ประสาทหูเทียม

ผลที่ตามมาของการวินิจฉัยที่ผิดพลาด:
เส้นทางการได้ยินของคุณ Grzegorz กับ ประสาทหูเทียม ของเขา

ตั้งแต่เด็ก Grzegorz Płonka ถูกวินิจฉัยว่าเป็นเด็กออทิสติก ซึ่งเขาได้เข้าศึกษาในโรงเรียนสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางจิตและไม่สามารถพูดได้ จนเมื่ออายุ 14 ปี ชีวิตเขาก็ได้เปลี่ยนไป เนื่องจากเขาได้รับการวินิจฉัยอยากละเอียดแล้วว่า เขาไม่ได้เป็นออทิสติก เค้าเพียงแค่มีสูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง และเขาก็ได้รับการฝังประสาทหูเทียมใน 5 ปีต่อมา

เส้นทางการได้ยินของเขา ถูกถ่ายทอดสู่ภาพยนตร์โปแลนด์เรื่อง SONATA ที่แสดงให้เห็นถึงเรื่องราวที่ผ่านมา และการฝังประสาทหูเทียมทำให้เขากลายเป็นนักเปียโนที่มีความสามารถได้อย่างไร ในบทความนี้ Grzegorz ได้เล่าถึงชีวิตในวัยเด็กที่สูญเสียการได้ยิน ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่อง SONATA และสิ่งที่เขาทำอยู่ ณ ปัจจุบัน

สวัสดีครับ ผมชื่อ Grzegorz Plonka อายุ 33 ปี มาจากโปแลนด์ สิ่งที่ผมชอบมากที่สุดในชีวิตก็คือ “ดนตรี” โดยเฉพาะการเล่นเปียโนและออร์แกน ผมเล่นดนตรีคลาสสิกและแต่งเพลงเป็นของตัวเอง ชอบถ่ายรูป และบันทึกวิดีโอเกี่ยวกับบทเพลงของผม

 

ผมถูกวินิจฉัยผิดพลาดว่าเป็นออทิสติกได้อย่างไร

คือผมสูญเสียการได้ยินตั้งแต่กำเนิด พ่อแม่ของผมเขาไม่ทราบเกี่ยวการได้ยินของผม และผมก็ถูกวินิจฉัยผิดไปว่าเป็นออทิสติก และมีความพิการทางจิต เนื่องจากผมไม่ได้ยินเสียงพยัญชนะ จึงทำให้ผมไม่พูดอะไรเลย แต่ว่าผมกลับได้ยินเสียงสระ ดังนั้นผมจึงเริ่มเล่นเปียโน และได้ลองทดลองฟังเสียง

 

การค้นหาความจริง

เป็นเวลากว่า 7 ปี ที่ผมอยู่ในสภาพแวดล้อมสำหรับผู้พิการทางจิต ที่ที่ผมอยู่มีสถาบันสรีรวิทยาและพยาธิวิทยาของการได้ยินเพียงแห่งเดียว แต่ก็ไกลมากที่จะเดินทางไปยัง “Kajetany” ได้ แต่นั้นก็ไม่ใช่อุปสรรรคของคุณความพยายาม ความตั้งใจของของพ่อแม่ และเพื่อน ๆ ของผม ที่พาไปยังที่นั้น และทำให้ชีวิตใหม่ของผมได้เริ่มต้นขึ้น

 

การวินิจฉัยที่เปลี่ยนชีวิตผม

จากการวินิจฉัยอย่างละเอียดเผยให้เห็นว่า ผมสูญเสียการได้ยิน สิ่งแรกที่ผมได้รับคือเครื่องช่วยฟัง และเมื่ออายุ 19 ปี ผมก็ได้รับการฝังประสาทหูเทียมในที่สุด ตอนนั้นเองที่ผมเริ่มพูด แต่มันก็สายเกินไปสำหรับผมที่จะออกเสียงไวยากรณ์ได้ชัด และยากที่ผมจะใช้ภาษาได้ย่างถูกต้อง

 

ดนตรีนำทางผมไปสู่ประสาทหูเทียมได้อย่างไร

การรักในเสียงดนตรีทำให้ผมตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม คือเมื่อก่อนผมอยากไปจะเรียนโรงเรียนดนตรีจริง ๆ แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับเพราะผมไม่ได้ยินเสียงสูง จึงทำให้ผมเลือกตัดสินใจเข้ารับประสาทหูเทียม เพราะผมรู้ว่าการฝังประสาทหูเทียมจะช่วยให้ได้ยินอ็อกเทฟที่หายไป ตอนนี้การได้ยินข้างหนึ่งผมใช้งาน SONNET 2 และอีกข้างผมใช้เครื่องช่วยฟัง ซึ่งเครื่องทั้งสอง สามารถใช้งานร่วมกันได้เป็นดี

 

ไม่มีคำว่าข้อจำกัด สำหรับ ประสาทหูเทียม ของผม

อย่างที่ทราบว่าบ้านผมอยู่ห่างไกลจากสถานบัน ผมจึงตัดสินใจฝึกด้วยตัวเองด้วยการเล่นเปียโน หลังจากฝึกฝนในทุก ๆ วันเพียง 5 เดือน ผมก็ประสบผมสำเร็จในการใช้งานประสาทหูเทียมนี้ ซึ่งผมสามารถเล่นเปียโนได้โดยไม่มีข้อจำกัด

ประสาทหูเทียมทำให้ผมก้าวกระโดดเป็นอย่างมาก ทั้งการพูด การเรียนรู้คำศัพท์ รวมถึงการศึกษาของผม ผมรู้สึกขอบคุณมากๆ ที่ผมสามารถได้ยินเสียงเปียโนและออร์แกนไพพ์อีกครั้ง และยังสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนดนตรี และเรียนรู้ Moonlight Sonata ของ Beethoven ที่ผมชอบได้ ฟังรายการทีวี และสื่อต่าง ๆ สารคดี และตอนนี้ก็มีเป็นภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับเส้นทางการได้ยินของผมอีกด้วย

SONATA: ภาพยนตร์เกี่ยวกับเส้นทางการได้ยินของผม

ภาพยนตร์เรื่อง SONATA แสดงให้เห็นถึงการต่อสู้เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น สู้กับระบบ กับข้อจำกัด และความฝันอันยิ่งใหญ่ของผม

ผมดีใจที่ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างขึ้นเพราะมันให้ความหวังแก่ผู้คนจำนวนมากที่เผชิญกับความทุกข์ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ถูกกีดกัน เนื่องจากปัญหาด้านการสื่อสาร ผลกระทบของการใช้ชีวิตไม่มีการพูดจา และความสัมพันธ์ทางสังคม

เรื่อง SONATA คือกระบอกเสียงในความอดทน และสู้ไปกับมัน และเรื่องนี้ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ที่สูญเสียการได้ยิน ผมได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานทุกครั้งทีมีการฉาย และพูดคุยกับคนอื่นๆ เป็นเวลานานเกือบทุกครั้ง

 

ภารกิจในชีวิตของผม

ผมในฐานะตัวเอกของภาพยนตร์เรื่อง SONATA ผมเห็นว่า สิ่งที่ผมทำจะส่งต่อไปถึงพ่อแม่ของเด็กเล็ก เพื่อที่จะเข้าใจและทราบได้อย่างรวดเร็วถึงปัญหาการได้ยินของบุตรหลาน  เพื่อให้พวกเขาสามารถได้รับการรักษา ได้เรียนรู้ และตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว ให้เด็ก ๆ ได้ทำตามความฝัน ทำตามสิ่งที่ชอบของตนเอง ได้มีโอกาสมีชีวิตที่มีความสุขได้

คำแนะนำที่ผมอยากจะบอกกับผู้อื่นที่สูญเสียการได้ยินคือ “พยายามหาวิธีปรับปรุงการสื่อสารของตนเองกับผู้คนอยู่เสมอ มันจะทำให้ชีวิตของคุณสะดวกสบาย และสนุกสนานมากขึ้น” 

ขอบคุณ Grzegorz!

 

ที่มา MEDEL’s blog

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *