เครื่องช่วยฟังประเภทไหนเหมาะกับคุณ

เครื่องช่วยฟังประเภทไหนเหมาะกับคุณ

ครื่องช่วยฟัง คือ เครื่องขยายเสียงขนาดเล็ก ที่ทำหน้าที่ขยายเสียงต่าง ๆ รอบตัวให้ดัง และชัดเจนมากขึ้น โดยเครื่องช่วยฟังนั้นมีหลายประเภท และในแต่ละประเภทจะแบ่งตามความเหมาะสมของการได้ยินของแต่ละบุคคล แล้ว ? เครื่องช่วยฟังประเภทไหนเหมาะกับคุณ 

1. BTE (Behind The Ear) แบบแขวนหลังใบหู

เครื่องช่วยฟังประเภทนี้ถูกออกแบบมาให้สวมใส่โดยการแขวนที่ด้านหลังใบหู และจะมีส่วนขยายเสียงเชื่อมต่อผ่านท่อ ซึ่งจะสอดอยู่บริเวณช่องหู ตัวเครื่องช่วยฟังสามารถมีได้ทั้งขนาดเล็กมากไปถึงขนาดใหญ่ 

แม้ว่าตัวเครื่องช่วยฟังจะมีขนาดใหญ่ แต่ก็สามารถสวมใส่ได้เพราะเป็นการแขวนที่ด้านหลังใบหู ที่มีพื้นที่ค่อนข้างเปิดกว้างและใบหูสามารถรับน้ำหนักของตัวเครื่องช่วยฟังได้เป็นอย่างดี 

  • ข้อดี: มีกำลังขยายที่มาก การใช้งานสะดวกสบาย และง่าย
  • ข้อเสีย: สามารถมองเห็นจากบุคคลภายนอกได้ง่าย

2. ITE (In The Ear) แบบใส่ในช่องหู (ตัวเครื่องขนาดใหญ่)

ตัวเครื่องช่วยฟังจะถูกออกแบบมาให้สวมใส่เข้าไปในช่องหู ซึ่งจะถูกผลิตมาให้พอดีกับหูของผู้สวมใส่ จึงไม่สามารถใช้เครื่องช่วยฟังประเภทนี้ร่วมกันกับผู้อื่นได้ 

  • ข้อดี: ตัวเครื่องช่วยฟังจะใส่อยู่ในช่องหู ทำให้สวมใส่ได้อย่างสบายมากกว่าเครื่องช่วยฟังแบบ BTE แต่ยังมีกำลังขยายที่มากและยังคงใช้คุณสมบัติต่าง ๆ ของเครื่องช่วยฟังได้เช่นเดียวกันกับเครื่องช่วยฟังแบบ BTE
  • ข้อเสีย: เครื่องช่วยฟังประเภทนี้หากสวมใส่เป็นเวลานาน ๆ  อาจทำให้เกิดขี้หูมาอุดตันหรือทำให้ตัวเครื่องช่วยฟังสกปรกได้ และเครื่องช่วยฟังแบบ ITE นี้ หากใช้ในเด็ก เมื่อโตขึ้นช่องหูขยายใหญ่ขึ้น ก็จะต้องสั่งทำเครื่องช่วยฟังเครื่องใหม่ให้มีขนาดพอดีกับขนาดของช่องหู

3. ITC (In The Canal) แบบใส่ในช่องหู (ตัวเครื่องขนาดกลาง)

เครื่องช่วยฟังที่ถูกผลิตมาให้พอดีกับรูหูของผู้สวมใส่ เช่นเดียวกับแบบ ITE แต่ตัวเครื่องมีขนาดเล็กกว่าแบบ ITE ประมาณครึ่งหนึ่ง ซึ่งอัตราขยายก็ทำได้น้อยกว่าแบบ ITE เช่นกัน

  • ข้อดี: มีขนาดเล็กลงแต่ยังคงใช้คุณสมบัติต่าง ๆ ของเครื่องช่วยฟังได้เช่นเดียวกับแบบ ITE
  • ข้อเสีย: อัตราขยายน้อยกว่าแบบอื่น

4. CIC (Complete In Canal) แบบใส่ในรูหู (ตัวเครื่องขนาดเล็ก)

เครื่องช่วยฟังที่ถูกผลิตมาให้พอดีกับรูหูของผู้สวมใส่ เช่นเดียวกับแบบ ITE และ ITC แต่มีขนาดที่เล็กกว่ามาก เมื่อมองจากภายนอกอาจจะไม่รู้เลยว่าผู้ใช้มีการสวมใส่เครื่องช่วยฟังอยู่ แต่อัตราขยายทำได้ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับเครื่องช่วยฟังแบบอื่น ๆ  

  • ข้อดี: มีขนาดเล็กมาก มองจากภายนอกแทบไม่รู้เลยว่าสวมใส่เครื่องช่วยฟังอยู่
  • ข้อเสีย: อัตราขยายน้อย และขนาดตัวเครื่องที่มีขนาดเล็กมากทำให้ไม่สามารถใช้คุณสมบัติต่าง ๆ ของเครื่องช่วยฟังได้ เนื่องจากไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับใส่ปุ่มปรับเพิ่ม-ลดความดังเสียง, ปุ่มเปลี่ยนโปรแกรม, การเชื่อมต่อ Bluetooth นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาขนาดรูหูของผู้ป่วยแต่ละรายด้วยซึ่งหากขนาดรูหูผู้ป่วยมีขนาดเล็กมากเกินไปก็อาจไม่สามารถทำแบบ CIC ได้

5. Pocket Aid แบบกล่อง

เป็นเครื่องช่วยฟังที่มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ใช้งานโดยการหนีบเครื่องไว้ที่กระเป๋าเสื้อ ที่กางเกง หรือเข็มขัด และจะมีสายไฟเชื่อมต่อตัวเครื่องช่วยฟังกับตัวขยายเสียงที่จะเสียบเข้ากับช่องหูของผู้ใช้เครื่องช่วยฟัง 

  • ข้อดี: ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้งานง่ายเหมาะกับผู้สูงอายุ แบตเตอรี่หาซื้อง่าย (ขนาด AA) มีอัตรากำลังขยายสูง ราคาไม่แพง
  • ข้อเสีย: มีสายยาวเกะกะ ทำให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนมากที่สุดถ้าเทียบกับเครื่องช่วยฟังประเภทอื่น ๆ

6. Open Fitting แบบทัดหลังหูชนิด Open-Fitting

จัดเป็นเครื่องช่วยฟังชนิดทัดหลังหู ที่ท่อนำเสียงจะมีขนาดเล็กกว่าแบบ BTE ส่วนปลายของท่อนำเสียงจะมีรูให้อากาศถ่ายเทได้ จึงช่วยลดความรู้สึกอึดอัดในหูขณะสวมใส่  ลดปัญหาเรื่องเสียงก้อง ทำให้ได้ยินเสียงที่เป็นธรรมชาติ 

  • ข้อดี: สวมใส่สบาย ได้คุณภาพเสียงเป็นธรรมชาติ ไม่รำคาญเสียงพูดตัวเอง
  • ข้อเสีย: อาจมีเสียงหวีดหอนรบกวนได้ง่าย เหมาะสำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยินเฉพาะที่บริเวณความถี่สูง

7. RIC (Receiver In Canal) แบบทัดหลังหูชนิด RIC

จัดเป็นเครื่องช่วยฟังชนิดทัดหลังหู ตัวเครื่องมีขนาดเล็ก เนื่องจากแยกชิ้นส่วนลำโพงไปไว้ในรูหู ทำให้ท่อส่งสัญญาณมีสีใสและมีขนาดเล็กมาก เวลาสวมใส่จึงแนบไปกับผิวหนังจนแทบมองไม่เห็น และด้วยตัวเครื่องที่มีขนาดเล็กจึงสามารถซ่อนเร้นอยู่ด้านหลังใบหูได้อย่างสมบูรณ์ 

  • ข้อดี: มีขนาดเล็ก แต่อัตราขยายสามารถเลือกใช้ตัวขยายเสียงได้หลายระดับตั้งแต่หูตึงเล็กน้อยจนถึงหูตึงรุนแรง นอกจากนี้ยังรองรับการสูญเสียการได้ยินเพิ่มในอนาคตได้ เมื่อหูเสื่อมมากขึ้นก็สามารถเปลี่ยนเฉพาะตัวขยายเสียงได้โดยไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องช่วยฟังใหม่
  • ข้อเสีย: เมื่อสวมใส่เป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้เกิดมีขี้หูอุดตันท่อ หรือทำให้ตัวเครื่องช่วยฟังสกปรกได้ และเนื่องจากตัวเครื่องมีขนาดเล็ก และเบาก็อาจจะทำให้เกิดการสูญหายได้ง่ายหากไม่ได้สังเกต

สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับการเลือก เครื่องช่วยฟัง ได้ที่ > เครื่องช่วยฟังยี่ห้อไหนดี เลือกอย่างไร แล้วราคาเท่าไหร่ 

สามารถเลือกชมเครื่องช่วยฟังได้ที่ > เครื่องช่วยฟัง <

หากท่านใดสนใจอยากปรึกษาเกี่ยวกับ เครื่องช่วยฟัง สามารถติดต่อมาได้ที่ hearLIFE เรามีผลิตภัณฑ์ที่พร้อมรองรับทุกปัญหาการได้ยิน และทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ไขปัญหาการได้ยินที่พร้อมให้คำปรึกษา และบริการ

สามารถอ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ บทความ

Line Official : @hearlifeth

Facebook: https://www.m.me/hearlifethai

หรือโทร 02-693-9411

 

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *