การได้ยิน

เด็กกับการสูญเสีย การได้ยิน

บุตรหลานของฉันมีการสูญเสีย การได้ยิน ควรทำอย่างไรดี?

โรงพยาบาลส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะทำการตรวจการได้ยินให้กับทารกแรกเกิดภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากคลอด หรือที่รู้จักกันว่า การตรวจคัดกรองการได้ยินสำหรับทารกแรกเกิด หากทารกที่ตรวจแล้วพบว่ามีความผิดปกติทางการได้ยินหรือมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน จะต้องทำนัดหมายเพื่อตรวจการได้ยินซ้ำอีกครั้งจากทางโรงพยาบาล อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีเด็กอาจจะมีอาการแสดงของการสูญเสียการได้ยินในภายหลัง โดยสาเหตุจากการสูญเสียการได้ยินของเด็กนั้นอาจจะเป็นถาวรหรือชั่วคราวก็ได้ซึ่งเป็นผลมาจาก:

  • พันธุกรรม
  • การคลอดที่ผิดปกติ
  • การคลอดก่อนกำหนด
  • การไม่ดูแลสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ (เช่น การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์)
  • ผลข้างเคียงจากยา
  • การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง
  • หูติดเชื้อเรื้อรัง

หากสงสัยว่าบุตรหลานของคุณมีอาการสูญเสียการได้ยิน ให้รีบพาบุตรหลานของคุณไปปรึกษาแพทย์โดยด่วน หรือติดต่อศูนย์การได้ยินของเราเพื่อตรวจประเมินเบื้องต้นและส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

ทำไมจึงควรตรวจการได้ยินให้เร็วที่สุด?

มนุษย์เราทุกคนมีพัฒนาการทางด้านภาษาตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งการได้ยินถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ภาษาและการพูด การที่เด็กไม่ได้ยินเสียงหรือได้ยินเสียงเบาและไม่ชัดเจนนั้นอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็กได้ ดังนั้นการตรวจพบการสูญเสียการได้ยินตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อบุตรหลานของคุณ เนื่องจากการตรวจพบอย่างรวดเร็วสามารถวางแผนการรักษาและแก้ไขการได้ยินของเด็กให้มีโอกาสที่จะเรียนรู้ภาษาเพื่อพัฒนาการพูด การสื่อสารและการใช้ชีวิตในสังคมได้ตั้งแต่อายุยังน้อย

นอกจากนี้เสียงสิ่งแวดล้อมและเสียงพูดยังช่วยเพิ่มพัฒนาการของสมองส่วนการได้ยินอีกด้วย ซึ่งสมองส่วนการได้ยินนี้จะพัฒนาได้ดีเมื่อได้รับการเรียนรู้เสียงตั้งแต่อายุยังน้อย  เป็นผลให้เด็กสามารถเรียนรู้การสื่อสารที่มีความซับซ้อนได้ เช่น การเรียนรู้คำศัพท์, วลี, การสร้างประโยคที่สมบูรณ์ เป็นต้น

เด็กที่มีการสูญเสียการได้ยินจะสามารถมีพัฒนาการทางภาษาอย่างดีที่สุดได้ เมื่อได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญก่อนอายุ 3 ขวบครึ่ง ซึ่งปัจจุบันนี้ในประเทศไทยได้มีการรณรงค์ให้โรงพยาบาลมีการตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กแรกเกิดมากขึ้น เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าเด็กที่มีปัญหาการได้ยินจะได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่อายุยังน้อย

เมื่อไหร่ที่บุตรหลานของฉันต้องใส่เครื่องช่วยฟัง?

ทารกที่มีอายุเพียง 4 สัปดาห์ก็เริ่มใส่เครื่องช่วยฟังและอุปกรณ์ช่วยเหลือทางการได้ยินอื่น ๆ ได้ทันทีเมื่อตรวจพบ

เครื่องช่วยฟังแบบไหนที่ดีที่สุดสำหรับบุตรหลานของฉัน?

เด็กๆ แต่ละคนมีการได้ยินที่มีไม่เหมือนกัน เพราะพวกเขาเพิ่งเริ่มที่จะเรียนรู้และเปิดประสบการณ์การได้ยินเสียง เครื่องช่วยฟังที่ดีสำหรับเด็กควรจะสามารถมอบอัตราขยายที่มีคุณภาพและครอบคลุมในทุกช่วงความถี่ของเสียง (ประเภทของเสียงต่าง ๆ ) เครื่องจะต้องสามารถทำงานได้ดีในทุก ๆ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้มั่นใจว่าเด็ก ๆ จะได้รับการส่งมอบเสียงพูดที่ชัดเจนได้ในทุกสภาพแวดล้อม และที่สำคัญเครื่องนั้นจะต้องให้สัมผัสการสวมใส่ที่สบาย คงทน ใช้งานง่าย สามารถป้องกันการงัดแงะจากความซุกซนของน้องๆ หนู ๆ ได้ และสามารถแสดงสถานะการใช้งานให้กับคนในครอบครัวสามารถสังเกตดูการได้ยินของบุตรหลานได้ โดยทั่วไปแล้วจะมีเครื่องช่วยฟังสำหรับเด็กโดยเฉพาะ เพื่อให้มั่นใจว่าเด็ก ๆ จะมีการได้ยินที่ดีที่สุด
ขนาดหูของเด็กนั้นจะเติบโตขึ้นไปพร้อม ๆ กับเด็กด้วย แม้ว่าเครื่องช่วยฟังจะมีขนาดที่เหมาะสมกับเด็กแล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงแนะนำให้ใช้เครื่องช่วยฟังแบบแขวนหลังใบหูควบคู่กับพิมพ์หู ซึ่งพิมพ์หูนี้สามารถทำได้ใหม่ตลอดเวลาที่เด็กโตขึ้น

เครื่องช่วยฟังแบบแขวนหลังใบหูสำหรับเด็ก

เหตุผลนานับประการที่เครื่องช่วยฟังแบบแขวนหลังใบหูมีความเหมาะสมกับเด็ก:

  • ความหลากหลายในการใช้งาน เครื่องช่วยฟังแบบแขวนหลังใบหูสามารถใช้งานได้กับพิมพ์หูหลากหลายรูปแบบ อีกทั้งยังสามารถติดตั้งพิมพ์หูอันใหม่ได้เมื่อเด็กโตขึ้น
  • ดูแลรักษาง่าย เครื่องช่วยฟังแบบแขวนหลังใบหูมีความคงทน การติดตั้งพิมพ์หูทำได้ง่ายและทำความสะอาดง่าย
  • การใช้งาน เครื่องช่วยฟังแบบแขวนหลังใบหูสำหรับเด็กมีฟังก์ชั่นการทำงานที่หลากหลาย เช่น ไฟแสดงสถานะ ปุ่มสำหรับผู้ปกครองตรวจสอบการทำงานและตั้งค่า
  • ความคุ้มค่า เครื่องช่วยฟังแบบแขวนหลังใบหูสามารถครอบคลุมได้ทุกช่วงการได้ยิน และยังไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่หากบุตรหลานของท่านมีการสูญเสียการได้ยินที่รุนแรงมากขึ้น
  • สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ได้ เครื่องช่วยฟังแบบแขวนหลังใบหูส่วนมากสามารถรับเสียงได้โดยตรงหรือผ่านระบบเทเลคอยล์ และยังสามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ได้อีกด้วย

การรับมือกับอารมณ์ต่าง ๆ ในฐานะของผู้ปกครอง

เรามีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่าการต้องดูแลบุตรหลานที่มีการสูญเสียการได้ยินนั้นยากลำบากเพียงใด เรายินดีอย่างยิ่งที่จะให้การต้อนรับคุณ หากคุณต้องการคำปรึกษาหรือข้อมูล เรามีการจัดกลุ่มการเสวนากันอย่างต่อเนื่อง กรุณาติดต่อเราหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *