การสูญเสียการได้ยิน (Hearing Loss) ที่ความถี่ต่ำ : บทความนี้เป็นการอ้างถึงเฉพาะ การสูญเสียการได้ยิน ที่ความถี่ต่ำ โดยการสูญเสียการได้ยินประเภทนี้ส่งผลกระทบต่อระดับการได้ยินที่ความถี่ 2000 Hz หรือความถี่ที่ต่ำกว่า จากการเสื่อมที่ช่วงความถี่ต่ำนี้เองทำให้ยังสามารถฟังเสียงสนทนาได้ใกล้เคียงปกติ เนื่องจากรายละเอียดของเสียงที่อยู่ในบริเวณความถี่สูงเป็นเสียงพยัญชนะทำให้ยังจับคำพูดได้ดี
การกลายพันธุ์ของยีน WFS1 (Wolfram Syndrome)
สามารถทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินที่ความถี่ต่ำได้ การกลายพันธุ์นี้ เรียกว่า Wolfram Syndrome 1.1 และยังมีสาเหตุอื่นๆที่ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินที่ความถี่ต่ำได้อีก เช่น Mondini dysplasia ( Cochlear ผิดปกติ), หูดับฉับพลัน, Meniere’s disease, การติดเชื้อไวรัส, ภาวะไตวาย และ ความดันสูง
บุคคลที่มีการสูญเสียที่ความถี่ต่ำนี้จะมีปัญหาเมื่อต้องสนทนากับบุคคลเป็นกลุ่มหรือสื่อสารในสถานที่ที่มีเสียงรบกวน โดยสามารถตรวจพบบุคคลเหล่านี้ได้จากการคัดกรองการได้ยินแบบปกติ แต่หากมีประวัติคนในครอบครัวมีการสูญเสียการได้ยินที่ความถี่ต่ำ ควรจะพบนักโสตสัมผัสวิทยาเพื่อทำการตรวจโดยละเอียดต่อไป
การรักษา
การรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการ และสาเหตุของโรคนั้น ๆ ในบุคคลที่มีการสูญเสียการได้ยิน ในบางกรณีการรักษาอาจไม่จำเป็นแต่การใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยฟังที่ขยายบริเวณเสียงความถี่ต่ำ แต่ไม่ขยายในส่วนความถี่ที่มีการได้ยินปกติ จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาในด้านการฟังเสียงสนทนาที่ไม่ชัดเจนได้ ที่สำคัญไปกว่านั้น เครื่องช่วยฟังยังมีคุณสมบัติในการตัดเสียงรบกวนได้
โดยเฉพาะเครื่องช่วยฟังที่มีไมโครโฟนหลายตัวจะช่วยปรับปรุงเสียงได้ดีในสถานการณ์ที่มีเสียงดัง นอกจากนี้ยังมีหลายๆเทคโนโลยีที่จะช่วยให้การรับฟังเสียงคมชัดและมีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น ทั้งนี้บุคคลในกลุ่มที่มีการสูญเสียการได้ยินที่ความถี่ต่ำจึงควรพบนักโสตสัมผัสวิทยาเพื่อค้นหาอุปกรณ์ช่วยเหลือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หากท่านใดสนใจอยากปรึกษาเกี่ยวกับ เครื่องช่วยฟัง ประสาทหูเทียม สามารถติดต่อมาได้ที่ hearLIFE เรามีผลิตภัณฑ์ที่พร้อมรองรับทุกปัญหาการได้ยิน และทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ไขปัญหาการได้ยินที่พร้อมให้คำปรึกษา และบริการ
สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับโรคหูเพิ่มเติมได้ที่ บทความ
image by Freepik
Line Official : @hearlifeth
Facebook: https://www.m.me/hearlifethai
No responses yet