หนึ่งในคำถามที่พบบ่อย ๆ ในการผ่าตัดประสาทหูเทียม วันนี้จึงขออธิบายเกี่ยวกับ การฟื้นฟู สมรรถภาพการได้ยิน อย่างง่าย ๆ ให้ทุกคนเข้าใจกัน
จริง ๆ แล้วการผ่าตัดก็ถือเป็นการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน หรือ Rehabilitation อย่างหนึ่ง โดยการผ่าตัดนั้นถือเป็นขั้นตอนแรกในการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน แต่การผ่าตัดเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ผู้ที่สูญเสียการได้ยินมีสมรรถภาพการได้ยินดีขึ้นได้อย่างเต็มที่ ฉะนั้นหลังจากการผ่าตัดประสาทหูเทียม ผู้ที่สูญเสียการได้ยิน
โดยเฉพาะในกรณีเด็กที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่กำเนิด จึงต้องพัฒนาทักษะการฟังด้วยประสาทหูเทียมอยู่เสมอ ๆ เพื่อช่วยให้สมองทำความเข้าใจ เรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงกับเสียง ทำให้ทักษะการฟังและการสื่อสารพัฒนาขึ้นตามลำดับ โดยการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินสามารถทำได้ผ่านการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันต่างๆเช่น การพูดคุย การฟังเพลง การเล่นดนตรี หรือแม้กระทั้งการอ่านหนังสือ
ใน การฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน นั้นจะมีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาและอาชีพในการช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน
ผู้เชี่ยวชาญจากสาขาและอาชีพต่าง ๆ ที่ทำงานร่วมกันใน การฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน สามารถแบ่งได้ดังนี้
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านหู คอ จมูก (Ear Nose Throat Specialist : ENT)
แพทย์ หรือ หมอผู้เชี่ยวชาญในการตรวจ วินิจฉัย รักษาโรค และผ่าตัดทางหู คอ จมูก โดยแพทย์ ENT จะเป็นผู้ทำการผ่าตัดให้แก่ผู้ใช้งานประสาทหูเทียม
- นักแก้ไขการได้ยิน (Audiologist)
นักแก้ไขการได้ยินจะมีหน้าที่ตั้ง ปรับ และ แก้ไขโปรแกรมให้แก่ผู้ใช้งานประสาทหูเทียมตั้งแต่ก่อนเข้ารับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม นอกเหนือจากนั้นนักแก้ไขการได้ยินยังสามารถตรวจเช็กการได้ยินและช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพการฟังได้อีกด้วย
- นักแก้ไขการพูด (Speech and Language Pathologist/Therapist)
นักแก้ไขการพูดจะทำการประเมินทักษะทางการพูดและภาษาให้แก่ผู้สูญเสียการได้ยินก่อนเข้ารับการผ่าตัดประสาทหูเทียมพร้อมกับติดตามผลและพัฒนาทักษะการสื่อสาร และหากผู้ใช้งานประสาทหูเทียมบางรายมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการสื่อสารหรือภาษาก็สามารถปรึกษานักแก้ไขการพูดได้
- ครูการศึกษาพิเศษ (Hearing Therapist)
ครูการศึกษาพิเศษ คือ ผู้ประเมินและให้คำแนะนำเกี่ยวกับความคาดหวังในช่วงก่อนเข้ารับการผ่าตัดประสาทหูเทียม และหลังจากการผ่าตัดเสร็จสิ้นครูการศึกษาพิเศษจะช่วยฝึกฝนและฟื้นฟูการได้ยินหลังจากการใส่ประสาทหูเทียม
- จิตแพทย์หรือที่ปรึกษา (Psychologist หรือ Counsellor)
ไม่ใช่ว่าผู้ใช้งานประสาทหูเทียมทุกคนที่จะต้องเข้าพบจิตแพทย์หรือที่ปรึกษา แต่อย่างไรก็ตามในกรณีของผู้ใช้งานบางรายอาจจะต้องการที่ปรึกษาและสนับสนุนในแง่ของการให้กำลังใจและพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาภายในจิตใจ
- เพื่อน ๆ และครอบครัว (Family and Friends)
เพื่อน ๆ และครอบครัวถือเป็นบุคคลสำคัญอย่างยิ่งในการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน เนื่องจากเป็นบุคคลที่เข้าถึงและพูดคุยกับผู้ใช้งานประสาทหูเทียมมากที่สุด ดังนั้นการบอกให้เพื่อน ๆ และครอบครัวทราบเกี่ยวกับการใช้งานประสาทหูเทียมจะทำให้การสื่อสารดีมากขึ้นได้
สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับโรคหูเพิ่มเติมได้ที่ บทความ
Line Official : @hearlifeth
Facebook: https://www.m.me/hearlifethai
หรือโทร 02-693-9411
No responses yet