สิ่งของบางอย่างที่มีการใช้งานเป็นประจำในทุกๆวันนั้นก็จะมีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายได้มากกว่าอุปกรณ์อื่นๆที่ไม่ค่อยได้ใช้งานซึ่งเครื่องประมวลเสียงของชุดประสาทหูเทียมนั้นเป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้งานทุกวันวันล่ะหลายชั่วโมงทำให้มีโอกาสที่เครื่องประมวลเสียงจะเกิดความเสียหายได้จากสาเหตุต่างๆจากการใช้งานวันนี้ทางเรามีข้อแนะนำเล็กๆน้อยๆที่สามารถยืดอายุการใช้งานเครื่องประมวลเสียงให้สามารถใช้งานในสภาพที่สมบูรณ์ให้ได้นานที่สุดซึ่งจะแบ่งเป็น 5 ข้อดังนี้
1. อย่าฝืน
ในการถอดประกอบอุปกรณ์ต่างๆนั้น จะมีบางครั้งที่ไม่สามารถทำได้อย่างราบรื่นเหมือนเคย ทั้งนี้ทั้งนั้นเวลาถอดประกอบอุปกรณ์ หากทำได้อย่างถูกวิธีจะทำได้อย่างง่ายมากโดยไม่ต้องใช้แรงในการถอดประกอบเลย หากเมื่อใดที่ท่านรู้สึกว่าต้องใช้แรงมากกว่าปกติ ต้องมีการฝืน ดันแสดงว่ามีบางอย่างไม่ถูกต้อง ให้หยุดการถอดประกอบนั้นไว้ก่อน แล้วค่อยลองใหม่อีกครั้งนึง หรือหากท่านไม่ทราบวิธี ให้ลองศึกษาจากคู่มือ วิดิโอ หรือติดต่อทางบริษัท
2. ระมัดระวังสายสัญญาณเป็นพิเศษ
หากท่านใช้เครื่องปวะมวลเสียงรุ่นแขวนหู เช่น OPUS 2 หรือ SONNET พยายามอย่าบิดหรือหมุนสายสัญญาณในขณะที่ท่านกำลังใส่เครื่องประมวลเสียง สายสัญญาณชำรุดนั้นสามารถพบได้บ่อยมากซึ่งเกิดจากการบิดหรือม้วนของตัวสาย ฉะนั้นหากท่านต้องการยืดอายุการใช้งานของสายสัญญาณ กรุณาระมัดระวังการใช้งานสายสัญญาณเป็นพิเศษ
3. เปลี่ยนฝาครอบทุกๆ 3 เดือน
แนะนำให้เปลี่ยนฝาครอบไมโครโฟนสำหรับผู้ใช้ Sonnet และเปลี่ยนฝาครอบเครื่องประมวลเสียงสำหรับผู้ใช้ RONDO 2 ในทุกๆ 3 เดือน
4. ใช้เครื่องดูดความชื้น
หากท่านไม่ได้ใช้เครื่องประมวลเสียงรุ่น RONDO 2 ท่านควรใช้เครื่องดูดความชื้นทุกคืน เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องความชื้น
5. ระมัดระวังการร่วงหล่น
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อตัวเครื่องประมวลเสียง ท่านควรยึดเครื่องประมวลเสียงของท่านให้ดี และเหมาะสมกับกิจกรรมที่ท่านทำ ซึ่งตัวยึดเครื่องประมวลเสียงนั้นมีหลากหลายชนิด ท่านควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ท่านทำ เช่น คลิปหนีบผม คลิปหนีบเสื้อ ผ้าคาดศีรษะ เป็นต้น
No responses yet