ประสาทหูเทียม

ประสาทหูเทียม

ปัจจุบันการรักษาอาการหูตึงไม่ได้มีเพียงแค่การใส่เครื่องช่วยฟังเท่านั้น แต่ยังมีเครื่องมือที่ช่วยในด้านการได้ยินอย่าง ประสาทหูเทียม ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาของหูได้เช่นกัน แต่ประสาทหูเทียมคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรสำหรับผู้ที่บกพร่องในด้านการได้ยิน

ประสาทหูเทียม คืออะไร

ประสาทหูเทียมคืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อทดแทนการทำงานของหูชั้นใน โดยจะทำหน้าที่เป็นเซลล์ประสาทภายในก้นหอยที่หูชั้นใน เพื่อช่วยรับสัญญาณเสียงจากสิ่งแวดล้อมก่อนจะแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นไปยังเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 ซึ่งจะเป็นเส้นประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน

ประสาทหูเทียมจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ 2 ส่วนคืออุปกรณ์ภายนอกและอุปกรณ์ภายใน

  • อุปกรณ์ภายนอก หรือ Audio Processor เมื่อรับสัญญาณเสียงที่มาจากสิ่งแวดล้อมด้วยไมโครโฟนแล้ว Sound Processor จะแปลงสัญญาณให้กลายเป็นระบบดิจิตอล แล้วจึงส่งผ่านไปยังอุปกรณ์นำเสียงและอุปกรณ์ติดศีรษะ หลังจากนั้นจึงจะส่งไปยังอุปกรณ์ภายใน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือชนิดทัดหลังใบหู และชนิดไร้สาย
  • อุปกรณ์ภายใน หรือ Implant เมื่อรับสัญญาณดิจิตอลจากอุปกรณ์ภายนอกแล้ว อุปกรณ์ภายในจะแปลงสัญญาณดิจิตอลให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ก่อนส่งสัญญาณผ่านสายอิเล็กโทรดที่ถูกฝังไว้ตามความยาวของก้นหอย หลังจากนั้นสัญญาณไฟฟ้าจะทำหน้าที่กระตุ้นปลายประสาทการได้ยินและส่งสัญญาณต่อไปยังสมองเพื่อแปลงความหมายของเสียงที่ได้รับ

ประสาทหูเทียมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ

  • Cochlear Implants หรือ CI เป็นประสาทหูเทียมที่จะฝังอยู่ในบริเวณก้นหอยเพื่อแก้ปัญหาการสูญเสียการได้ยิน
  • Electric-Acoustic Stimulation หรือ EAS ประสาทหูเทียมผสมเครื่องช่วยฟังโดยเครื่องช่วยฟังจะเป็นตัวกระตุ้นการได้ยินเสียงทุ้ม และประสาทหูเทียมจะเป็นการกระตุ้นเสียงแหลม

คนที่ควรใช้ประสาทหูเทียม

  • เด็กเล็กที่พบว่าสูญเสียการได้ยินที่มีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไปและไม่เกิน 3 ปี 6 เดือน
  • ผู้ที่ตรวจพบว่าสูญเสียการได้ยินในระดับรุนแรงโดยที่ได้ยินเสียงมากกว่า 90 เดซิเบล และได้ลองใช้เครื่องช่วยฟังแล้วแต่ไม่ได้ผล และไม่มีมีโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการผ่าตัด 
  • มีสุขภาพจิตและสติปัญญาที่ดี สามารถเข้ารับการฟื้นฟูการได้ยินได้
  • มีศักยภาพที่พร้อมจะดูแลและรักษาอุปกรณ์ประสาทหูเทียมได้
  • ต้องมีการเข้ารับการฟื้นฟู หลังการผ่าตัดรวมไปถึงการฝึกพูด ฝึกฟัง และสามารถติดตามอาการหลังการผ่าตัดได้

ความสำเร็จในการฝังประสาทหูเทียมจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ข้อ เช่น การผ่าตัดในเด็กที่ไม่เคยมีพัฒนาการทางภาษา หรือหากอายุมากกว่า 4 ปีแล้ว ผลลัพธิ์ที่ได้อาจไม่เท่ากับที่ต้องการ อีกทั้งยังรวมไปถึงสาเหตุของการสูญเสียการได้ยิน อายุที่เกิดอาการการสูญเสียการได้ยิน เป็นต้น ทั้งนี้การรักษาด้วยการฝังประสาทหูเทียมจะต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษาและสภาพร่างกายอีกด้วย

ข้อพิจารณาสำหรับผู้ที่ต้องการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม

  • ผู้ป่วยมีเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 ปกติหรือไม่
  • ระยะเวลาในการสูญเสียการได้ยิน เช่น สูญเสียการได้ยินก่อนหรือหลังการรับรู้ภาษา
  • สาเหตุในการสูญเสียการได้ยินทั้งจากอายุและโรค เนื่องจากโรคบางโรคเป็นข้อจำกัดในการรักษาด้วยประสาทหูเทียม
  • ไม่มีข้อห้ามหรือข้อจำกัดทางการแพทย์
  • การรับรู้และแยกแยะเสียงของผู้ป่วยก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  • การฟื้นฟูการได้ยินหลังจากการผ่าตัด
  • อายุก่อนผู้ป่วยก่อนเข้ารับการผ่าตัด

ผู้ป่วยที่ต้องการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมจะต้องผ่านการประเมินเบื้องต้น ดังนี้

  • การตรวจร่างกาย การซักประวัติเพื่อหาสาเหตุในการสูญเสียการได้ยิน
  • การเอกเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
  • การตรวจเลือด ปัสสาวะและหัวใจเพื่อดูความสมบูรณ์ของร่างกาย
  • การตรวจหูหาความผิดปกติของหูชั้นในหรือหูชั้นกลาง
  • การตรวจสุขภาพจิตและระดับสติปัญญา (EQ Test)

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นของการฝังประสาทหูเทียมถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือชนิดรุนแรงและไม่รุนแรง

ชนิดรุนแรง

  • การบาดเจ็บบริเวณเส้นประสาทที่ควบคุมใบหน้าและการรับรส
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • อาจเกิดการติดเชื้อหลังการผ่าตัด

ชนิดไม่รุนแรง

  • เวียนหัว คลื่นไส้หลังการผ่าตัด
  • การบาดเจ็บต่อผิวหนังของช่องหูหรือเยื่อแก้วหู
  • การกระตุกของกล้ามเนื้อบนใบหน้าหลังการผ่าตัด

ทั้งนี้การเตรียมร่างกายให้พร้อมจะช่วยลดปัญหาที่อาจพบหลังจากการผ่าตัดได้เช่นกัน เรื่องของการเตรียมตัวหลังการผ่าตัดจึงเรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยไปนะคะ

การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ อุปกรณ์ภายนอกและอุปกรณ์ภายใน

  • การฝังตัวรับสัญญาณโดยตัวรับสัญญาณจะถูกติดตั้งบริเวณกระดูกหลังหูใต้ผิวหนัง ซึ่งจะมีอิเล็กโทรดที่จะเชื่อมต่อไปยังตัวส่งสัญญาณประสาทหู มีลักษณะเป็นเส้นเล็กและบางและมีอิเล็กโทรดฝังเป็นเม็ด จะถูกใส่ในบริเวณโคเคลียหรือหูชั้นใน
  • การเชื่อมต่อภายนอกของตัวแปลงสัญญาณ หลังจากเข้ารับการผ่าตัดแล้วเพื่อฝังตัวรับสัญญาณแล้ว แพทย์จะทำการนัดมาเพื่อพบกับนักแก้ไขการได้ยินใน 4 สัปดาห์ต่อมาเพื่อทำการเปิดเครื่องเพื่อใช้งานประสาทหูเทียมจากระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งจะทำการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าของเครื่องประมวลผลส่งไปยังอิเล็กโทรดของตัวรับสัญญาณที่อยู่ภายในก้นหอย โดยจะเรียกวิธีนี้ว่าการทำ CI Mapping โดยจะปรับให้เหมาะสมกับการได้ยินของผู้ใส่ประสาทหูเทียม โดยผู้ใช้ประสาทหูเทียมจะได้ฟังเสียงรอบตัวผ่านประสาทหูเทียมแล้วแจ้งกับนักแก้ไขการได้ยินเพื่อนำข้อมูลมาปรับแต่งเสียงที่เข้ากับแต่ละบุคคล ก่อนจะถูกเซตเข้าสู้เครื่องประมวลเสียง 
  • อิเล็กโทรดที่ใช้มักมีลักษณะเป็นเส้นเล็กและบาง โดยจะถูกแบ่งเป็น 2 แบบ คือแบบ Standard และแบบ FLEX Electrode โดยปกติแล้วแบบ standard จะมีจำนวน 12 ช่องและมี 24 อิเล็กโทรด ซึ่งต่างจากแบบ FLEX จะมีการฝั่งอิเล็กโทรดเพียง 1 ฝั่งเท่านั้น ทำให้อิเล็กโทรดมีความอ่อนนุ่มและลดการบาดเจ็บภายโคเคลียมากกว่า ทั้งนี้จะต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ในการเลือกอีกด้วย

หลังจากทำการเปิดเครื่องแล้ว ควรมีการเข้ารับการฟื้นฟูการได้ยิน เนื่องจากการได้ยินด้วยประสาทหูเทียมจะไม่เหมือนกับการได้ยินทั่วไป การเรียนรู้และฟื้นฟูการได้ยินจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเป็นอย่างมาก การกระตุ้นการได้ยินจะขึ้นอยู่กับการตอบสนองการได้ยินในแต่ละความถี่ นักแก้ไขการได้ยินจะทำการปรับเครื่อง โดยจะค่อย ๆ เพิ่มการกระตุ้นความถี่เสียงในช่องต่าง ๆ จะกว่าคนไข้จะได้ยินเสียงและควรเข้าพบนักแก้ไขการได้ยินตามตารางนัดอยู่เสมอเพื่อปรับการได้ยินให้ตรงกับความถี่ที่ได้ยินในช่วงนั้น รวมไปถึงหากเกิดปัญหากับประสาทหูเทียมก็ยังสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันที

