พัฒนาการทางภาษาของ เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน EP 2
“ภาษา” ถือเป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารเราทุกคนต่างคุ้นเคยกับการสื่อสารตั้งแต่เด็ก ไม่ว่าจะเป็นอวัจนภาษา(ท่าทาง) หรือ วัจนภาษา (ภาษาพูด) แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินจะมีความแตกต่างจากเด็กปกติ
ต่อจากบทความเดิมตอนที่แล้ว พัฒนาการทางภาษาของ เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน (1)
หลังจากทราบพัฒนาการทางภาษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและเด็กปกติในช่วงอายุ 2 ปีแรกจนถึง 4 ปี ไปแล้ว วันนี้จะขออธิบายต่อถึงช่วงอายุ 4-8 ปี โดยช่วงวัย 4-8 ปีถือเป็นช่วงที่สามารถเห็นได้ถึงความแตกต่างพัฒนาการทางภาษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและเด็กปกติได้ค่อนข้างชัดเจน รายละเอียดมีดังนี้
ในช่วงอายุ 4-6 ปี
- เด็กปกติ
- อายุประมาณ 5 ปี เด็มักมีพัฒนาการทางภาษาได้เกือบสมบูรณ์ ยกเว้นการใช้ประโยคซับซ้อน โดยปัญหาทางไวยากรณ์บ้าง เกี่ยวกับข้อยกเว้นต่างๆในการใช้หลักไวยากรณ์
- ด้านการเปล่งเสียง สามารถออกเสียงได้ชัดเจนหมดเกือบทุกเสียง
- รู้จักคำราว 3,000-6,000 คำ และสามารถนำคำมาใช้ในประโยคแบบต่างๆได้อย่างถูกต้องและจะมีคำศัพท์ในแง่ของการรับรู้ทางภาษาประมาณ 15,000 คำ
- เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
- ยังไม่สามารถพูดเป็นประโยคที่ถูกต้องได้
- กลุ่มเด็กหูหนวกมาตั้งแต่กำเนิดหรือก่อนวัยนี้ จะมีการเปล่งเสียงเพี้ยนไป ถ้าหากได้รับการฝึกหัดให้พูด แต่ถ้าไม่ได้ฝึกก็จะพูดไม่เป็นคำเลย
- อายุราว 6 ปี จะรู้ศัพท์ด้านการแสดงออกทางภาษาราว 2,000 คำ เป็นอย่างมากและการรับรู้ทางภาษาราวๆ 6,000 คำ เป้นอย่างสูง สำหรับเด็กที่สูญเสียการได้ยินหลัง 3 ขวบไปแล้ว จะมีคำศัพท์ด้านการรับรู้ทางภาษาราวๆ 10,000 คำ ฉะนั้นเด็กกลุ่มนี้สามารถสอนให้พูดได้ง่ายกว่ากลุ่มหูหนวกมาแต่กำเนิด
อายุ 6-8 ปี
- เด็กปกติ
- ประมาณ 7 ปี จะสามารถเข้าใจและมีความคิดในสิ่งที่เป็นนามธรม รู้จักสนุกกับการเล่นคำ และมีการเล่นตลกกับคำพูด
- ร้อยละของการใช้คำเมื่ออายุประมาณ 8 ปี ปรากฎดังนี้
-
- 28% ของคำที่ใช้มักเป็น คำนาม
- 23% ของคำที่ใช้มักเป็น คำกริยา
- 14% ของคำที่ใช้มักเป็น คำนำหน้านาม และ คำคุณศัพท์
- 11% ของคำที่ใช้มักเป็น คำสรรพนาม
- 7% ของคำที่ใช้มักเป็น คำบุพบท
- 4% ของคำที่ใช้มักเป็น คำคุณศัพท์
- 1% ของคำที่ใช้มักเป็น คำวิเศษณ์ และ คำเชื่อมประโยค
- เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
- เรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่เป็นนามธรรมเป็นเรื่องยากมาก แทบไม่เข้าใจเลย ส่วนการสนุกกับมุขตลกทางคำพูดนั้นแทบไม่มีเลย รู้จักความหมายของคำที่ได้รับการบอกการสอน
- เปอร์เซนต์ของการใช้คำของเด็กวัยนี้ ปรากฎดังนี้
-
- 48% ของคำที่ใช้มักเป็น คำนาม
- 12% ของคำที่ใช้มักเป็น คำกริยา
- 2% ของคำที่ใช้มักเป็น คำนำหน้านาม
- และ 1% ของคำที่ใช้มักเป็น คำสรรพนาม
จะสังเกตได้ว่าเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินจะรู้คำศัพท์ด้านการแสดงออกทางภาษาได้มากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับการได้รับการฝึกฝนจากผู้ปกครอง ถ้าเขาได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอจะทำให้เขาเรียนรู้ที่จะใช้คำได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ ดังนั้นการพัฒนาจึงต้องอาศัยทั้งการเข้าใจในพัฒนาการและการฝึกฝน เพียงแค่นี้การจูงมือเด็กมีความบกพร่องทางการได้ยินให้ก้าวไปยังโอกาสของการศึกษาก็ไม่ใช่เรื่องยาก
หากท่านใดสนใจอยากปรึกษาเกี่ยวกับ เครื่องช่วยฟัง ประสาทหูเทียม สามารถติดต่อมาได้ที่ hearLIFE เรามีผลิตภัณฑ์ที่พร้อมรองรับทุกปัญหาการได้ยิน และทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ไขปัญหาการได้ยินที่พร้อมให้คำปรึกษา และบริการ
สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับโรคหูเพิ่มเติมได้ที่ บทความ
Line Official : @hearlifeth
Facebook: https://www.m.me/hearlifethai
หรือโทร 02-693-9411
No responses yet