ไม่สำคัญว่าคุณเป็นใครมาจากไหนหรือสนใจอะไร การฟังเพลงเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ทุกคนสามารถเพลิดเพลินได้แม้ว่าคุณจะใช้เครื่องประสาทหูเทียม ดังนั้นความเชื่อที่ว่าการใช้ประสาทหูเทียมนั้นไม่สามารถฟังเพลงหรือดนตรีได้ถือเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดเป็นอย่างยิ่ง โดย “การฟังเพลง” มีหลากหลายแง่มุม ยกตัวอย่างเช่น :
- การฟังเพื่อรับรู้ดนตรี
หมายถึง วิธีที่คุณรับรู้ดนตรี เช่น การจดจำจังหวะ
- การฟังเพื่อความเพลิดเพลินทางดนตรี
หมายถึง การเพลิดเพลินกับการฟังเพลง โดยไม่จำเป็นต้องมีการศึกษาด้านดนตรีหรือความรู้เฉพาะทาง
- การฟังเพื่อชื่นชมดนตรี
หมายถึง การมีประสบการณ์หรือความรู้เฉพาะทางด้านดนตรี เพื่ที่จะสามารถอธิบายดนตรีที่ฟังนั้นๆได้
ดังนั้นสิ่งสำคัญสำหรับการฟังดนตรี นั่นก็คือ คุณชอบที่จะฟัง
หลากหลายเพลง = สนุกยิ่งขึ้น
หากคุณใช้เครื่องประสาทหูเทียมและต้องการสร้างทักษะทางดนตรีของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทักษะการฟังของคุณ หรือ เพียงเพื่อเพลิดเพลินกับเสียงดนตรีมากขึ้น สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ มีส่วนร่วมกับดนตรี
การฟังเพลงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ “การมีส่วนร่วม” กับดนตรี และมีวิธีอีกมากมายที่คุณสามารถทำได้:
- ฟังเพลงบ่อยๆ และฟังอย่างกระตือรือร้น
- ดูมิวสิควิดีโอพร้อมกับการอ่านเนื้อเพลง ในขณะที่คุณกำลังฟัง
- เข้าร่วมหรือสร้างกลุ่มสำหรับผู้ที่สนใจฟังเพลง
- เรียนรู้ที่จะร้องเพลง หรือเล่นเครื่องดนตรี
- ใช้แอพพลิเคชั่น สำหรับฟื้นฟูการฟังด้วยดนตรี
จากวิธีการต่างๆด้านบน สิ่งสำคัญที่สุด ก็คือ การรับฟังอย่างสม่ำเสมอและความกระตือรือร้นในการฟัง เพราะหลายๆคน มักบอกว่า พวกเขาไม่ชอบฟังเพลง จนบางครั้งหลายๆคนคิดว่า เขาไม่สามารถสนุกกับการฟังเพลงและยอมแพ้ หลังจากที่มีประสบการณ์ที่ไม่ดีในช่วงเริ่มต้นของการฟังเพลงผ่านเครื่องประสาทหูเทียม
มีงานวิจัยบอกว่า
งานวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้ 1 วิจัยเกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์ฝึกอบรมการฟังดนตรีส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อความสามารถในการรับรู้ดนตรีของผู้ใช้ประสาทหูเทียม, ประสิทธิภาพการพูดและความเพลิดเพลินในการฟัง โดยผู้เข้าร่วมในการวิจัยนี้ใช้เวลา 4 สัปดาห์ โดยใช้โปรแกรมการฝึกอบรมและรายงานการเพิ่มทักษะ
ก่อนที่จะใช้โปรแกรมการฝึกอบรม ผู้เข้าร่วมในการวิจัยด้านดนตรี กล่าวว่าพวกเขาชอบดนตรีประมาณ 55% และหลังจากนั้นก็เพิ่มขึ้นเป็น 70%
ผู้เข้าร่วมในการวิจัยกลุ่มเดียวกันนั่น ก็เห็นการเพิ่มขึ้นในด้านอื่น ๆ ด้วย หลังจากใช้โปรแกรมการฝึกอบรมความสามารถในการเข้าใจรูปแบบดนตรีง่าย ๆ เปลี่ยนจากประมาณ 35% เป็นประมาณ 75% และคะแนนรูปแบบดนตรีที่ซับซ้อนเพิ่มขึ้นจาก 20% เป็นประมาณ 60%
นั่นหมายความว่า ไม่เพียงแต่พวกเขาจะเพลิดเพลินกับการฟังเพลงมากขึ้นเท่านั้น แต่พวกเขาสามารถระบุความแตกต่างในรูปแบบดนตรีที่แตกต่างกัน หลังจากเข้าร่วมในโปรแกรมการฝึกอบรม
การฟังเพลงด้วยประสาทหูเทียมสามารถพัฒนาทักษะการฟังของคุณ และดนตรีเป็นมากกว่าแค่ความสนุก มันสามารถช่วยในการพัฒนาทักษะการฟังได้
สรุปคือ การฝึกอบรมดนตรีสามารถช่วยให้ใครบางคนเข้าใจคำพูดได้ดีขึ้น เมื่ออยู่ในที่มีเสียงรบกวน ในการศึกษาเดียวกันกับที่เราได้พูดถึงข้างต้น ผู้เข้าร่วมในการวิจัยด้านดนตรี ได้คะแนนความเข้าใจคำพูดของพวกเขาในความเงียบดีขึ้นจากประมาณ 70% เป็นประมาณ 85% และ “ความเข้าใจคำพูดในที่มีเสียงรบกวน ” นั้นน่าประทับใจยิ่งกว่า เนื่องจากการประเมินการเข้าในคำพูดได้ถูกต้อง เปลี่ยนจากประมาณ 45% ก่อนการฝึกอบรม ไปจนถึงประมาณ 75% หลังจากนั้น 1
ดังนั้นการเปิดรับและการมีส่วนร่วมกับดนตรี ไม่เพียงช่วยเพิ่มความเพลิดเพลินในการฟังเพลงเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสารของคุณในสภาพแวดล้อมในชีวิตประจำวัน
โพสต์นี้เขียนด้วยความช่วยเหลือจาก Janani Jeyaraman ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพของ MED-EL
No responses yet