สัญญาณของร่างกายที่แสดงถึงการมีปัญหาเรื่องการได้ยินมักจะปรากฎขึ้นเพื่อเตือนภัยถึงสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ภายในร่างกาย คุณก็สามารถสังเกตสัญญาณที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง ซึ่งสัญญาณของหูตึงมีดังนี้ ไม่เข้าใจเสียงคำพูดขณะสนทนา ต้องถามให้ผู้พูดพูดซ้ำเนื่องจากการฟังที่ไม่ชัดเจน เปิดเสียงโทรทัศน์หรือวิทยุดังขึ้น ได้ยินเสียงผู้อื่นพูดเป็นลักษณะก้องอู้อี้ไม่ชัดเจน ฟังจับใจความได้ยากเมื่อมีการสนทนาเป็นกลุ่มโดยเฉพาะในสถานที่ที่มีเสียงรบกวน มีเสียงดังหรือเสียงรบกวนในหู เมื่อคุณตรวจสอบพบว่าตนเองมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น อาจจะเริ่มต้นสังเกตเรื่องการได้ยินผ่านการตอบแบบสอบถาม โดยท่านสามารถทำแบบสอบถามการได้ยินได้ด้วยตัวเองที่นี้ https://hearingaidsbestprice.com/online-hearing-test/
เพราะการได้ยินมีผลต่อพัฒนาการในด้านการพูด ด้านสังคม จิตใจ และการศึกษาต่อไปในอนาคต โดยวัยรุ่นถือเป็นวัยที่ต้องทำกิจกรรมมากมายทั้งเรียน ทำงาน หรือไปเที่ยวในสถานที่ต่างๆ รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การใส่หูฟังเป็นเวลานาน การคุยโทรศัพท์เสียงดังเกินไป ดังนั้นการรู้ทันเสียงเป็นการป้องกันจากการหูหนวก หรือ หูตึงได้เป็นอย่างดีและไม่ควรมองข้าม ซึ่งจะมีวิธีการป้องกันง่ายๆ ดังนี้ ดูแลสุขภาพให้ดี ระวังไม่ให้เป็นหวัด เพราะอาจมีการติดเชื้อที่ทำให้หูหนวก หูตึงได้ […]
สเต็ปตรวจสุขภาพหูด้วยตนเองง่ายๆ ใครๆก็ทำได้ หูเป็นอวัยวะที่ช่วยให้เราได้ยิน ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าเราฟังเสียงต่งๆรอบตัวในทุกๆวัน ดังนั้นหูจึงทำงานอยู่ตลอดเวลา วันนี้จึงอยากมาแชร์เคล็ดลับการตรวจหูด้วยตนเองที่ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตนเองง่ายๆ โดยจะแบ่งเป็น 2 วิธี ได้แก่ การตรวจหู และ อาการผิดปกติที่เกี่ยวกับหูและการได้ยิน ดังนี้ 1. ตรวจหู ส่องกระจกดูบริเวณหู หรือให้ผู้ใกล้ชิดช่วยดูให้ถ้ามีสิ่งผิดปกติต่อไปนี้ ต้องไปพบแพทย์ […]
การตรวจการได้ยินมีหลายรูปแบบ ซึ่งหากแบ่งตามวัตถุประสงค์ของการตรวจจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจได้โดยง่าย ดังต่อไปนี้ค่ะ ตรวจเพื่อคัดกรองการได้ยิน ตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค สำหรับบทความนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะการตรวจเพื่อคัดกรองการได้ยินก่อน โดยการตรวจเพื่อคัดกรองการได้ยินเบื้องต้นเป็นการตรวจว่าผู้ที่ได้รับการตรวจมีระดับการได้ยินปกติหรือไม่ ซึ่งวิธีการตรวจก็จะมีความแตกต่างกันไปทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ 1. ในเด็กแรกเกิดหรือเด็กเล็กๆ จะใช้วิธีตรวจวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน (Otoacoustic emission : OAEs) เป็นการตรวจวัดเสียงสะท้อนจากเซลล์ขนภายในหูชั้นใน […]
หนึ่งในคำถามที่พบบ่อยๆ ในการผ่าตัดประสาทหูเทียม วันนี้จึงขออธิบายเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินอย่างง่าย ๆ ให้ทุกคนเข้าใจกัน จริง ๆแล้วการผ่าตัดก็ถือเป็นการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน หรือ Rehabilitation อย่างหนึ่ง โดยการผ่าตัดนั้นถือเป็นขั้นตอนแรกในการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน แต่การผ่าตัดเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ผู้ที่สูญเสียการได้ยินมีสมรรถภาพการได้ยินดีขึ้นได้อย่างเต็มที่ ฉะนั้นหลังจากการผ่าตัดประสาทหูเทียม ผู้ที่สูญเสียการได้ยิน โดยเฉพาะในกรณีเด็กที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่กำเนิด จึงต้องพัฒนาทักษะการฟังด้วยประสาทหูเทียมอยู่เสมอ ๆ เพื่อช่วยให้สมองทำความเข้าใจ เรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงกับเสียง ทำให้ทักษะการฟังและการสื่อสารพัฒนาขึ้นตามลำดับ โดยการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินสามารถทำได้ผ่านการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันต่างๆเช่น […]
หนึ่งในกิจวัตรในชีวิตของผู้ใช้ประสาทหูเทียมคือ ต้องติดต่อทางศูนย์ประสาทหูเทียมทั้งเพื่อทำการปรับตั้งโปรแกรม การฝึกฟื้นฟูการได้ยิน การเช็คเครื่องประสาทหูเทียม ติดต่อซื้ออะไหล่และการส่งเครื่องซ่อมแซม ผู้ใช้ประสาทหูเทียมของ Medel จะได้รับการบริการในแต่ละด้านโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น นักแก้ไขการได้ยินจะเป็นผู้ปรับโปรแกรม ตรวจเช็คการได้ยิน และฟื้นฟูสมรรถภาพการฟังเป็นระยะหลังผ่าตัด วิศวกรด้านไฟฟ้าจะเป็นผู้ตรวจสอบเครื่องประสาทหูเทียมและทำการแก้ไขปัญหาที่พบอย่างตรงจุด นักแก้ไขการพูดและครูการศึกษาพิเศษจะช่วยกันวางแผนการฟื้นฟูพัฒนาการด้านภาษา และ การพูด การที่ผู้ใช้ประสาทหูเทียมจะสามารถได้ยินชัดเจนส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยจากการตั้งโปรแกรมภายในเครื่องประสาทหูเทียม การตั้งโปรแกรมนี้มีความสำคัญในการประมวลเสียงที่เข้าสู่เครื่องแล้วส่งสัญญาณไปกระตุ้นระบบประสาท หากได้รับการปรับตั้งโปรแกรมที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลให้การได้ยินหลังผ่าตัดไม่ชัดเจน […]