ประสาทหูเทียม

ผู้ใช้งานเครื่อง ประสาทหูเทียม MED-EL  ที่เข้าร่วมงานวิจัย 9 ใน 10 คน กล่าวว่า “พวกเขาฟังเพลงผ่านเครื่อง ประสาทหูเทียม แล้วรู้สึกว่าเสียงเพราะ” ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการออกแบบเครื่องประสาทหูเทียมของเรา ซึ่งเลียนแบบการได้ยินให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติ แต่การฝึกฝนก็ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน ยิ่งคุณฟังเพลงมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งรู้สึกเพลิดเพลินไปกับเสียงเพลงมากขึ้นเท่านั้น ไม่มีคำว่าเร็วเกินไป หรือ สายเกินไปที่จะเริ่มฝึกฟังเสียงดนตรีผ่านเครื่องประสาทหูเทียม

ดังนั้น นี่คือเคล็ดลับง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณเพลิดเพลินกับเสียงเพลงผ่านเครื่องประสาทหูเทียมของคุณ

1. เริ่มต้นด้วยเพลงง่ายๆ

เริ่มด้วยเพลงง่ายๆ เช่น เพลงที่มีท่อน Solo ที่มีการร้องซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง, ค้นหาเปียโน Solo หรือกีตาร์ Solo จากอุปกรณ์ของคุณ การเลือกฟังเพลงที่มีจังหวะหนักๆ เช่น เพลงร็อก หรือ เพลงฮิปฮอป อาจช่วยให้ฟังได้ง่ายกว่าในช่วงเริ่มต้น ผู้ใช้งานเครื่องประสาทหูเทียมรายงานว่า:

เพลงแรกๆ ของ Johnny Cash เช่น “I Walk the Line” เสียงเพลงฟังดูเป็นธรรมชาติมากและง่ายต่อการฟัง เพลงเหล่านี้มีลักษณะเฉพาะที่อาจจะเหมาะกับการฝึกฟังผ่านเครื่องประสาทหูเทียมในช่วงแรก เช่น เครื่องดนตรีจำนวนจำกัด (โดยส่วนมากมักมีเพียงกีตาร์และเครื่องเพอร์คัชชัน) จังหวะที่ชัดเจน โทนเสียงกลางของ Johnny Cash และสไตล์การร้องที่ใกล้เคียงกับเสียงพูด จากนั้นค่อยพัฒนาไปสู่การฟังเพลงที่มีเครื่องดนตรีมากขึ้น เพลงที่ซับซ้อนมากขึ้นตามที่คุณรู้สึกมีความสุขที่ได้ฟัง

2. เลือกเพลงโปรดของคุณ

ถ้าเป็นไปได้ ลองฟังเพลงที่คุ้นเคย อย่างเช่น เพลงที่คุณเคยฟังเมื่อยังเด็ก อาจช่วยให้เข้าใจได้ง่ายกว่า เนื่องจากความทรงจำของคุณจะช่วยเติมเต็มความรู้สึกในการฟังเพลง

3. ใช้อุปกรณ์เสริมในการฟัง

ใช้ชุดหูฟัง หรือ ใช้อุปกรณ์เสริมที่ส่งเสียงเข้าเครื่องโดยตรง เช่น AudioLink เพื่อให้คุณได้รับเสียงที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด

4. เพิ่มการมองเห็น

เลือกดูดนตรีสด หรือคลิปวิดีโอที่คุณสามารถดูภาพเพลงที่กำลังเล่น หรือนักร้อง หรืออ่านเนื้อเพลงในขณะที่คุณกำลังฟัง

5. เลือกฟังเพลงหลากหลายสไตล์

ลองเลือกฟังเพลงคลาสสิก, ป๊อป, คันทรี, ร็อก, โฟล์ค หรือแนวเพลงอื่นๆ เพื่อค้นหาสไตล์เพลง และเครื่องดนตรีที่คุณชอบฟัง

6. ฝึกฝน ฝึกฝน และฝึกฝน

ฝึกการระบุเพลง แยกเสียงร้อง และแยกเสียงเครื่องดนตรี เพื่อพัฒนาทักษะการฟังเพลง และการแยกแยะเสียงดนตรี

 

*Müller, J., Brill, S., Hagen, R., Moeltner, A., Brockmeier, S.J., Stark, T., Helbig, S., Maurer, J., Zahnert, T., Zierhofer, C., Nopp, P., & Anderson, I. (2012) Clinical trial results with the MED-EL fine structure processing coding strategy in experienced cochlear implant users. ORL J Otorhinolaryngol Relat Spec. 74(4),185–198.

 

ที่มา Listening to Music With a Cochlear Implant – The MED-EL Blog (medel.com)

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *