หูอวัยวะสำคัญที่ช่วยให้เราได้ยิน โดยกายวิภาคของหูได้แบ่งหูออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และ หูชั้นใน โดยหูชั้นนอก จะประกอบด้วย ใบหู ช่องหู และแก้วหู ซึ่งใบหูจะทำหน้าที่ป้องกันเสียงเข้าสู่ช่องหู และ ช่องหูทำหน้าที่เป็นทางนำเสียงไปสู่แก้วหู ทำให้แก้วหูสั่น

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าหากเกิดปัญหาหรือความผิดปกติกับหูชั้นนอกนั้นอาจทำให้เกิดอาการหูตึงชนิดการนำเสียงบกพร่อง เมื่อมีการอุดกั้นทางเดินของเสียง ปัญหาที่เกิดขึ้นบริเวณหูชั้นนอกนั้นมีโอกาสเป็นไปได้ ดังนี้

  1. การเกิดขี้หูอุดตัน

ขี้หู หรือ ear wax สร้างมาจากต่อมขี้หูภายในช่องหูภายในร่างกายตามปกติ ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายจะกำจัดขี้หูออกมาภายนอกได้เอง ในกรณีของผู้ที่มีช่องหูแคบจากการอักเสบหรือมีกระดูกงอกของช่องหู ขี้หูจะอุดตันได้ง่าย หรือ หลังอาบน้ำเสร็จหลายคนมักที่จะชอบแคะหรือปั่นหูบ่อยๆ ด้วยไม้พันสำลี ซึ่งบางทีไม้พันสำลีที่มีขนาดใหญ่เกินไปอาจดันขี้หูให้กลับเข้าไปอยู่ในช่องหู หรือ อัดให้ขี้หูแน่นจนเกิดช่องหูอุดตันทำให้เกิดอาการหูตึง บางรายอาจมีการเกิดการสะสมของขี้หูภายในช่องหูแต่ไม่ถึงขั้นอุดตันจะยังคงได้ยินเสียงแบบปกติ แต่ถ้าโดนน้ำหรือมีน้ำเข้าหูขณะอาบน้ำขี้หูจะพองตัวขึ้น อุดตันในช่องหูจะทำให้เกิดอาการหูอื้อ

  1. หูชั้นนอกอักเสบ

การเกิดการอักเสบจะมาจากเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่มาจากการแคะ แกะ เกาด้วยเครื่องมือที่ไม่สะอาด หรือมีสิ่งสกปรกติดมาด้วยทำให้ช่องหูอักเสบบวมแดง ผู้ที่เกิดอาการหูชั้นนอกอักเสบจะรู้สึกเจ็บปวดในหู ถ้าช่องหูมีอาการบวมแดงมากจนปิดบังหูอาจทำให้เกิดอาการหูตึงได้

  1. มะเร็งของช่องหู

มะเร็งในช่องหูจะมีลักษณะเป็นก้อนเนื้ออยู่บริเวณช่องหู หากก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่จะปิดรูหูทำให้เกิดอาการหูตึงได้ โดยผู้พบอาการเหล่านี้ในช่องหู เช่น มีน้ำเหลือง น้ำหนอง หรือเลือดไหลออกมาจากช่องหูและรู้สึกปวดหู ควรรีบไปพบโสต ศอ นาสิกแพทย์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยและทำการรักษาอาการที่ถูกต้อง ปลอดภัยต่อไป กรณีที่ไม่รีบไปพบแพทย์ ก้อนมะเร็งอาจโตขึ้นมากจนไปกด หรือ ทำลายเส้นประสาทที่เลี้ยงใบหน้าทำให้เกิดอัมพาตของใบหน้าได้

  1. เนื้องอกในช่องหู

เนื้องอกชนิดในช่องหูนี้ ถ้ามองผ่านช่องหูจะมองเห็นเป็นก้อนสีแดง บางครั้งอาจมีหนองบนก้อนเนื้องอกมักเกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหูชั้นนอก ถ้าก้อนใหญ่จนปิดช่องหูอาตทำให้หูตึงได้

  1. แก้วหูฉีกขาดจากอุบัติเหตุ

การถูกตบ กระชาก หรือโดนชกบริเวณหู จะก่อให้เกิดอาการปวดหู ซึ่งหากติดเชื้อจะมีหนองไหลออกจากหู อาจมีอาการหูอื้อ หรือหูตึง จะมีอาการมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของรูทะลุ ถ้ารูที่ทะลุมีขนาดเล็กแก้วหูสามารถเชื่อมปิดรูได้เอง แต่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากที่ไม่ให้น้ำ หรือ สิ่งสกปรกเข้าหู ถ้ารูทะลุมีขนาดใหญ่จะต้องผ่าตัดปะแก้วหู

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *