ภัยคุกคามจากเสียงดัง

ภัยคุกคามจากเสียงดัง

องค์การอนามัยโลกเตือน ภัยคุกคามจากเสียงดัง : วัยรุ่นและวัยทำงานจำนวนกว่า 1 พันล้านคน มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยินเนื่องจากการใช้อุปกรณ์ฟังเสียงส่วนบุคคลที่มี เสียงดัง และการสัมผัสกับเสียงในสถานบันเทิงในระดับความดังเสียงที่ไม่ปลอดภัย เช่น ไนท์คลับ บาร์ และการแข่งขันกีฬา ข้อมูลจากการศึกษาในประเทศที่มีรายได้ปานกลางและสูง

วิเคราะห์โดย WHO ระบุว่าในหมู่วัยรุ่นและผู้ใหญ่อายุ 12-35 ปี เกือบ 50% มีการสัมผัสกับระดับเสียงที่ดังเกินไปจากการใช้อุปกรณ์เครื่องเสียงส่วนบุคคล และประมาณ 40% มีความเสี่ยงต่ออันตรายจากเสียงในสถานบันเทิง ยกตัวอย่างระดับเสียงที่ไม่ปลอดภัย เช่น ระดับเสียง 85 เดซิเบล สามารถสัมผัสได้ไม่เกินแปดชั่วโมง หรือเสียงระดับ 100 เดซิเบล สามารถฟังต่อเนื่องได้เพียง 15 นาทีเท่านั้น

การฟังเสียงในระยะห่างที่ปลอดภัยขึ้นอยู่กับความเข้มหรือความดังของเสียง และระยะเวลาหรือความถี่ของการฟัง การรับฟังเสียงดังมากอาจส่งผลให้สูญเสียการได้ยินชั่วคราว หรือ หูอื้อชั่วขณะ แต่หากยังคงรับฟังเสียงในระดับที่ดังเกินไปเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน อาจทำให้เซลล์ประสาทด้านการได้ยินได้รับความเสียหายถาวร ส่งผลให้สูญเสียการได้ยินอย่างถาวรได้

คำแนะนำของ WHO ในการเฝ้าระวัง ภัยคุกคามจากเสียงดัง

WHO แนะนำว่าระดับเสียงสูงสุดที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในสถานที่ทำงานคือ 85 dB โดยจะต้องสัมผัสเสียงดังกล่าวไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน ไนท์คลับ บาร์ และการแข่งขันกีฬาหลายแห่ง มักจะใช้เสียงในระดับที่ดังขึ้นดังนั้นจึงควรลดระยะเวลาในการสัมผัสเสียงให้น้อยลง วัยรุ่นและคนหนุ่มสาวสามารถป้องกันการสูญเสียการได้ยินที่อาจเกิดขึ้นโดยการลดระดับเสียงของอุปกรณ์เครื่องเสียงส่วนบุคคลลง และควรสวมที่อุดหูเมื่อเข้าสู่สถานที่ที่มีเสียงดัง

โดยเฉพาะการใช้หูฟังเพื่อฟังเพลง อาจต้องมีการจำกัดเวลาด้วยการหยุดพักการฟังเป็นระยะเวลาสั้น ๆ และจำกัดการใช้งานเครื่องเสียงส่วนบุคคลในชีวิตประจำวันให้น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง นอกจากนี้ควรระวังสัญญาณเตือนของการสูญเสียการได้ยิน เช่น อาการหูอื้อ มีเสียงดังในหู เป็นต้น และควรได้รับการตรวจการได้ยินเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ

หน่วยงานของรัฐควรมีบทบาทในการพัฒนาและบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดเกี่ยวกับเสียงรบกวนในสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และการสร้างความตระหนักถึงความเสี่ยงของการสูญเสียการได้ยินผ่านแคมเปญข้อมูลสาธารณะ ผู้ปกครอง ครูและแพทย์ สามารถให้ความรู้แก่คนหนุ่มสาวเกี่ยวกับการฟังอย่างปลอดภัย ในขณะเดียวกันผู้บริหารสถานบันเทิงควรคำนึงถึงระดับเสียงที่ปลอดภัยตามที่กำหนดไว้

โดยสถานที่ดังกล่าวควรจัดให้มีเครื่องจำกัดเสียงไม่ให้เกินอัตราที่กำหนดไว้ มีที่อุดหูและ/หรือห้องพักที่มีระดับเสียงไม่เป็นอันตราย ผู้ผลิตอุปกรณ์หูต่าง ๆ ควรออกแบบอุปกรณ์เครื่องเสียงส่วนบุคคลพร้อมคุณสมบัติด้านความปลอดภัย และแสดงข้อมูลเกี่ยวกับการฟังอย่างปลอดภัยในผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์

ปัจจุบันมีผู้คนทั่วโลกจำนวน 360 ล้านคน มีการสูญเสียการได้ยินในระดับปานกลางถึงรุนแรง เนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น สาเหตุจากพันธุกรรม ภาวะแทรกซ้อนของโรคติดเชื้อบางชนิด การติดเชื้อที่หูเรื้อรัง การใช้ยาบางชนิด แต่ครึ่งหนึ่งของการสูญเสียการได้ยินทั้งหมดสามารถหลีกเลี่ยงได้

เพื่อแก้ไขปัญหานี้ WHO รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยินเพื่อแสดงให้เห็นถึงความชุก สาเหตุและผลกระทบ รวมถึงโอกาสในการป้องกันและการจัดการ เพื่อช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ และนำโปรแกรมการดูแลการได้ยินที่บูรณาการเข้ากับระบบการดูแลสุขภาพเบื้องต้น และจัดหาทรัพยากรทางเทคนิคสำหรับการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ

สามารถอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับ ภัยคุกคามจากเสียงดัง ได้ที่  ผลสำรวจชี้การเล่นเกมติดต่อกันเป็นเวลานานมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียการได้ยิน

สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับโรคหูเพิ่มเติมได้ที่ บทความ

Line Official : @hearlifeth

Facebook: https://www.m.me/hearlifethai

หรือโทร 02-693-9411

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *