รัสเซลล์ นักเป่าโอโบมืออาชีพ และเป็นผู้ใช้งาน ประสาทหูเทียม จากสหราชอาณาจักร เขาสูญเสียการได้ยินจากโรคที่พบไม่บ่อยในหูชั้นใน ซึ่งในบทความนี้ รัสเซลล์จะมาพูดถึงช่วงเวลาที่ตัดสินใจรับประสาทหูเทียม, เครื่องประมวลเสียง RONDO 3 สามารถช่วยอำนวยความสะดวกชีวิตประจำวันเขาอย่างไร รวมถึงเขาจัดการกับการเล่นดนตรีอย่างไร แม้ว่าเขาจะสูญเสียการได้ยินก็ตาม

(เครื่องดนตรีโอโบ จัดอยู่ในจำพวกที่มีลิ้นคู่ มีเสียงที่ไพเราะ สะกดใจคนได้มาก โดยเกิดขึ้นในฝรั่งเศสประมาณ ศตวรรษที่ 17 ปัจจุบันเป็นเครื่องเป่าชั้นนำในวงออร์เคสตร้า มีลักษณะคล้ายคลาริเนต ยกเว้นตรงปากเป่าจะเป็นท่อยาว ตัวความยาวประมาณ 2 ฟุต และประโยชน์ของเครื่องโอโบ คือ ใช้เป็นเครื่องเทียบหรือแต่งเสียงในวงออร์เคสตร้า) ข้อมูลจาก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค (NECTEC)

ผมชื่อรัสเซลล์ เป็นนักเป่าโอโบชาวอังกฤษ ที่อาศัยอยู่ในโปรตุเกส ตั้งแต่เดือน มีนาคม พ.ศ. 2544 ผมเป็นหัวหน้าเป่าโอโบกับวง Orquestra do Norte ในประเทศโปรตุเกส ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบของผมที่จะต้องส่งโน้ตเพลงให้กับวงออร์เคสตราทั้งหมด นอกเหนือจากดนตรี งานอดิเรกหลักของผมก็คือการพายเรือคายัคกับการไปยิม

 

สาเหตุของการสูญเสียการได้ยิน

การได้ยินของผมเริ่มต้นจากมีอาการวิงเวียนศีรษะ ฟังเสียงได้ไม่ชัด และ อาการ Autophony—ผมได้ยินเสียงการทำงานของร่างกายของตัวเองมากขึ้น อย่างเสียงหัวใจเต้น กล้ามเนื้อหดตัว และแม้แต่ดวงตาที่ขยับจากด้านหนึ่งไปอีกด้าน ด้วยอาการเหล่านี้ ผมจึงหยุดฝึกพายเรือคายัคและไปยิม และไปพบแพทย์จึงได้รับการวินิจฉัยว่า ท่อครึ่งวงกลมในหูชั้นในมีความผิดปกติ (semicircular canal dehiscence syndrome หรือ SCDS) และผมก็ได้ทำการผ่าตัด แต่หลังจากที่ผมกลับบ้านก็พบว่า ผมไม่ได้ยินเสียงที่หูซ้ายอีกเลย นั่นหมายความว่าผมจะต้องอยู่กับอาการหูหนวกแบบนี้ตลอดไป

 

อุปสรรคที่ต้องเอาชนะ

ด้วยความช่วยเหลือจากแพทย์ ผมจึงตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม การสูญเสียการได้ยินคืออุปสรรคที่ผมต้องเอาชนะให้ได้ เพื่อที่ผมจะสามารถเล่นดนตรีและทำงานในวงออร์เคสตราได้อีกครั้ง จนผ่านมาถึงวันที่ผมพักฟื้นหายดีและได้จะเปิดเครื่องในครั้งแรก ความรู้สึกของผมทั้งตื่นเต้นและดีใจ เสียงที่ได้ยินแม้มันจะคล้ายกับเสียงสถานีวิทยุที่ปรับจูนไม่เสร็จ แต่ผมก็รู้ว่านี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น และจะต้องฝึกฝนตัวเองอย่างหนัก เพื่อให้ไปถึงจุดหมายนั้น

 

การฝึกพูดหลังจากเปิดใช้งานเครื่อง

หลังจากเปิดใช้งาน ผมได้รับการฝึกเพื่อฟื้นฟูด้วยเสียงการพูดทุกสัปดาห์ ซึ่งเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน มีคนบอกผมว่า อาจเป็นเพราะผมเป็นนักดนตรีก็ได้ เพราะภายใน 1 เดือนครึ่งการได้ยินของผมก็ดีขึ้นมาก เหมือนอย่างกับคนที่ไม่ได้เล่นดนตรีที่ใช้เวลาฝึกมากถึง 6 เดือนเลย 

นักแก้ไขการพูดของผมเธอบอกว่า: “ผมเก่งมาก แต่ก็ต้องใช้ความพยายามอย่างมากเช่นกัน ผมคิดว่าเธอรู้ว่าผมสามารถทำอะไรได้บ้างและเธอก็คอยผลักดันให้ผมทำสิ่งนั้นให้ดีขึ้นเรื่อยๆ อยู่เสมอ ผมจึงอยากขอบคุณเธอที่ช่วยผมมาโดยตลอด

 

วิธีใหม่ในการฝึกฟังกับ ประสาทหูเทียม

ผมใช้ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกในฟื้นฟูการได้ยิน ตอนเล่นเครื่องดนตรี แม้ผมจะได้ยินเสียง แต่ผมก็ยังมีบางโน๊ตที่เสียงต่างไปจากเดิมนิดหน่อย ผมจึงได้นึกถึงเสียงจริงๆ ของโน๊ตนั้นว่า ควรเป็นเสียงแบบไหน นั้นจึงทำให้ผมได้เรียนรู้วิธีการได้ยินแบบใหม่ เพื่อที่จะสามารถกลับมาเล่นดนตรีได้อีกครั้ง 

นอกจากนี้ ผมยังได้ฝึกฟังเสียงดนตรีผ่านเว็บ Meludia ที่ออกแบบมารองรับผู้ใช้ประสาทหูเทียมทุกระดับ โดยสามารถใช้งานได้ฟรีจาก myMED-EL การฝึกครั้งนี้ค่อนข้างท้าทายกับผมมาก เพราะมีผลต่องานว่าปีถัดไปผมจะมีงานต่อไหม

RONDO 3 : การออกแบบและการจัดการที่เรียบง่าย

ผมเคยใช้เครื่องประมวลเสียง RONDO 2 มาก่อน และปัจจุบันผมก็ได้เปลี่ยนมาใช้เป็นเครื่อง RONDO 3 ก็เป็นเครื่องที่ผมชอบ นั่นก็เพราะ..

  • RONDO 3 ให้เสียงที่มีรายละเอียดมากกว่า
  • ชาร์จง่าย เวลาใช้งานก็สะดวกไม่มีอะไรห้อยอยู่ในหู
  • สนุกกับการใช้ WaterWear ในการแข่งขันพายเรือคายัค
  • แข่งขันพายเรือคายัคมาราธอน RONDO 3 ช่วยให้ผมได้ยินเสียงกำหนดทิศทางได้ และเมื่อต้องหลีกทางให้ผู้แข่งขันรายอื่น

ความสำคัญของประสาทหูเทียม

ผมอยากจะขอบคุณมากสำหรับประสาทหูเทียม มันทำให้ผมเป็นคนใจกว้างมากขึ้น และเต็มใจช่วยเหลือคนที่ด้อยโอกาสมากกว่าผม ผมมองว่าการสูญเสียการได้ยินในหูข้างหนึ่งของผมนี้เป็นอุปสรรคหรือความท้าทาย แต่ไม่ใช่ปัญหา เพราะหากจะมองว่าเป็นเชิงลบก็ไม่มีประโยชน์กับใครเลย และตอนนี้ผมสามารถเล่นดนตรีในวงออร์เคสตราต่อไปได้แล้ว ซึ่งสิ่งนี้มันก็มีความหมายมาก ๆ สำหรับผม

 

ขอบคุณ คุณรัสเซลล์

ข้อมูลจาก MED-EL

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *