เพราะการได้ยินมีผลต่อพัฒนาการในด้านการพูด ด้านสังคม จิตใจ และการศึกษาต่อไปในอนาคต โดยวัยรุ่นถือเป็นวัยที่ต้องทำกิจกรรมมากมายทั้งเรียน ทำงาน หรือไปเที่ยวในสถานที่ต่างๆ รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การใส่หูฟังเป็นเวลานาน การคุยโทรศัพท์เสียงดังเกินไป ดังนั้นการรู้ทันเสียงเป็นการป้องกันจากการหูหนวก หรือ หูตึงได้เป็นอย่างดีและไม่ควรมองข้าม ซึ่งจะมีวิธีการป้องกันง่ายๆ ดังนี้
- ดูแลสุขภาพให้ดี ระวังไม่ให้เป็นหวัด เพราะอาจมีการติดเชื้อที่ทำให้หูหนวก หูตึงได้
- ระวังอย่านำสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในรูหู
- จำกัดช่วงเววลาในการรับชมโทรทัศน์ ฟังเพลง เล่นเกมส์ให้เหลือเพียงวันละ 1-2 ชั่วโมง ด้วยความดังไม่เกิน 80 เดซิเบล ถ้าใส่หูฟังในขณะเดินทางลองสังเกตตัวเองว่าฟังเพลงเสียงดังเกินไปหรือไม่ โดยนำหูฟังออกห่างจากหูระยะหนึ่ง หากยังคงได้ยินเสียงดังออกมาจากหูฟัง แสดงว่าเสียงดังเกินไป
- หากต้องปาร์ตี้หรือสังสรรค์ในสถานบันเทิงที่มีเสียงดัง ต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียง เพราะ การอยู่ในที่เสียงดังๆ อาจทำให้หูหนวก หูตึงได้ อาจจะต้องใส่เครื่องช่วยฟังในอนาคต
- ถ้าเกิดอาการผิดปกติกับหู และ การได้ยิน ให้ผู้ปกครองพาไปพบแพทย์หู คอ จมูก ทันที
- ไปตรวจการได้ยิน เพราะ นักแก้ไขการได้ยินมีเครื่องมือและวิธีการต่างๆที่สามารถตรวจการได้ยินได้อย่างเหมาะสมกับวัย
- ในกรณีที่มีปัญหาการได้ยิน สามารถบอกครู หรือ อาจารย์ให้ทราบและร่วมกันหาทางช่วยเหลือได้ เช่น ตำแหน่งที่นั่งในห้องเรียน อาจจะนั่งบริเวณแถวหน้าเพื่อให้ได้ยินเสียงบรรยายชัดเจนขึ้น
No responses yet