นูเรีย จากประเทศสเปน ผู้ใช้งานเครื่องนำเสียงผ่านกระดูก ADHEAR (แบบไม่ผ่าตัด) มาแล้ว 3 ปี ปัจจุบันเธออายุ 24 ปี ซึ่งตอนที่เธอมาให้สัมภาษณ์ คือช่วงเวลาที่เธอพึ่งเริ่มใช้งานได้ไม่กี่เดือน และกำลังศึกษาในสาขาการวิเคราะห์ทางชีวการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยบาร์เซโลนา ซึ่งเธอมาจากเมืองเล็กๆ ที่อยู่ไม่ไกลจากบาร์เซโลนา ในเวลาว่างเธอมักจะออกไปเที่ยวกับเพื่อน ๆ อ่านหนังสือ และเล่นกีตาร์ เธอชอบที่จะออกไปเจอสิ่งแปลกใหม่ และทำความรู้จักกับวัฒนธรรมที่แตกต่างกับของแต่ละพื้นที่

 

สูญเสียการได้ยินเนื่องจากโรคคุชชิง (Cushing’s syndrome)

ฉันมีน้องสาวฝาแฝดคนหนึ่งชื่อนอยส์ เราทั้งคู่เกิดมาพร้อมภาวะการสูญเสียการได้ยินที่หูทั้ง 2 ข้าง สาเหตุเกิดจากทางพันธุกรรมที่เรียกว่า “โรคคุชชิง” ซึ่งทำให้กระดูกของหูชั้นกลางเติบโตไปพร้อมกันแทนที่ควรแยกจากกัน นั่นจึงส่งผลให้ยากต่อกับรับฟังเสียง นอกจากนี้ยังอาจส่งผลต่อข้อต่อนิ้วของคุณได้ โดยทำให้ข้อต่อเติบโตด้วยกัน และคล้ายกับ “โรคหินปูนเกาะกระดูกหู (Otosclerosis)” มาก

ตอนยังเด็กฉันกับนอยส์ เราไม่ค่อยได้คุยกันมากนัก ในตอนแรกก็ไม่น่ากังวลเท่าไหร่ แต่หลังจากสังเกตดี ๆ ตอนที่เรายังเรียนอยู่โรงเรียนอนุบาล พ่อแม่ของพวกเราได้รับคำแนะนำให้พาพวกเราทั้ง 2 คนไปเข้ารับการตรวจการได้ยิน ซึ่งไม่นานทีมงานที่โรงพยาบาลได้วินิจฉัยว่าพวกเราสูญเสียการได้ยินจากอาการนำเสียงบกพร่อง (conductive hearing loss)

ตอนอายุ 3 ขวบ เราทั้งคู่ได้รับการผ่าตัดหูข้างหนึ่ง โดยรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนกระดูกโกลน (Stapedectomy) ส่วนหูอีกข้างหนึ่งไม่ได้รับการผ่าตัด เนื่องจากแพทย์ไม่แน่ใจว่าวิธีนี้จะเหมาะสมกับกรณีของพวกเราหรือไม่ แต่ไม่นานก็ได้ผลลัพธ์ว่า วิธีนี้คือทางเลือกที่ถูกต้อง

 

การใช้ชีวิตในช่วงวัยเด็ก

การผ่าตัดเปลี่ยนกระดูกโกลนทำให้ฉันและน้องสาวเรียนรู้ที่จะพูดได้เร็วและเติบโตไปอย่างที่คาดไว้ เราทั้งคู่เข้าเรียนโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟังเลย ซึ่งการเรียนของเราก็ได้เกรดดีและสำเร็จการศึกษาในมัธยมปลาย และปัจจุบันเราเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยกันทั้งคู่แล้ว

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา เป็นสิ่งที่ฉันสนใจมาโดยตลอด ดังนั้นฉันจึงตัดสินใจเรียนวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ ในตอนนี้ฉันอยู่ปี 3 ที่มหาวิทยาลัยบาร์เซโลนา และพบว่าเป็นเรื่องน่าสนใจมากที่ฉันจะได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์และพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์

 

ชีวิตในมหาวิทยาลัยกับการสูญเสียการได้ยิน

ที่มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ฉันรู้สึกไม่มั่นใจเล็กน้อยเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยิน ตอนนั่งอยู่ในห้องขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยผู้คนจำนวนมาก ฉันมักจะกังวลว่าฉันจะได้ยินเสียงผู้บรรยายครบไหมและจดบันทึกครบหรือเปล่า บ่อยครั้งฉันมักจะต้องถามเพื่อนนักเรียนว่าฉันเข้าใจอาจารย์ถูกต้องไหม

ฉันเรียนได้ประมาณ 2 ปี จึงคิดว่าฉันต้องทำอะไรสักอย่างเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยินและความไม่มั่นใจของฉัน แพทย์ที่ปรึกษาจึงได้แนะนำเครื่อง ADHEAR โดยใช้ฉันลองใช้งานเพื่อแก้ปัญหาการได้ยินแทนการผ่าตัดอีกครั้ง

 

เพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเองด้วย ADHEAR

ก่อนที่จะเริ่มใช้เครื่อง ADHEAR ฉันไม่รู้เลยว่าจะรับมือกับปัญหาการได้ยินของฉันยังไง ช่วงแรกความรู้สึกอาจจะแปลก ๆ อยู่นิดหน่อยแต่ไม่นานเสียงก็เริ่มชัดขึ้น จนทำให้ฉันรับฟังเสียงได้ดีขึ้นทั้งในชีวิตประจำวันและตอนอยู่ที่มหาวิทยาลัย ตอนเรียนฉันไม่ต้องถามเนื้อหาการเรียนจากเพื่อนซ้ำ ๆ หรือจะนั่งเรียนแถวหลังสุดก็ยังได้เสียงชัดเจน ด้วย ADHEAR ที่ทำให้ฉันใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย และมีความมั่นใจในตัวเองขึ้นมาก !

สิ่งที่ฉันชอบเกี่ยวกับ ADHEAR ก็คือตัวเครื่องมีขนาดเล็กแค่ผมฉันปิดนิดหน่อยก็ไม่ค่อยเห็นแล้ว และตั้งแต่ใช้มาที่มหาลัยก็มีคนถามเพียงคนเดียวเอง

 

คำแนะนำสำหรับนักเรียน/นักศึกษาที่สูญเสียการได้ยิน

ฉันอยากจะแนะนำสำหรับนักเรียนผู้ที่สูญเสียการได้ยินว่า: “อย่ากลัวที่จะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ แต่เราต้องมั่นใจว่าเราสามารถฟัง และเข้าใจทุกคำในตอนเรียนได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นคุณจึงจะต้องดูแลตัวเองดี ๆ และหาวิธีในการรับมือกับการได้ยินของคุณ ซึ่งสำหรับฉันรู้สึกว่า ADHEAR คือตอบโจทย์กับฉันแล้วจริง ๆ 

 

ขอบคุณ คุณนูเรีย

 

__________________________

ข้อมูลเพิ่มเติม

โรคคุชชิง (Cushing’s syndrome) เกิดจากการมีฮอร์โมนสเตอรอยด์ในเลือดสูงกว่าปกติ โดยส่วนมากเป็นผลมาจาก

  • การใช้ยาสเตียรอยด์นาน ๆ เช่น การใช้ยานี้รักษาผู้ป่วยเอสเอลอี, ปวดข้อรูมาตอยด์, โรคไตเนโฟรติก เป็นต้น
  • เกิดจากการกินยาชุด ที่เข้ายาสเตียรอยด์ติดต่อกันนาน ๆ
  • ส่วนน้อยอาจเกิดจากโรคต่อมหมวกไต การสร้างฮอร์โมนสเตียรอยด์มากผิดปกติ

โรคคุชชิงนี้ไม่ได้เกิดจากการใช้ยาสเตอรอยด์ เป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก และพบมากในผู้หญิงวัยสาวถึงวัยกลางคน โอกาสการตรวจพบโรคนี้ในเพศหญิงมีมากกว่าเพศชายถึง 5 เท่า (ข้อมูลจาก Bangkokhatyai)

โรคหินปูนเกาะกระดูกหู (Otosclerosis) เกิดจากหินปูนที่เจริญผิดปกติในหูชั้นกลาง เกาะระหว่างฐานของกระดูกโกลน (Stapes) กับช่องรูปไข่ (Oval window) ซึ่งเป็นช่องทางติดต่อระหว่างหูชั้นกลางและหูชั้นใน ทําให้เสียงไม่สามารถผ่านจากหูชั้นกลาง เข้าไปในหูชั้นในได้ตามปกติทําให้หูอื้อหรือหูตึง นอกจากนั้นอาจเกิดหินปูนเจริญผิดที่ให้หูชั้นใน หรือหินปูนที่ผิดปกติในหูชั้นกลางปล่อยเอนไซม์ บางชนิดเข้าไปในหูชั้นใน ทําให้มีเสียงดังในหู หรือ เวียนศีรษะบ้านหมุนได้ (ข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล)

การสูญเสียการได้ยินเฉพาะการนำเสียงผ่านอากาศ (Conductive hearing loss) เป็นการสูญเสียความสามารถในการนำเสียงของหูชั้นนอกหรือหูชั้นกลาง แต่หูชั้นในและระบบประสาทการได้ยินอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยจะพบว่าระดับการได้ยินของการนำเสียงผ่านกระดูกอยู่ในเกณฑ์ปกติ ระดับการได้ยินของการนำเสียงผ่านอากาศสูงกว่า 25 เดซิเบล

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
MED-EL

Tags

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *