เครื่องช่วยฟัง กับการปรับตัว : การใส่เครื่องช่วยฟังแล้วประสบความสำเร็จจะเป็นการเพิ่มการได้ยินและยกระดับคุณภาพชีวิตขึ้น แต่การปรับตัวให้ประสบความสำเร็จในการฟังเสียง และการทำให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการใช้เครื่องช่วยฟังนั้นจะต้องใช้เวลาเล็กน้อย คำแนะนำที่ช่วยในการปรับตัวมีดังนี้
1. ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกของ การปรับตัวเมื่อใช้ เครื่องช่วยฟัง
ควรใช้ เครื่องช่วยฟัง เป็นระยะเวลาสั้น ๆ หลาย ๆ ครั้งต่อวัน เพื่อให้คุ้นเคยและง่ายต่อการฟังในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น อาจใช้การพูดกับเพื่อนหรือฟังเพลงเป็นระยะเวลา 1 หรือ 2 ชั่วโมง ถ้ารู้สึกเหนื่อยหรือระคายเคืองให้ถอดเครื่องช่วยฟังออกประมาณ 2-3 ชั่วโมง และในวันต่อมาควรพยายามใส่เครื่องช่วยฟังอีกครั้ง
เมื่อรู้สึกสบายกับการใส่เครื่องช่วยฟังมากขึ้น อาจจะเพิ่มความสามารถในการฟังตามสถานการณ์ต่างๆ เพิ่มขึ้น โดยรวมไปถึงการฝึกสนทนาเป็นกลุ่มหรือการดูโทรทัศน์ อาจจะได้ยินเสียงที่ไม่เคยได้ยินเพราะการสูญเสียการได้ยินที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้า และจะได้ยินบางเสียงที่ผิดแปลกไปเล็กน้อยหรือไม่เป็นธรรมชาติซึ่งลักษณะดังกล่าวเกี่ยวกับการตอบสนองของเครื่องช่วยฟัง และจะสามารถปรับตัวได้ดีขึ้นเมื่อใส่เครื่องช่วยฟังเป็นระยะเวลาหนึ่ง พยายามฟังเสียงโดยเฉพาะเสียงพูดในที่ที่มีเสียงรบกวน
ผู้ใช้สามารถปรับระดับความดังของเครื่องช่วยฟังในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่สูญเสียการได้ยินได้รับประโยชน์จากเครื่องช่วยฟัง พยายามไม่ปรับให้มีระดับความดังเบาเกินไปซึ่งการปรับเช่นนี้จะทำให้ผู้ใช้ไม่ได้รับประโยชน์จากเครื่องช่วยฟังเลย การฝึกจะต้องปรับระดับความดังที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์นั้นๆ และปรับให้เป็นธรรมชาติมากขึ้น เครื่องช่วยฟังบางเครื่องมีวงจรปรับระดับความดังอัตโนมัติ ผู้ใช้สามารถตรวจสอบการปรับความดังของเครื่องช่วยฟังกับนักแก้ไขการได้ยินได้
2. ในช่วงเดือนแรก
เมื่อผ่านสัปดาห์แรก ๆ ไป จะเป็นช่วงสำคัญในการใช้เครื่องช่วยฟังให้เกิดความสบายร่วมด้วย ในระหว่างช่วงระยะเวลาที่ทำการทดสอบจะต้องแน่ใจว่าผู้ใช้มีความพึงพอใจกับประสิทธิภาพของเครื่องช่วยฟัง
ในช่วงท้ายของเดือนแรก ผู้ใช้ควรสวมใส่เครื่องช่วยฟังให้มากขึ้นและใช้ในสถานการณ์ที่ยากขึ้น และไม่ควรทำเช่นนี้ถ้าผู้ใช้ยังพบปัญหาเมื่ออยู่ในสถานที่ที่มีเสียงรบกวนมากๆ เช่น ร้านอาหาร หรือ งานสังคมต่างๆ บุคคลที่มีระดับการได้ยินปกติบางครั้งก็จะมีความยากลำบากในการฟังในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงรบกวนเช่นกัน ที่สำคัญคือ เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้ทุกสถานการณ์ เครื่องช่วยฟังจะช่วยขยายเสียงให้ได้ยินชัดเจนขึ้นแต่ไม่ได้ทำหน้าที่แทนการได้ยินของผู้ใช้
3. หลังจากเดือนแรก
หลังจากช่วงระยะเวลาทดลอง ผู้ใช้ควรมีการจัดตารางเพื่อมาพบนักแก้ไขการได้ยินเป็นครั้งคราว และควรจะโทรปรึกษาทุกครั้งเมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับเครื่องช่วยฟัง แนะนำให้มีการนำเครื่องช่วยฟังมาตรวจสอบสภาพและทำความสะอาดทุกๆ 3-4 เดือน ควรทำการตรวจสอบและซ่อมแซมเครื่องช่วยฟัง 2 ครั้งต่อปี
ทัศนคติของ การปรับตัวเมื่อใช้ เครื่องช่วยฟัง
ทัศนคติเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยินและเครื่องช่วยฟังเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก เป็นการยากที่จะยอมรับความจริงที่ว่ามีการสูญเสียการได้ยินเกิดขึ้น ควรบอกกับครอบครัวและเพื่อนว่าท่านมีการสูญเสียการได้ยิน เพื่อให้การสนทนาของบุคคลเหล่านี้อยู่ในตำแหน่งที่ง่ายต่อการมองและการเข้าใจมากขึ้น ไม่ควรจะรู้สึกอับอายและซ่อนเครื่องช่วยฟังไว้ ให้คิดในเชิงบวกเข้าไว้
หลักการพื้นฐาน 4 ข้อ
- เริ่มต้นใส่เครื่องช่วยฟังเป็นระยะเวลาสั้น ๆ หลายๆครั้งต่อวัน และเพิ่มระยะเวลาในการใส่จนกระทั่งผู้ใช้สามารถใส่เครื่องช่วยฟังได้ตลอดทั้งวัน
- สวมใส่เครื่องช่วยฟังในสถานทีเงียบ ๆ ก่อน ค่อย ๆ ใส่เครื่องช่วยฟังในที่มีสถานที่มีเสียงรบกวนอย่างช้า ๆ เมื่อใส่ในบริเวณที่มีฝูงชนจะทำให้มีความเข้าใจกับคำพูดยากขึ้นและต้องอดทนต่อเสียงรบกวนที่ดังมากขึ้น ห้องที่มีคนอยู่กันหนาแน่นเป็นสถานที่ที่ยากต่อการฟังเสียงสนทนาแม้ในบุคคลที่มีการได้ยินแบบปกติก็ตาม ถ้าไม่สามารถทนฟังเสียงในสภาพแวดล้อมดังกล่าวได้ ควรปรึกษากับนักแก้ไขการได้ยิน อาจจำเป็นต้องมีการปรับเครื่องช่วยฟัง
- ปรับระดับเสียงให้เหมาะสมกับสถานที่ เปลี่ยนระดับเสียงเมื่อจำเป็น และควรมีการปรับเครื่องช่วยฟัง เมื่อผู้ใช้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงลมดังมาก ๆ ซึ่งจะทำให้ไม่ต้องปรับระดับความดังของเครื่องช่วยฟังบ่อย ๆ
- หากผู้ใช้มีคำถามหรือประสบปัญหากับ เครื่องช่วยฟัง หรือ กับการปรับตัว ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับโรคหูเพิ่มเติมได้ที่ บทความ
Line Official : @hearlifeth
Facebook: https://www.m.me/hearlifethai
หรือโทร 02-693-9411
No responses yet