การสูญเสียการได้ยินมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน และสามารถที่จะได้รับการแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญทางการได้ยิน หรือถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “นักโสตสัมผัสวิทยา” ซึ่งจะเป็นผู้ช่วยเหลือทั้งด้านการค้นหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นและตั้งโปรแกรมให้กับเครื่องช่วยฟังหรือประสาทหูเทียมได้อย่างเหมาะสม โสตวิทยาและการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยินมีการให้บริการหลากหลายด้าน ดังต่อไปนี้ การทดสอบและตรวจวินิจฉัยเกี่ยวกับการได้ยิน การตรวจประเมินการได้ยิน (Audiometry) เพื่อให้ทราบถึงลักษณะของการได้ยินและพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในหู การตรวจประเมินการได้ยินระดับก้านสมอง (Auditory brain stem testing) เพื่อดูการทำงานของระบบการได้ยินตั้งแต่การรับเสียงผ่านหูจนถึงระดับก้านสมอง การตรวจเสียงสะท้อนของหูชั้นใน (Otoacoustic emission […]
สัญญาณของร่างกายที่แสดงถึงการมีปัญหาเรื่องการได้ยินมักจะปรากฎขึ้นเพื่อเตือนภัยถึงสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ภายในร่างกาย คุณก็สามารถสังเกตสัญญาณที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง ซึ่งสัญญาณของหูตึงมีดังนี้ ไม่เข้าใจเสียงคำพูดขณะสนทนา ต้องถามให้ผู้พูดพูดซ้ำเนื่องจากการฟังที่ไม่ชัดเจน เปิดเสียงโทรทัศน์หรือวิทยุดังขึ้น ได้ยินเสียงผู้อื่นพูดเป็นลักษณะก้องอู้อี้ไม่ชัดเจน ฟังจับใจความได้ยากเมื่อมีการสนทนาเป็นกลุ่มโดยเฉพาะในสถานที่ที่มีเสียงรบกวน มีเสียงดังหรือเสียงรบกวนในหู เมื่อคุณตรวจสอบพบว่าตนเองมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น อาจจะเริ่มต้นสังเกตเรื่องการได้ยินผ่านการตอบแบบสอบถาม โดยท่านสามารถทำแบบสอบถามการได้ยินได้ด้วยตัวเองที่นี้ https://hearingaidsbestprice.com/online-hearing-test/
ในหลายๆครั้งที่ผู้ใช้งานเครื่องช่วยฟังประสบปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องช่วยฟัง แต่ไม่ทราบว่าจะปรึกษาใคร ทั้งนี้ด้วยประสบการณ์ของผู้เขียนที่พบเจอผู้ใช้งานเครื่องช่วยฟังมาหลายๆท่าน ผู้เขียนจึงได้รวบรวมปัญหาที่พบบ่อยๆมาให้ทุกท่านได้ทราบกัน เพื่อเป็นอีกหนึ่งหนทางเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับทุกท่าน หวังว่าคำถามและคำตอบที่ผู้เขียนรวบรวมมาจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย 1. รู้สึกไม่คุ้นเคยกับการใส่เครื่องช่วยฟัง การใส่เครื่องช่วยฟังซึ่งเป็นอุปกรณ์ใหม่ อาจทำให้รู้สึกไม่สะดวก และไม่เคยชินได้ ในระยะแรกของการใส่เครื่องช่วยฟังจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความคุ้นเคยกับอุปกรณ์และการใส่เครื่องช่วยฟังก่อน ข้อควรปฏิบัติง่ายๆ เพื่อให้ช่วยในการปรับตัวเกิดความเคยชินได้แก่ เริ่มใช้เครื่องช่วยฟังในสถานที่เงียบ หรือเมื่ออยู่เพียงลำพังก่อน เมื่อเกิดความคุ้นเคยจึงเริ่มใส่เมื่อมีผู้สนทนาด้วยเพียงหนึ่งคน […]
จากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ประชาชนทุกคนต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยในที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส บทความนี้จึงเขียนขึ้นเพื่อให้คำแนะนำผู้ที่ใส่เครื่องช่วยฟังในขณะที่ใส่หน้าหากอนามัยซึ่งอาจทำให้เครื่องช่วยฟังโดยสายคาดหูเกี่ยวและอยู่ในตำแหน่งที่ผิดไปจากปกติได้ 9 คำแนะนำในการช่วยรักษาเครื่องช่วยฟังให้ปลอดภัยขณะสวมใส่หน้ากากอนามัย หากผู้ใช้เครื่องไว้ผมยาวควรจะรวบผมมัดไว้ด้านหลัง เพื่อเป็นการเปิดตำแหน่งหูของคุณให้ชัดเจน และสวมใส่เครื่องช่วยฟังแล้วจึงใส่หน้ากากอนามัย ควรนำแว่นตาออกก่อนการใส่หน้ากากอนามัย ควรใช้หน้ากากอนามัยแบบเป็นผ้าหรือเส้นเชือก 4 เส้น ในการผูกไว้ด้านหลังศีรษะแทนการใช้แบบหูห่วง ระมัดระวังเครื่องช่วยฟังก่อนเสมอ ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าสายคล้องหูอยู่ด้านนอกของตัวเครื่องช่วยฟัง ไม่เกี่ยวกับตัวเครื่องช่วยฟังเพื่อป้องกันการตกหล่นระหว่างการถอดเข้าออกของหน้ากากอนามัย ใช้อุปกรณ์เสริมอื่นๆที่ใช้รั้งสายหน้ากากอนามัยไม่ให้อยู่บริเวณตำแหน่งเครื่องช่วยฟังที่วางหลังใบหู หรือใช้สายคลิปคล้องเครื่องช่วยฟังเพื่อป้องกันเวลาตกหล่นได้ ควรตรวจสอบเครื่องช่วยฟังอย่างสม่ำเสมอว่ายังวางอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องในขณะสวมใส่หรือถอดหน้ากากอนามัย และควรตรวจสอบว่าเครื่องช่วยฟังยังอยู่บนหูของคุณหรือไม่ […]