ์ในสถานที่มีเสียงรบกวนก็ตาม จึงพิจารณาได้ว่าเครื่องช่วยฟังแบบ Open fit สามารถใช้ประโยชน์ได้แต่จะต้องเลือกการปรับเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมด้วย ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่าเครื่องช่วยฟังประเภท Open fit เหมาะสมกับผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยินในระดับเล็กน้อยที่ความถี่ต่ำและค่อยๆมีการสูญเสียการได้ยินเพิ่มขึ้นในความถี่สูงขึ้น ส่วนผู้ที่มีการสูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงถึงรุนแรงมากในทุๆความถี่จึงไม่เหมาะสมในการใช้เครื่องช่วยฟังระบบนี้ การพิจารณาเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมกับระดับการสูญเสียการได้ยินที่เกิดขึ้นจึงเป็นหน้าที่หลักของนักแก้ไขการได้ยินในการช่วยเหลือให้ด้านการฟังได้อย่างมีประสิทธิภาพดีขึ้น
No responses yet