หู เป็นอวัยวะที่สําคัญและมีค่าต่อชีวิตของเรามาก หูช่วยให้เราได้ยิน ได้เรียนรู้ ได้เข้าใจ ได้รู้ถึงอันตรายที่เกิดขึ้น และยังมีคุณค่าต่อชีวิตของเรานานับประการ
ความผิดปกติทางการได้ยินอาจเกิดกับบุคคลใดก็ได้ แม้ว่าจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็ทําให้บุคคลนั้นรู้สึกหงุดหงิด รําคาญใจที่ฟังคนอื่นพูดไม่รู้เรื่อง ซึ่งมีผลกระทบต่อจิตใจ และอารมณ์ของบุคคลนั้น
ฉะนั้นเพื่อป้องกันความผิดปกติทางการได้ยินจึงมีข้อแนะนําดังต่อไปนี้
1.ทุกครั้งที่มีปัญหาเกี่ยวกับหูควรปรึกษาแพทย์ หรือถ้าเป็นไปได้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางหูโดยเฉพาะ
2.ไม่ควรหยอดยาหรือรักษาหูเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์
3.อย่าแคะหรือล้างหูโดยไม่จําเป็น โดยเฉพาะไม่ควรให้ช่างตัดผมแคะขี้หูให้โดยเด็ดขาด
4.สําหรับสตรีที่กําลังตั้งครรภ์และมีอาการแพ้ท้องมาก ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เพราะยาแก้แพ้บางชนิดมีผลต่อเด็กในครรภ์ ทําให้เด็กหูพิการได้
5.ไม่ควรเข้าไปในบริเวณที่มีเสียงดังมากๆ เช่น ในโรงงานอุตสาหกรรม บริเวณสนามบิน หรือบริเวณที่มีการจุดประทัด ระเบิด พลุหรือยิงปืน เป็นต้น เพราะเสียงดังเหล่านี้จะทําลายประสาทหูได้ ในกรณีที่ทํางานกับเครื่องจักรที่มีเสียงดังมากๆ เช่น เครื่องยนต์ เครื่องทอผ้า เครื่องไสไม้ หรือเครื่องจักรในโรงงานหลอมโลหะ โรงงานแก้ว ฯลฯ ควรใช้เครื่องป้องกันเสียงอุดหู เพื่อป้องกันประสาทหูถูกทําลาย
6.มียาหลายประเภทที่เป็นพิษต่อประสาทหู ฉะนั้นในการใช้ยาทุกครั้งไม่ว่าจะเป็นยาฉีดหรือยารับประทาน จําเป็นต้องปรึกษาแพทย์เสมอ และควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาดังต่อไปนี้
- ยารักษามาลาเรีย (ควินิน) หรือยาแก้ปวดเช่น เอ.พี.ซี, แอสไพริน ถ้าจําเป็นต้องรับประทานแล้วมีอาการหูอื้อ ให้หยุดยาทันที
- ยาฉีดประเภทยาปฏิชีวนะต่างๆ เช่น สเตร็ปโตมัยซิน หรือยารักษาวัณโรค เนื้องอก โรคไตอาจทําให้ประสาทหูเสื่อมได้
7.ถ้าท่านมีอาการเวียนศรีษะมาก และเวียนแบบตัวหมุน หรือบ้านหมุน ควรไปพบแพทย์
8.สําหรับครอบครัวที่มีบุตรหูหนวก หรือหูตึงแต่กําเนิด ควรปรึกษานักแก้ไขการได้ยิน และควรพาบุตรคนอื่นๆไปตรวจหาระดับการได้ยินเพราะอาการหูหนวกอาจมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ บุตรคนอื่นจึงมีปัจจัยเสี่ยงที่จะมีอาการหูหนวกได้เช่นกัน
สําหรับเด็กที่มีประวัติดังต่อไปนี้ถือเป็นสัญญาณที่ควรนําเด็กไปพบแพทย์
- ไม่สะดุ้งหรือตกใจต่อเสียงดัง
- ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย
- พูดแล้วฟังไม่เข้าใจ หรือ มักถามซ้ำๆ
- ชอบมองหน้าเวลาพูดด้วย
- ตอบไม่ตรงคําถาม
- ดูโทรทัศน์หรือฟังวิทยุดังกว่าปกติ
- หูอักเสบบ่อย
- ตอบสนองต่อเสียงไม่สม่ำเสมอ
No responses yet