เสียงรอบตัวที่เราได้ยินในชีวิตประจำวันนั้น มีลักษณะเสียงที่แตกต่างกันทั้งเรื่องความถี่ และความดัง เพื่อความเข้าใจที่ง่าย สามารถศึกษาได้จากตัวอย่างเสียงที่แสดงในภาพดังภาพต่อไปนี้

 

ตัวอย่างเสียงที่เบา

  • เสียงน้ำหยด เป็นเสียงที่จัดอยู่ในช่วงความถี่ต่ำ บริเวณ 125Hz – 250Hz และมีความดังประมาณ 10 เดซิเบล 
  • เสียงใบไม้ปลิว จัดอยู่ในช่วงความถี่กลาง บริเวณ 1000Hz-1500Hz และมีความดังประมาณ -10 ถึง 0 เดซิเบล
  • เสียงนกร้อง เป็นเสียงที่จัดอยู่ในช่วงความถี่สูง บริเวณ 6000Hz และมีความดังประมาณ 0 เดซิเบล

หมายเหตุ
ความดังของเสียงจะถูกวัดค่าเป็นหน่วยที่เรียกว่า เดซิเบล ซึ่ง 0 เดซิเบล (0dB) ไม่ได้หมายความว่าไม่มีเสียงซึ่งเสียงที่ต่ำกว่า 0 เดซิเบลถือเป็นเสียงที่เบามากๆ 

 

ตัวอย่างเสียงที่ดัง

  • เสียงสุนัขเห่า เป็นเสียงที่จัดอยู่ในช่วงความถี่ต่ำ บริเวณ 250Hz และมีความดังประมาณ 70 เดซิเบล 
  • เสียงเปียโน เป็นเสียงที่จัดอยู่ในช่วงความถี่กลาง บริเวณ 750Hz-1500Hz และมีความดังประมาณ 80 เดซิเบล 
  • เสียงโทรศัพท์บ้าน เป็นเสียงที่จัดอยู่ในช่วงความถี่สูง บริเวณ 4000Hz และมีความดังประมาณ 80 เดซิเบล 

หมายเหตุ 
ข้อมูลในภาพเป็นเพียงการยกตัวอย่างเท่านั้น เสียงของจริงอาจมีความถี่และความดังแตกต่างไปจากนี้ได้ ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น โน้ตที่เปลี่ยนไปของเสียงเปียโน , พันธุ์สุนัข , ยี่ห้อโทรศัพท์ เป็นต้น

 

ตัวอย่างเสียงที่ดังมาก

  • เสียงเครื่องยนต์ เป็นเสียงที่จัดอยู่ในช่วงความถี่ต่ำ บริเวณ 250Hz และมีความดังประมาณ 100 เดซิเบล
  • เสียงเครื่องบิน เป็นเสียงที่จัดอยู่ในช่วงความถี่สูง บริเวณ 4000Hz และมีความดังประมาณ 110 เดซิเบล

สำหรับเสียงสนทนาปกตินั้นจัดอยู่ในช่วงความถี่ บริเวณ 250-8000Hz และมีความดังที่ประมาณ 40-60 เดซิเบล ซึ่งเสียงในภาษาไทยนั้นมีหลายเสียง โดยเสียงพยัญชนะแต่ละตัวก็มีความถี่ และความดังที่แตกต่างกันอีกเช่นกัน  

เสียงของผู้หญิงจะแหลมกว่าเสียงผู้ชาย หรือเรียกได้ว่า เสียงผู้หญิงจัดเป็นเสียงที่อยู่ในช่วงความถี่สูงกว่าเสียงผู้ชาย ส่วนระดับเสียงดัง-เบาอาจมีความแตกต่างกันได้ในแต่ละบุคคล

 

วิธีการป้องกันหูจากเสียงดัง

สำหรับการป้องกันหูจากเสียงดัง มี 3 ปัจจัยที่เราควรทราบ และควบคุมไม่ให้เกิน เพื่อป้องกันไม่ให้หูของเราเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร ได้แก่ 

  1. ความดังของเสียง
  2. ระยะเวลาในการฟัง
  3. ความถี่ในการรับฟัง  (บ่อยครั้งเพียงใด)

*** สำหรับเสียงที่ไม่ดังมากแต่หากฟังเป็นระยะเวลานานก็อาจมีอันตรายพอๆกับการฟังเสียงดังในระยะเวลาสั้น ๆ ได้เช่นกัน

 

องค์การอนามัยโลกแนะนำ

การรับฟังเสียงต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน คุณสามารถดูแลตัวเองได้ดังต่อไปนี้

  • สำหรับผู้ใหญ่ สามารถฟังระดับเสียงไม่เกิน 80 เดซิเบลได้ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
  • สำหรับเด็กสามารถระดับเสียงไม่เกิน 75 เดซิเบลได้ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 

หากเสียงดังกว่านั้น เวลาที่แนะนำจะลดน้อยลง เช่น ไม่ควรฟังระดับเสียง 100 เดซิเบลเอเกิน 15 นาที

  • ในบ้านและห้องเรียนไม่ควรมีเสียงดังเกิน 35 เดซิเบล  
  • ในห้องนอนไม่ควรมีเสียงดังเกิน 30 เดซิเบล (เป็นคำแนะนำสำคัญในการพิจารณาเลือกชนิดเครื่องปรับอากาศ เพราะหากเสียงดังเกินกว่าคำแนะนำ และต้องอาศัยอยู่ในห้องดังกล่าวเป็นเวลาหลายชั่วโมง จะทำให้ประสาทการได้ยินเสื่อมลงได้)
  • เสียงดังในงานเลี้ยง หรือ โรงภาพยนตร์จะอยู่ประมาณ 100 เดซิเบล ดังนั้นไม่ควรอยู่ในงานเลี้ยงเกิน 4 ชั่วโมง 
  • เสียงจากลำโพงชนิดครอบศีรษะดังประมาณ 85 เดซิเบล จึงไม่ควรฟังนานกว่า 8 ชั่วโมง 
  • เสียงจากหูฟังชนิดสอดในรูหูเสียงจะดังถึง 105 เดซิเบล จึงไม่ควรใช้หูฟังเกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน

—–
Vector Designed by freepik

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *