สมุนไพร เป็นผลิตผลจากธรรมชาติที่ได้มาจากพืช สัตว์ และแร่ธาตุที่มนุษย์นำมาใช้เป็นยา และอาจมีการนำไปผสมกับสารอื่น ๆ ตามตำรับยา เพื่อประโยชน์ในการบำบัดรักษาโรค บำรุงร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ ปัจจุบันพบว่ามีพืชสมุนไพรมากกว่า 1,800 ชนิดทั่วโลก ซึ่งคนไทยตั้งแต่สมัยโบราณมาต่างคุ้นเคยหรือรู้จักพืชสมุนไพรมานานไม่ต่ำกว่าพันปีแล้ว มีการใช้พืชสมุนไพรเป็นยารักษาโรค อาหารพื้นบ้าน เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง และอื่น ๆ แต่ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์แผนปัจจุบันได้เข้ามายึดครองพื้นที่การรักษาโรคต่าง ๆ แทนที่สมุนไพร คนไทยสมัยใหม่โดยเฉพาะเด็กไทยรุ่นใหม่จึงมองข้ามคุณค่าและสรรพคุณของสมุนไพรไทยไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งจริงๆแล้วสมุนไพรบางชนิดนั้นสามารถช่วยบรรเทาอาการหูตึงได้ อย่างเช่นสมุนไพร 5 ชนิดนี้

 

ใบแปะก๊วย (Ginkgo leaves)

ใบแปะก๊วยมีคุณสมบัติที่สามารถช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต จึงทำให้เลือดสามารถไหลเวียนไปทั่วร่างกายได้ดีขึ้น รวมถึงเลือดที่ไหลเวียนไปยังในส่วนหู ส่งผลให้สามารถบรรเทาอาการหูตึงได้ดีขึ้นได้ แปะก๊วยยังสามารถบำรุงสมองและรักษาโรคต่างๆ เช่นโรคอัลไซเมอร์ รวมถึงการนำมาประกอบอาหารในรูปแบบต่างๆได้อีกด้วย

 

 

สเปียร์มินต์ (Spearmint)

สเปียร์มินต์มีคุณสมบัติสามารถรักษาการสูญเสียการได้ยิน สามารถช่วยป้องการอักเสบของหู และยังสามารถเสริมสร้างความแข็งแรงของเซลล์ในหู นอกจากนั้นยังสามารถบรรเทาอาการปวดท้องจากแก๊สในระบบทางเดินอาหาร อาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะและคลื่นไส้ ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ช่วยป้องกันไม่ให้ปากเหม็น และช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้

 

กระเทียม (Garlic)

กระเทียมเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่งที่ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารที่มีส่วนช่วยในการยับยั้งการอักเสบที่เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรียได้ ซึ่งการอักเสบของหูส่วนใหญ่มักเกิดจากแบคทีเรีย กระเทียมจึงสามารถต้านเชื้อแบคทีเรียที่ส่งผลต่อการอักเสบของหูได้

 

ขมิ้น (Turmeric)

ขมิ้นมีคุณสมบัติสามารถต้านอนุมูลอิสระช่วยลดอาการอักเสบและลดคอเลสเตอรอล เมื่อมีอายุมากขึ้นโพแทสเซียมจะลดลง ซึ่งส่งผลต่อการสูญเสียการได้ยินทำให้หูตึงได้ ขมิ้นยังมีโพแทสเซียมสูงที่ส่งผลให้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับหู ทำให้โอกาสที่จะสูญเสียการได้ยินนั้นลดลงได้

 

ผักชีฝรั่ง (Dill)

ผักชีฝรั่งมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายลงได้ และยังป้องกันการติดเชี้อของหู ฟื้นฟูการได้ยิน นอกจากนี้ยังเป็นสมุนไพรใช้รักษาโรคอื่นๆได้อีกด้วย

 

ที่มา

thairath

freepik

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *