พูดล่าช้า

พัฒนาการทางภาษาและการ พูดล่าช้า (ตอนที่ 2)

 

พัฒนาการทางภาษาและการ พูดล่าช้า กว่าวัยคืออะไร

พัฒนาการทางภาษาและการ พูดล่าช้า เป็นความบกพร่องเกี่ยวกับพัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็ก โดยมีพัฒนาการด้านภาษาและการพูดล่าช้าไม่สมวัย มีความบกพร่องในด้านการเข้าใจคำพูดของผู้อื่นและ/หรือการใช้ภาษา ทำให้ตอบสนองต่อคำพูดของผู้อื่นไม่ถูกรวมถึงการเริ่มพูดคำแรกที่มีความหมายได้ล่าช้ากว่าเด็กอื่น ๆ ซึ่งอยู่ในวัยเดียวกัน พูดได้ไม่สมอายุ สื่อสารกับผู้อื่นด้วยคำพูดไม่ได้หรือถ้าพอพูดได้ก็ไม่สามารถเล่าเรื่องต่อเนื่องกัน รู้จักคำศัพท์อยู่ในวงจำกัดและเรียบเรียงถ้อยความได้ไม่ดี

 

วิธีการสังเกตดูว่าเด็กมีพัฒนาการทางภาษาและการ พูดล่าช้า หรือไม่

อายุ                                              การพูด

6 เดือน                     ไม่หันหาเสียงจากด้านหลังหรือด้านข้าง

10 เดือน                    ยังไม่มีการเล่นเสียงโต้ตอบ (Vocal Play) หรือไม่เปล่งเสียงตอบรับ

1 ปี                          พูดได้แต่เสียงสระไม่มีเสียงพยัญชนะ

1 ปี 3 เดือน                 ไม่เข้าใจความหมายของคำว่า “บ๊ายบาย”, “ขวดนม”

1 ปี 6 เดือน                 พูดคำโดดหรือคำเดี่ยวได้น้อยกว่า 10 คำ

1 ปี 9 เดือน                 ทำตามคำสั่งที่เกี่ยวกับทิศทางไม่ได้

2 ปี                          ยังพูดเป็นประโยคสั้นๆไม่ได้ หรือชี้บอกส่วนต่างๆของร่างกายไม่ได้

2 ปี 6 เดือน                ยังไม่สามารถพูดให้คนในครอบครัวฟังเข้าใจได้

3 ปี                          ยังไม่สามารถตั้งคำถามง่ายๆได้หรือยังไม่สามารถพูดให้บุคคลอื่นเข้าใจได้

4 ปี                          ยังพูดเล่าเรื่องไม่ได้ ยังใช้คำถาม “ทำไม”  ไม่ได้

6 ปี                          พูดออกมาแล้ว คนฟังเข้าใจไม่ถึง 80% ของเรื่องที่พูด

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *