คาเฟอีน มีผลกับหูหรือไม่ ? เป็นคำถามที่นักวิจัยในต่างประเทศตั้งข้อสงสัยกันว่าการบริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนอาจส่งผลกระทบต่อการได้ยิน อาการหูอื้อ มีเสียงรบกวนในหู รวมถึงโรคมีเนียร์ได้
ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ค่อยมีการทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้มากนัก แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้คนมักจะคิดว่าการดื่มกาแฟอาจไม่มีผลข้างเคียงใดใดเกี่ยวกับสุขภาพการได้ยิน
คาเฟอีน คืออะไร ?
คาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นตามธรรมชาติที่พบในกาแฟ ชา ช็อคโกแลต และเครื่องดื่มชูกำลังหลายชนิด รวมทั้งยาแก้หวัด ยาแก้ปวด และยารักษาภูมิแพ้ที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์
คาเฟอีนทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง เพิ่มการไหลเวียนของสารสื่อประสาท และช่วยให้เราไม่รู้สึกเหนื่อยล้าหลังจากการนอนดึกในคืนที่ผ่านมา จากการศึกษามีข้อมูลระบุว่าคาเฟอีนอาจลดความเสี่ยงของมะเร็งบางชนิด เช่น ตับ ปาก และลำคอ ตลอดจนเบาหวานชนิดที่ 2 โรคพาร์กินสัน และโรคหลอดเลือดสมองได้
ส่งผลต่อการสูญเสียการได้ยินอย่างไร ?
คาเฟอีนมีผลทำให้หลอดเลือดแข็งตัวและสามารถทำให้ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งระบบการไหลเวียนของเลือดที่ดีเป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งผลให้มีสุขภาพการได้ยินที่ดี ดังนั้นนักวิจัยจึงตั้งข้อสังเกตและทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้
ซึ่งจากการศึกษาเชิงสังเกตขนาดใหญ่ของเกาหลีไม่พบความเชื่อมโยงในเรื่องนี้ และในความเป็นจริงกลับพบว่าผู้ที่ดื่มกาแฟมีอัตราการสูญเสียการได้ยินต่ำกว่าผู้ที่ไม่ดื่มกาแฟซะอีก
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วดูเหมือนว่าการบริโภคคาเฟอีนในปริมาณปกติ (ประมาณ 2 ถ้วยกาแฟต่อวันหรือน้อยกว่านั้น) จะไม่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการได้ยินของคุณในระยะยาว
คาเฟอีน อาจส่งผลกระทบต่ออาการสูญเสียการได้ยินชั่วขณะหลังจากสัมผัสเสียงดังได้ ?
หลังได้ยินเสียงที่ดังมากๆคุณเคยรู้สึกว่าหูอื้อและได้ยินเสียงต่างๆแปลกไปจากเดิมไหม ? ถ้าใช่นั่นแสดงว่าคุณเคยมีประสบการณ์สูญเสียการได้ยินชั่วคราว ( Temporary Thresholds Shift ; TTS ) ซึ่งอาการสูญเสียการได้ยินชั่วคราวนี้เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเซลล์ขนที่บอบบางของหูชั้นในของคุณทำงานหนักเกินไปและเหนื่อยล้าแล้ว
เพราะโดยปกติแล้วหลังจากการสัมผัสเสียงดังการได้ยินของคุณจะฟื้นตัวภายในสองสามวัน หากช้ากว่านี้แนะนำให้คุณงดคาเฟอีนจนกว่าการได้ยินของคุณจะกลับมาเป็นปกติ ( จากการศึกษาในปี 2559 พบว่าการบริโภคคาเฟอีนทุกวันอาจยืดเวลาการฟื้นตัวจากอาการสูญเสียการได้ยินชั่วคราว อย่างไรก็ตาม การศึกษาในครั้งนั้นได้ดำเนินการกับหนูตะเภากลุ่มเล็กๆเท่านั้น ซึ่งอาจจะไม่มีผลกระทบเช่นเดียวกันกับในคนก็เป็นได้ )
ผู้ป่วยมะเร็งควรระมัดระวังในการบริโภคคาเฟอีน ?
ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ใช้ยาซิสพลาติน ( Cisplatin )ควรระมัดระวังในการใช้ยาร่วมกับการบริโภคคาเฟอีน
เป็นที่ทราบกันดีว่ายาซิสพลาตินทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินและหูอื้อในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า cisplatin-induced hearing loss ได้มีการศึกษาในหนูทดลองในปี 2019 พบว่าการให้ยาซิสพลาตินร่วมกับคาเฟอีนเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดการสูญเสียการได้ยิน
ซึ่งผู้ทำการศึกษาได้เขียนสรุปไว้ว่า “ผลการวิจัยเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงปฏิกิริยาระหว่างยาที่มีพิษต่อหู และปฏิกิริยาระหว่างคาเฟอีนและซิสพลาตินที่ก่อให้เกิดพิษต่อหู และแนะนำว่าควรมีคำเตือนเกี่ยวกับการบริโภคคาเฟอีนในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดที่มีการใช้ยาซิสพลาติน”
คาเฟอีนกับอาการมีเสียงรบกวนในหู ?
จากรายงานวิจัยระบุว่าผู้ที่มีเสียงรบกวนในหูนั้นไม่จำเป็นต้องงดคาเฟอีน
จนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีงานวิจัยรองรับอย่างชัดเจนในเรื่องนี้ว่าการงดคาเฟอีนจะบรรเทาอาการเสียงรบกวนในหูได้ แต่กลับมีการศึกษาหนึ่งเกี่ยวกับผู้หญิงพบว่าผู้หญิงที่ดื่มกาแฟในปริมาณมากมีอัตราการเกิดเสียงรบกวนในหูน้อยกว่าผู้หญิงที่ไม่ได้ดื่มกาแฟ
ซึ่งคล้ายกับการศึกษาก่อนหน้านี้ที่ระบุว่า “การเลิกคาเฟอีน” ในผู้ที่มีเสียงรบกวนในหูนั้นเป็นวิธีการรักษาที่ไม่ได้ผลเลย ยิ่งไปกว่านั้นอาการถอนคาเฟอีนอาจเป็นที่เรื่องน่าวิตกยิ่งกว่าด้วยซ้ำไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็มีผู้ป่วยบางรายที่ให้การรายงานว่าเขามีอาการดีขึ้นเมื่อพวกเขางดคาเฟอีนเช่นกัน
ซึ่งคุณอาจทดลองงดคาเฟอีนแล้วสังเกตอาการตัวเองของตัวเองดูได้ หากอาการเสียงรบกวนในหูของคุณดีขึ้นคุณก็สามารถงดคาเฟอีนต่อไปได้
ผู้ทำการศึกษากล่าวว่า “ ไม่พบหลักฐานที่ชี้ให้เห็นถึงเหตุผลของการเลิกคาเฟอีนในการบำบัดเพื่อบรรเทาอาการเสียงรบกวนในหู และผลกระทบเฉียบพลันของการถอนคาเฟอีนอาจเพิ่มความรุนแรงของเสียงรบกวนในหูด้วยซ้ำ ”
คาเฟอีนกับโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
ในบางครั้งแพทย์อาจสั่งให้ผู้ป่วยโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s Disease) ลดการบริโภคแอลกอฮอล์ เกลือ และคาเฟอีนเพื่อช่วยบรรเทาอาการโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการเปลี่ยนแปลงอาหารอาจเป็นประโยชน์สำหรับบางคน โดยเฉพาะการทานอาหารที่มีเกลือต่ำ แต่มีหลักฐานเพียงเล็กน้อยในหัวข้อนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพูดถึงคาเฟอีนและแอลกอฮอล์
ในทางทฤษฎีกล่าวไว้ว่า “การบริโภคคาเฟอีนและแอลกอฮอล์อาจทำให้หลอดเลือดตีบ (vasoconstriction) และอาจส่งผลให้ปริมาณเลือดไปเลี้ยงหูชั้นในลดลง ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลง”
ซึ่งผู้เขียนได้ทบทวนหลักฐานที่ทฤษฎีกล่าวเกี่ยวกับการเปลี่ยนอาหารพบรายงานว่า “แพทย์หลายคนแนะนำให้ผู้ป่วยทดลองเปลี่ยนอาหารเป็นการรักษาทางเลือกแรก เนื่องจากคิดว่าเป็นทางเลือกในการรักษาที่ค่อนข้างง่ายและราคาไม่แพง” ซึ่งน่าผิดหวังที่ผู้เขียนพบว่าในหัวข้อต้องไตร่ตรองอย่างเคร่
ครัด เนื่องจากเป็นขาดความน่าเชื่อถือ ผู้ป่วยได้รับการแนะนำเช่นนี้อย่างกว้างขวางโดยไม่มีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่าเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยจริง หรือไม่มีความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้น อาจทำให้การรักษาที่มีประสิทธิภาพเกิดการชะลอตัวลงและอาจทำให้อาการของโรคเพิ่มมากขึ้นและเพิ่มความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วยเพราะผลข้างเคียงจากการงดบริโภคอาหารดังกล่าว
จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังไม่มีการศึกษามากพอที่จะทำให้เราทราบได้ว่าคาเฟอีนมีผลกระทบต่อโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน การสูญเสียการได้ยิน หรืออาการมีเสียงรบกวนในหู หรือไม่ อย่างไรก็ตามหากคุณชอบดื่มกาแฟ โซดา หรือเครื่องดื่มชูกำลังและคุณยังคงมีสุขภาพร่างกายและสุขภาพการได้ยินดีอยู่ก็ไม่มีความจำเป็นใดใดที่คุณจะต้องหยุดหรือเลิกดื่มมัน แต่หากคุณเริ่มมีปัญหาสุขภาพ คุณอาจทดลองดูก็ได้เผื่อมันจะเป็นประโยชน์กับคุณ
ที่มา : healthyhearing.com
สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับโรคหูเพิ่มเติมได้ที่ บทความ
Line Official : @hearlifeth
Facebook: https://www.m.me/hearlifethai
หรือโทร 02-693-9411
No responses yet