หลังจากผ่าตัดประสาทหูเทียมแล้ว ควรระมัดระวังไม่ให้เกิดอาการอับชื้นที่อาจส่งผลให้เครื่องประมวลเสียงเกิดความเสียหายได้ จึงควรทำความสะอาดด้วยผ้าแห้ง นอกจากนี้แล้วฝุ่นและคราบสกปรกก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจทำให้เครื่องประมวลเสียงเกิดความเสียหายได้อีกด้วย

ประโยชน์ของระบบประสาทหูเทียม

ต้องรับรู้ก่อนว่าพัฒนาการหลังจากการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม จะแตกต่างดันไปในแต่ละบุคคล รวมไปถึงระดับการรับรู้คำพูด หรือการรับรู้เสียงดนตรี ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับการฝึกฝนและระยะเวลาที่เป็นอีกด้วย

  • เสียงในชีวิตประจำวัน

เมื่อผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม ผู้ใช้ประสาทหูเทียมจะสามารถรับเสียงแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น

  • การทำความเข้าใจในเสียงพูด

ผู้ใส่ประสาทหูเทียมเมื่อเข้ารับการฝึกพูดแบบปกติและการฝึกฟังในสถานการณ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการฟัง จะช่วยให้การกลับเข้ามาใช้ชีวิตที่เคยในผู้ใหญ่ และสำหรับเด็กหากสามารถทำความเข้าใจได้ก็จะช่วยในด้านการใช้ชีวิตและการเรียนรวมไปถึงการมีสมาธิต่อการเรียนได้ดี

  • ทักษะการพูด 

การฟังเสียงของผู้อื่นจะยังช่วยปรับความสามารถในการออกเสียงให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

  • การใช้โ?รศัพท์

หลังจากผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม มีรายงานว่าจะสามารถสนทนาได้โดยไม่ต้องอาศัยตัวช่วยในการช่วยฟังอีกด้วย

การฟื้นฟูการได้ยิน

หลังจากเข้ารับการผ่าตัดผู้ใส่ประสาทหูเทียมจำเป็นจะต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในการฟังเพื่อช่วยให้ผู้ที่เคยสูญเสียการได้ยินได้เรียนรู้และฝึกการพูดและการฟังซึ่งทำให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันด้วยตัวเองได้ในอนาคต

การฟื้นฟูการได้ยินจะถูกแบ่งออกไป 2 ช่วงวัย โดยจะมีการฝึกฝนที่คล้ายคลึงกันคือในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ โดยจะฝึกดังนี้

หลังจากได้รับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมแล้ว ควรฝึกให้ผู้ใส่ประสาทหูเทียมไม่หลงลืมในการใส่อุปกรณ์ภายนอกและฝึกให้รับรู้ว่าเครื่องนี้มีความสำคัญอย่างไร ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการการฝึกพูดและฝึกฟังสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

การฝึกการได้ยิน

การฝึกการได้ยินเป็นกิจกรรมที่ช่วยเพิ่มสมรรถภาพการรับรู้เสียง สามารถบอกความแตกต่างระหว่างเสียงอีกทั้งยังสามารถจับคู่เสียงกับความหมายได้อีกด้วย โดยจะแบ่งออกเป็น 4 ลำดับขั้นตอน

  • การฝึกตระหนักต่อเสียง (Detection) เพื่อรับรู้ว่าในขณะนี้มีเสียงหรือไม่
  • การฝึกแยกเสียง (Discrimination) เพื่อรับรู้ถึงความแตกต่างของความถี่เสียง 2 เสียงที่เกิดขึ้น
  • การบ่งชี้เสียง (Identification) เป็นการจำแนกว่าเสียงที่เกิดขึ้นเป็นเสียงอะไร
  • การเข้าใจความหมายของเสียง (Comprehension) เป็นการทำความเข้าใจความหมายของเสียงที่เกิดขึ้น

ปัจจุบันประสาทหูเทียมเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สำคัญที่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาในด้านการสูญเสียการได้ยินในตอนนี้ ดังนั้นการรับทราบข้อมูลของประสาทหูเทียมเบื้องต้นก็เป็นส่วนนึงที่ช่วยให้การตัดสินใจของเรามีมากขึ้น หากเกิดปัญหาที่เกี่ยวกับการได้ยินเกิดขึ้น

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ใครที่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับประสาทหูเทียมอยู่น่าจะได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อย แต่หากมีข้อสงสัยสำหรับประสาทหูเทียม หรือการผ่าตัดเพื่อฝังประสาทหูเทียมอยู่ สามารถติดต่อมาที่ hearLIFE เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมรวมไปถึงข้อมูลของประสาทหูเทียมที่เหมาะสมรวมไปถึงรายละเอียดในด้านการผ่าตัดได้เลยค่ะ เพราะ hearLIFE อยากให้คุณใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

 

Line Official : @hearlifeth

Facebook: https://www.m.me/hearlifethai

หรือโทร 02-693-9411

#ประสาทหูเทียม #CochlearImplant #MEDEL #hearLIFE #การได้ยิน

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *