“ผลลัพธ์จากการศึกษาพบว่าอาการเสียงดังในหูจะแย่ลงมากกว่าระดับการสูญเสียเสียการได้ยิน” เขียนโดย Hashir Aazh และ Richard Salvi ถูกตีพิมพ์ใน Journal of the American Academy of Audiology เมื่อ เดือนกันยายน 2019 ในการศึกษาเรื่อง association between tinnitus loudness and puretone average (PTA) thresholds.
คำถามที่ว่า “เสียงดังในหูจะแย่ลงเมื่อมีการสูญเสียการได้ยินลดลงเรื่อยๆหรือไม่” ผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินส่วนใหญ่จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยว่า แม้ปัญหาที่กล่าวมาอาจเกิดขึ้นได้แต่โดยทั่วไปก็ไม่ใช่ปัญหาที่สามารถพบได้บ่อยแบบชัดเจนจากการสังเกตในการปฏิบัติงานในคลินิค มีงานศึกษาวิจัยถึงกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาเรื่องเสียงดังในหูจำนวน 445 คนมีอายุเฉลี่ย 54.4 ปีแบ่งออกเป็นเพศชาย 49% และเพศหญิง 51% ทำแบบสอบถามจากทางนักโสตสัมผัสวิทยาซึ่งเก็บรวบรวมตั้งแต่ปี 2013-2016 ร่วมกับการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับเสียงดังในหู การมองเห็นความวิตกกังวลภาวะโรคซึมเศร้าและดัชนีความรุนแรงของโรคนอนไม่หลับจากการศึกษาพบว่า
ในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยทั้งหมดมีจำนวน 12% ไม่พบอาการเสียงดังในหูที่เป็นไปตามลักษณะของโรคในขณะที่ 32% มีอาการไม่รุนแรง 24% มีอาการปานกลางและ 33% มีอาการเสียงดังในหูในระดับรุนแรงเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผลการตรวจการได้ยินโดยพิจารณาเฉพาะค่าเฉลี่ย (PTA: pure tone average) ในการตรวจหูข้างที่มีอาการแสดงเสียงดังในหูมีจำนวน 66% พบว่าผู้ป่วยไม่มีการสูญเสียการได้ยิน 29% มีการสูญเสียการได้ยินเล็กน้อยผู้ป่วยจำนวน 5% มีการสูญเสียการได้ยินระดับปานกลางส่วนการตรวจการได้ยินในหูข้างที่มีอาการเสียดังในหูพบว่ามีจำนวน 49% พบว่าผู้ป่วยไม่มีการสูญเสียการได้ยิน 36% มีการสูญเสียการได้ยินเล็กน้อยผู้ป่วยจำนวน 13% มีการสูญเสียการได้ยินระดับปานกลางจำนวน 0.6% มีการสูญเสียการได้ยินรุนแรงและจำนวน 0.9% มีการสูญเสียการได้ยินรุนแรงมาก
เมื่อนำผลการศึกษาเรื่องเสียงดังในหูกับระดับการได้ยินมาวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองถดถอยพบว่าเสียงดังในหูเพิ่มชึ้น 0.036 ต่อการสูญเสียการได้ยิน 1 dB ซึ่งความสัมพันธ์แบบนี้แถบจะไม่มีผลกระทบเพราะเมื่อทำเป็นโมเดลเชิงเส้นพบว่ามีผลเพียง 4% และพบว่าปัจจัยอื่นนอกจากความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยินสามารถนำไปสู่อาการเสียงดังในหูได้มากกว่า
อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างเสียงดังในหูกับตัวแปรอื่นๆได้ถูกวิเคราะห์ไว้ดังนี้
- มีจำนวน 32% ที่มีความไวต่อการรับฟังเสียงมากขึ้น และจำนวน 4% จากทั้งหมดถูกวิเคราะห์ว่าไม่สามารถรับฟังเสียงดังๆได้
- ในขณะที่ 31% ไม่มีอาการนอนไม่หลับ 29.5% มีอาการนอนไม่หลับเล็กน้อย 27.5% มีอาการนอนไม่หลับในระดับปานกลาง และ12% มีอาการนอนไม่หลับอย่างรุนแรง
- ความดังของเสียงในหูมีความสัมพันธ์ต่อความรำคาญเสียงดังในหูมากกว่าการสูญเสียการได้ยินที่เพิ่มมากขึ้น
จึงอาจกล่าวได้ว่า มีความเป็นไปได้ที่เสียงดังในหูบางรูปแบบอาจเกิดจากเซลล์ขนในหูชั้นในที่ทำหน้าที่รับเสียงมีความเสียหายแต่ตรวจไม่พบในการตรวจการได้ยิน (Audiogram) นั่นแสดงว่าหากมีเสียงดังในหูอาจมีความสัมพันธ์กับระดับการได้ยินที่เสื่อมลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
No responses yet